ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรแฟรงก์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 55:
=== การตกต่ำของชาวเมรอวินเจียนและขึ้นมาของชาวการอแลงเฌียง ===
 
การแบ่งราชอาณาจักรที่ดำเนินต่อไปในหมู่ชาวเมรอวินเจียนส่งผลให้ราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์แตกออกเป็นสามส่วน [[นูเอสเตรีย]]ทางตะวันตก, [[ออสตราเชีย]]ทางตะวันออก และ[[เบอร์กันดี]]ทางใต้ พื้นที่รอบนอกอย่างบริตทาเนียอย่าง[[แคว้นเบรอตาญ|บริตทาเนีย]], [[แคว้นอากีแตน|อากีแตน]], [[อาเลมันนิ]], [[ธูรินเจีย]] และ[[รัฐบาวาเรีย|บาวาเรีย]]มักพยายามกอบกู้เอกราชและการต่อสู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าระหว่างชาวเมรอวินเจียนทำให้พวกเขามีโอกาสทำแบบนั้นได้มากขึ้น ชาวธูรินเจียนได้รับเอกราชหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้า[[ดาโกแบร์ต์ที่ 1]] ในปี ค.ศ. 639 อากีแตนปฏิเสธที่จะยอมรับการปกครองของเมริวินเจียนหลังการฆาตกรรม[[ชิลเดริกที่ 2]] ในปี ค.ศ. 675 รัฐที่เป็นเอกราชอยู่แล้วอย่างบริตทานีกับบาวาเรียปลดปล่อยตั้วเองเรียปลดปล่อยตนเองจากชาวแฟรงก์ในช่วงครึ่งหลังของคริสตศตวรรษที่ 7 สุดท้ายอาเลมันนิหาทางจนได้เอกราชมาในปี ค.ศ. 709 – 712 การพิชิตที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันเทียบไม่ได้กับส่วนที่สูญเสียไป พื้นที่เล็กๆ ใน[[เทือกเขาแอลป์]]ถูกพิชิตมาจาก[[ลอมบาร์ด|ชาวลอมบาร์ดในปีด]]ในปี ค.ศ. 575 และ[[จังหวัดฟรีสแลนด์สลันด์|ฟรีสแลนด์]]ตะวันตกถูกพิชิตในปี ค.ศ. 689 แต่[[ฟรีเซียน|ชาวฟรีเชียน]]ก็ทำเหมือนกับพื้นที่ที่อยู่รอบนอกแห่งอื่นๆ พยายามกอบกู้อิสรภาพกลับคืนมาหลายครั้ง
 
กษัตริย์เมรอวินเจียนไม่ได้เสียแค่อาณาเขตในช่วงยุคนี้ อำนาจของพวกเขาในพื้นที่ที่เหลืออยู่ของราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ก็ถูกลดลงเช่นกัน เป็นผลมาจากการมีกษัตริย์ที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ ตำแหน่ง[[สมุหราชมณเฑียร]]ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลราชอาณาจักรจนกว่าพวกเขาจะถึงวัยที่สมควร แต่เมื่อมันกลายเป็นตำแหน่งถาวรและสืบทอดทางสายเลือด ผู้ครองตำแหน่งเหล่านี้ก็กลายเป็นผู้ปกครองที่แท้จริงของราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์แม้แต่ในตอนที่มีกษัตริย์เป็นผู้ใหญ่ ในสมรภูมิที่เตอร์ตรีในปี ค.ศ. 687 สมุหราชมณเฑียรแห่งนูเอสเตรียกับเบอร์กันดีถูกปราบโดยผู้ที่มีตำแหน่งเดียวกันในออสตราเชีย [[เปแปงแห่งเฮริสตันสตัน]]ที่ภายหลังปกครองราชอาณาจักรแฟรงก์ทั้งหมด
 
เมื่อเปแปงแห่งเฮริสตันตายในปี ค.ศ. 714 หลานชายวัย 6 ปีของเขา เธอโดลด์ กลายเป็นสมุหราชมณเฑียรคนใหม่ ตำแหน่งที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลราชอาณาจักรในยามที่กษัตริย์เป็นผู้เยาว์บัดนี้เติบโตขึ้นมามีอำนาจมากจนตัวเองสามารถถูกสืบทอดได้โดยคนที่ยังเป็นผู้เยาว์ได้ ท่าแต่บุตรชายนอกกฎหมายของเปแปง [[ชาร์ล มาร์แตล|ชาร์ลส์ มาแตลมาร์แตล]] ไม่ยอมรับการถ่ายโอนอำนาจครั้งนี้และประกาศตนเป็นสมุหราชมณเฑียรและกลายเป็นผู้ปกครองคนแรกของ[[ราชวงศ์การอแล็งเฌียง|ราชวงศ์การอแลงเฌียง]]ที่ริบอำนาจของชาวเมรอวินเจียนมาได้อย่างเด็ดขาด หลายทศวรรษต่อมาสงครามเกิดขึ้นไม่ขาดเมื่อชาวการอแลงเฌียงพยายามพิชิตอาณาเขตที่เสียไปกลับคืนมาและรับมือกับการโจมตีจากชาวอาหรับ ที่การรุกรานของพวกเขาในปี ค.ศ. 732 ถูกขับไล่ออกไปในสมรภูมิที่[[ปัวตีเย|ปัวติเยร์ส์]] การต่อสู้เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้กับราชอาณาจักรนั้นยากลำบากแต่ก็ประสบความสำเร็จ ธูรินเจีย, อาเลมันนิ และบาวาเรียสุดท้ายก็ถูกปราบในปี ค.ศ. 744 บาวาเรียกรักษาเอกราชเก่าแก่ของตนไว้ได้แต่ยกพื้นที่ที่อยู่ตอนเหนือของ[[แม่น้ำดานูบ]]ทั้งหมดให้ ชาวแฟรงก์ยึดอำนาจเหนือเกาะบาเลียริกในปี ค.ศ. 754 และพิชิตเซปติมาเนียมาจากชาวอาหรับในปี ค.ศ. 759 อากีแตนถูกพิชิตอีกครั้งในปี ค.ศ. 768 การสานสัมพันธไมตรีกับพระสันตะปาปานำไปสู่การสู้รบสองครั้งกับชาวลอมบาร์ดที่ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 754 และ 756 ในเวลาเดียวกันชาวการอแลงเฌียงเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับอำนาจของตนภายในราชอาณาจักของชาวแฟรงก์ และ[[พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย|เปแปงผู้ตัวเตี้ย]]ถอดกษัตริย์เมรอวินเจียนคนสุดท้ายออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 751 และทำให้ตนเองได้รับเลือกเป็นกษัตริย์
 
