ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชาวน์วัศ สุดลาภา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thaiwanway (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thaiwanway (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 53:
[[รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย]] 2 ครั้ง ใน 2 สมัย ในรัฐบาลของ พล.อ.[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]] และยังมีผลงานที่โดดเด่นคือการกวาดล้างซุ้มมือปืน[[จังหวัดเพชรบุรี]]ได้สำเร็จราบคราบในสมัยเป็นพ่อเมืองเพชรบุรี<ref>http://www2.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=338</ref>ได้ทำการปราบปราบแร่เถื่อนที่[[จังหวัดพังงา]]สมัยเป็นพ่อเมืองพังงาปราบปรามโจรเรียกค่าไถ่ใน[[จังหวัดลพบุรี]]และเชาวน์วัศ สุดลาภา ยังได้รับใด้ดำรงตำแหน่งรองปล้ดกระทรวงมหาดไทยก่อนจะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพคนที่7 และยังได้รับเลือกตั้งเป็น[http://สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]จังหวัดลพบุรี ต่อเนื่อง 4 สมัย (สอบได้ที่ 1 ทั้ง 4 สมัยซ้อน) นอกจากนี้ยังเคยได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ (สังข์เงิน) ( ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2522) จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (ทางด้านสาขาการบริหารและการปกครอง) และยังได้รับการก่อตั้งอนุสาวรีย์เชาวน์วัศ สุดลาภา ขึ้นที่ [[อำเภอกะปง]][[จังหวัดพังงา]] เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งผู้ว่าคนดี และที่สำคัญนายเชาวน์วัศ สุดลาภาได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของ[[จังหวัดลพบุรี]]<ref>[http://library.tru.ac.th/il/lop/pepp/pep1.html บุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี] (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ [[มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี]])</ref>
 
นาย เชาวน์วัศ เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรกจากการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิก[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] ในรัฐบาล[[จอมพลถนอม กิตติขจร]] เมื่อ [[พ.ศ. 2515]] ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]] ใน[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 ของไทย‎|คณะรัฐมนตรีชุดที่ 41]] สมัย พล.อ. [[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]]เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ [[พ.ศ. 2523]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/A/028/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)]</ref> ซึ่งในขณะนั้นนายเชาวน์วัศยังดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนเป็นผู้ว่าราชการ[[กรุงเทพมหานคร]]
 
ในปี [[พ.ศ. 2531]] นาย เชาวน์วัศได้ลาออกจากราชการเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]][[จังหวัดลพบุรี]] และได้รับเลือกตั้ง 4 สมัยต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 - 2538 และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคกิจสังคม โดยในช่วงเวลาดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร และ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ (พ.ศ. 2531 - 2535) และรองประธาน[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]]คนที่ 2 (พ.ศ. 2535) [[รายนามรองประธานสภาผู้แทนราษฎรของไทย]]
ในปี [[พ.ศ. 2536]] เชาวน์วัศได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]] ใน[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 ของไทย‎|คณะรัฐมนตรีชุดที่ 50]] สมัยนาย[[ชวน หลีกภัย]]เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] (ชวน หลีกภัย 1) นับเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]]เป็นครั้งที่ 2
 
== ชีวิตส่วนตัว ==