ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จันทรกีรติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: จันทรกีรติ (Candrakīrti) เป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนามหายานของนิกายม...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:06, 3 กันยายน 2561

จันทรกีรติ (Candrakīrti) เป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนามหายานของนิกายมาธยมกะ และเป็นอรรถกถาจารย์ผู้อธิบายงานเขียนของพระนาคารชุน และศิษย์คนสำคัญของท่านนาคารชุน เช่น พระอารยเทวะ พระจันทรกีรติเป็นผู้เขียนปกรณ์ชื่อประสันนปทา และมาธยมกาวตาร [1]

ไม่มีข้อมูลเรื่องชีวิตของจันทรกีรติมากนัก แหล่งข้อมูลจากทิเบตระบุว่าท่านเกิดที่เมืองสามันตะ ทางภาคใต้ของอินเดียเป็นศิษย์ของพระกมลพุทธิ และขนบทางพุทธศาสนามหายานมักระบุว่าท่านเกี่ยวข้องกับนาลันทามหาวิหาร ซึ่งท่านอาจเป็นพระภิกษุที่นั่น [1]

คำสอนและผลงาน

จันทรกีรติเป็นเน้นตีความคำสอนของนิกายมาธยมกะ ด้วยวิธีการทางตรรกศาสตร์ที่เรียกว่า ปราสังคิกะ หรือการวิพากษ์ทางตรรกะแบบอนุมาน หรือสำนักวิพาษวิธี ในภาษาทิเบตเรียกว่า อูมะ เทลจูร์ (Wylie: dbu ma thal 'gyur) [2] งานเขียนของท่านปกป้องแนวคิดของพระพุทธปาลิตต่อข้อโต้แย้งของพระภาวะวิเวก โดยวิจารณ์ฝ่ายหลังว่า ใช้ตรรกวิธีที่อนุมานโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ท่านยังวิพากษ์แนวคิดของพุทธศาสนานิกายต่างๆ เช่นนิกายวิชญานวาท หรือนิกายโยคาจาร [3] ท่านยังโจมตีทัศนะของสำนักของท่านทิคนาคะ นักตรรศาสตร์ชาวพุทธที่มีชื่อเสียง โดยชี้ว่าท่านทิคนาคะ พยายามจะยึดหลักญานวิทยาโดยตั้งประพจน์พื้นฐาน [4]

ผลงานการรจนาของท่านจันทรกีรติ เช่น ประสันนปทา เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า บทคำที่ชัดแจ้ง เป็นอรรถาธิบายตำรามูลมาธยมกการิกา ของพระนาคารชุน และมาธยมกาวตารเป็นตำราเสริมต่อผลงานของพระนาคารชุน ในทิเบตใช้มาธยมกาวตารของท่านเป็นตำราการเรียนการสอนวิทยาลัยสงฆ์ ในวิชาว่าด้วยหลักศูนยตาและปรัชญาของนิกายมาธยมกะ

ผลงานสำคัญ

  • ประสันนปทา (Prasannapadā) หรือ บทคำที่ชัดแจ้ง อรรถกถามูลมาธยมกการิกา ของพระนาคารชุน
  • มาธยมกาวตาร (Madhyamakāvatāra) หรือ การเข้าถึงทางสายกลาง
  • จตุห์ศตกฎีกา (Catuḥśatakaṭīkā) หรือ อรรถกถาสี่ร้อย อธิบายคาถาสี่ร้อยของพระอารยเทวะ
  • ยุกติษอัษฏิกาวฤตติ (Yuktiṣaṣṭikāvṛtti) หรือ อรรถาธิบายโศลกหกสิบบทว่าด้วยตรรกะ
  • ศูนยตาสัปตวฤตติ (Shūnyatāsaptativṛtti) อรรถาธิบายโศลกเจ็ดสิบบทว่าด้วยศูนยตา
  • ตริศรณสัปติ (Triśaraṇasaptati) หรือ คาถาเจ็ดสิบว่าด้วยการรับพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

Notes

  1. 1.0 1.1 Buswell Jr. & Lopez Jr. 2013, Entry for Candrakīrti.
  2. Candrakirti - Budda World. Accessed January 29, 2012.
  3. Fenner, Peter G. (1983). "Chandrakīrti's refutation of Buddhist idealism." Philosophy East and West Volume 33, no.3 (July 1983) University of Hawaii Press. P.251. Source: [1] (accessed: January 21, 2008)
  4. Hayes, Richard, "Madhyamaka", The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Spring 2017 Edition), Edward N. Zalta (ed.), forthcoming URL = <https://plato.stanford.edu/archives/spr2017/entries/madhyamaka/>.

References

  • Buswell Jr., Robert E.; Lopez Jr., Donald S. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton: Princeton University Press. ISBN 9781400848058. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Dan Arnold, Buddhists, Brahmins and Belief: Epistemology in South Asian Philosophy of Religion
  • C. W. Huntington, The Emptiness of Emptiness: An Introduction to Early Indian Madhyamaka
  • Gyatso, Kelsang. Ocean of Nectar: The True Nature of All Things, a verse by verse commentary to Chandrakirti's Guide to the Middle Way, Tharpa Publications (1995) ISBN 978-0-948006-23-4