ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บึงละหาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:บัวบึงละหาน.jpg|thumb|บึงละหาน]] [[ไฟล์:เรือบึงละหาน.jpg|thumb|เรือประมง ณ บึงละหาน]]'''บึงละหาน''' เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติมีเนื้อที่กว้างใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของ[[ประเทศไทย]] มีเนื้อที่ 18,181 [[ไร่]] หรือ (29.08 [[ตารางกิโลเมตร]]) เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และยังมีระบบนิเวศที่ดี บึงละหานได้รับเลือกให้เข้าอยู่ในทะเบียนรายนาม[[พื้นที่ชุ่มน้ำ]]ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติของไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับนานาชาติ(Ramsar Site)ต่อสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีของ[[อนุสัญญาแรมซาร์]](Ramsar Convention) อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการเป็นถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ (The Convention on Wetlands of International Importance, especially as Waterfowl Habitat.) และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 มีมติคณะรัฐมนตรี การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 บึงละหานจึงยังไม่ได้อยู่ในทะเบียนรายชื่อของสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ แต่เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งเพาะพันธ์และอนุบาลสัตว์น้ำจึงมีการกำหนดจุดอนุรักษ์จำนวน 2 จุด คือบริเวณศาลเจ้าพ่อหาญคำและบริเวณวิจัยประมงน้ำจืดจังหวัดชัยภูมิ และขอความร่วมมือชาวประมงไม่ให้จับสัตว์น้ำในบริเวณจุดอนุรักษ์ดังกล่าว
 
 
บรรทัด 24:
== สภาพทางชีวภาพ ==
=== นก ===
บึงละหานมีระบบนิเวศที่มีความสภาพสมบูรณ์ ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากทำให้มีนกหลากหลายสายพันธุ์เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ ซึ่งพบอย่างน้อย 56 ชนิด '''นกประจำถิ่น''' 24 ชนิด '''นกน้ำและนกชายเลน''' 27 ชนิด '''นกอพยพแต่มิใช่เพื่อการผสมพันธุ์''' 29 ชนิดได้แก่ นกยางโทนน้อย [[นกยางโทนใหญ่]] นกยางเปีย นกยางไฟธรรมดา นกยางไฟหัวดำ '''นกอพยพเพื่อการผมพันธ์ผสมพันธ์ุ''' 1 ชนิด ได้แก่ นกแอ่นทุ่งใหญ่ '''นกอพยพตามฤดูกาล''' 1 ชนิด ได้แก่ นกแซงแซวหางปลา '''นกที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์''' ได้แก่ [[นกกระสานวล]] [[นกกระสาแดง]] นกกระแตหาง '''นกที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง''' ได้แก่ นกกระแตผีใหญ่ '''นกที่พบมาก''' ได้แก่ นกนางแอ่นทุ่งใหญ่ [[เป็ดแดง]]
 
=== ปลา ===
บรรทัด 30:
 
=== พืช ===
พืชในบึงละหานกระจายอยู่ในบริเวณต่างๆ หนาแน่นบริเวณขอบบึงทิศตะวันตกและทิศเหนือของบึง พบมากที่สุดคือ[[ธูปฤๅษี ]] กกสามเหลี่ยม [[หญ้าขน]] [[หญ้าชันกาด ]] บริเวณขอบบึงถึงบริเวณกลางน้ำพบ ผักตกชวา[[ผักตบชวา]] [[จอก]] จอกแหน [[พังพวยน้ำ]] ผักบุ้ง สาวบัว [[บัวหลวง]] กระจับ จอก ไข่ผำ บริเวณน้ำลึกจะมี[[สาหร่ายหางกระรอก]] สาหร่ายหางวัว บางบริเวณจะมีกลุ่มพืชที่ขึ้นทับถมกันหนาแน่นลอยไปตามน้ำคล้ายเกาะลอยน้ำ ชาวบ้านในท้องถิ่น เรียกว่า '''กอสนม''' อ่านว่า กอ-สะ-หนม
 
== ลักษณะทางธรณีวิทยา ==