ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอบ้านผือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 33:
'''พื้นที่''' ของอำเภอบ้านผือมีเทือกเขาภูพานเป็นเทือกเขาหินทราย เกิดในยุคที่โลกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง (MESOZOIC - CRETACEOUS) เมื่อธารน้ำแข็งละลายและเคลื่อนตัวลงตามแรงดึงดูดของโลก เมื่อประมาณ 180 ล้านปีมาแล้ว เกิดการกัดกร่อนเทือกเขาภูพาน ส่วนนี้จึงเกิดเป็นเพิงหินรูปร่างแปลกๆ งดงาม เช่น ภูพระบาท หรือภูกูเวียนแต่เดิม ภูพระบาทเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยหินลาด ห้วยด่านใหญ่ ห้วยหินร่อง และห้วยนางอุสา ซึ่งไหลลงไปแม่น้ำโขงที่อำเภอท่าบ่อ ภูพระบาทมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 320 - 350 เมตร
 
'''ความอุดมสมบูรณ์''' ของต้นน้ำลำธาร ป่าไม้ และบริเวณที่ราบรอบๆ ภูเขา จึงเกิดมีชุมชนเข้าไปอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอยู่มากมายตามเพิงหินบนภูพาน ส่วนใหญ่ในอำเภอบ้านผือ ไม่ว่าจะเป็นภูพระบาท บ้านกลางใหญ่ พระพุทธบาทบัวบาน ภูสูง จนถึงอำเภอสุวรรณคูหา ต่อมาเมื่อมีศาสนาเข้ามานับแต่สมัยทวารวดี ไม่ว่ากระแสธารแห่งอารยธรรมจะมาจากสายแม่น้ำโขง หรือจากภายในก็ตาม อิทธิพลของวัฒนธรรมฮินดูเข้ามาสู่บริเวณนี้ บริเวณเพิงผาหลายแห่งถูกใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของชุมชน การปักเสมาเป็นการกำหนดเขตการกระทำสังฆกรรม [[ตำนานพระเจ้าเลียบโลก]]ที่ปรากฏในความเชื่อของคนอีสานบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรล้านช้าง การจำหลักรูปพระพุทธรูปหินทรายที่เพิงผา ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนบริเวณนี้ และการติดต่อเกี่ยวพันกับชุมชนอื่นในภูมิภาคเดียวกัน นอกจากจะเป็นอารยธรรมฮินดูและพุทธแล้ว อารยธรรมขอมก็ได้เข้ามามีอิทธิพลในแถบบ้านผือบนภูพระบาทเป็นอย่างมาก การสร้างประติมากรรมหินทรายนูนสูงที่ผนังถ้ำพระบนภูพระบาท การจำหลักหินทรายขนาดใหญ่เป็นรูปเทพเจ้า หรือเรื่องชาดก ภาพบุคคลที่พบที่พระพุทธบาทบัวบาน บ้านหนองกาลึม บ้านกาลึม ก็ตาม ล้วนแสดงถึงศิลปะสมัยลพบุรีเข้ามามีอิทธิพลในแถบนี้
 
'''เขตอำเภอบ้านผือ บริเวณเทือกเขาภูพานมีการปักใบเสมา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ'''