=== จักรวรรดิการอแลงเฌียง ===
 
เปแปงผู้ตัวเตี้ยสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 768 และทิ้งราชอาณาจักรที่แข็งแกร่งที่สุดของยุโรปตะวันตกไว้ให้พระโอรสสองคน ชาร์เลอมาญกับแกร์โลมอง[[ชาร์เลอมาญ]]กับแกร์โลมอง แกร์โลมองสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 771 และชาร์เลอมาญใช้แหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ของราชอาณาจักรที่เป็นหนึ่งเดียวเดียวกันขยายอาณาเขตออกไปทุกทิศทุกทาง เมื่อชาวลอมบอร์ดคุกคามพระสันตะปาปาอีกครั้ง ชาร์เลอมาญบุกอิตาลีและตั้งตนเองเป็นกษัตริย์ของชาวลอมบาร์ดในปี ค.ศ. 774 ทว่าราชรัฐชั้นเจ้าชาย เบเนเวนโต เบเนเวนโตของชาวลอมบาร์ดในอิตาลียอมรับการเป็นใหญ่เหนือกว่าของชาร์เลอมาญเพียงช่วงสั้นๆ แตกต่างกับการพิชิตอาณาจักรของชาวลอมบาร์ดที่ทำได้อย่างรวดเร็ว การปราบ[[ชาวแซกซัน|ชาวแซ็กซัน]]ทางตะวันออกเฉียงเหนือ (ค.ศ. 772 – 804) นั้นยาวนานและนองเลือก เพื่อทำลายการคิดความคิดที่จะต่อต้านของชาวแซ็กซัน ชาร์เลอมาญสังหารหมู่พวกเขาเป็นพันๆ คนและเนรเทศชาวแซ็กซันออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวแฟรงก์กับแฟรงก์กับ[[ชาวสลาฟ]]เข้ามาแทนที่ แคว้นจึงสงบลงในท้ายที่สุด บาวาเรียที่มักเป็นข้าราชบริพารที่ไว้ใจไม่ได้ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ในปี ค.ศ. 788 หลังดยุคของรัฐสมคบคิดับคิดกับชาวลอมบาร์ดและชาวอาวาร์ จักรวรรดิของชาวอาวาร์ที่มีศูนย์กลางอยู่ในฮังการีถูกบดขยี้ในปี ค.ศ. 791 – 796 ทำให้พื้นที่ของชาวสลาฟในยุโรปกลางยอมรับความเป็นใหญ่เหนือกว่าของชาร์เลอมาญ ฟรีสแลนด์ตะวันออกถูกพิชิตในปี ค.ศ. 784 – 785 และบริตทานียอมรับอำนาจที่เหนือกว่าของชาวแฟรงก์ในปี ค.ศ. 799 การสู้รบกับชาวอาหรับไม่ค่อยประสบความสำเร็จแต่ชาร์เลอมาญก็หาทางขยายอิทธิพลไปจนถึง[[แม่น้ำเอโบร]]ได้ในปี ค.ศ. 812 แม้ชาวอาหรับจะเอาคืนด้วยการยึดเกาะบาเลียริกในปี ค.ศ. 798
 
การพิชิตของชาร์เลอมาญนั้นใหญ่มากจนผู้คนมองว่าพระองค์ได้กอบกู้ฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกกลับคืนมา หลังจากนั้นชาร์เลอมาญได้รับการราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิโดยพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 800 แต่ธรรมเนียมการแบ่งราชอาณาจักรกันในหมู่พระโอรสของกษัตริย์ของชาวแฟรงก์ทำให้ความเป็นหนึ่งเดียวคงอยู่เพียงชั่วคราว ราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ยังเป็นรัฐศักดินาร่วมกับการทำสงครามหาผลประโยช์ด้วยการปล้นประเทศเพื่อนบ้าน เมือราชอาณาจักรขยายอาณาเขตออกไป การปล้นหาผลประโยชน์ก็ลดลงเช่นเดียวพอๆ กับความจงรักภักดีของขุนนางในยามที่มองไม่เห็นโอกาสที่จะได้รางวัลมากมายจากการรับใช้ จึงทำให้จักรวรรดิของชาวแฟรงก์หลังการสิ้นพระชนม์ของชาร์เลอมาญในปี ค.ศ. 814 พังครืนภายใต้แรงกดดันทั้งจากภายในและภายนอก จนทำให้แตกออกเป็นรัฐศักดินาเล็กๆ จำนวนมากมาย
 
== อ้างอิง ==