ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวารวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7758256 สร้างโดย 171.99.152.222 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Booking23450 (คุย | ส่วนร่วม)
ช่วยทุกคนสังคมไม่ควรมีคนแบบนี้
บรรทัด 1:
obลอกลอกลอกลอก(บอทแว่น) this is bad boy kuy
{{รอการตรวจสอบ}}
{{issues|ปรับภาษา=yes|ต้องการอ้างอิง=yes|จัดรูปแบบ=yes}}
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
 
'''ทวารวดี''' เป็นคำ[[ภาษาสันสกฤต]] เกิดขึ้นครั้งแรกในปี [[พ.ศ. 1427]] โดยนายแซมมวล บีล ({{lang-en|Samuel Beel}}) ได้แปลงมาจากคำว่า ''โถโลโปตี้'' ({{lang-en|Tolopoti}}) ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของ[[ภิกษุ]]จีนจิ้นฮง ({{lang-en|Hiuantsang}}) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า ''โถโลโปตี'' เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่าง[[อาณาจักรศรีเกษตร]] และ[[อาณาจักรอิศานปุระ]] และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดน[[ประเทศไทย]](สยาม)ปัจจุบัน และยังสันนิษฐานคำอื่นๆที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น จวนโลโปติ ({{lang-en|Tchouanlopoti}}) หรือ เชอโฮโปติ ({{lang-en|Chohopoti}}) ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย
 
ต่อมาความคิดเห็นนี้ได้มีผู้รู้หลายท่านศึกษาต่อและให้การยอมรับเช่น นายเอดัวร์ ชาวาน ({{lang-en|Edourd Chavannes}}) และ นายตากากุสุ ({{lang-en|Takakusu}}) ผู้แปลจดหมายเหตุการเดินทางของภิกษุอี้จิงในปี [[พ.ศ. 2439]] และ นายโปล เปลลิโอต์ ({{lang-en|Paul Pelliot}}) ผู้ขยายความอาณาจักรทวารวดีเพิ่มอีกว่ามีประชาชนเป็น[[ชาวมอญ]]ในปี [[พ.ศ. 2447]] เป็นต้น ดังนั้นบรรดาเมืองโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุสถานต่างๆที่พบมากมายโดยเฉพาะในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นของขอมหรือของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัย[[ราชวงศ์คุปตะ]] - หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 ที่พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์ ({{lang-en|Lunet de Lajonguiere}}) เรียกว่า กลุ่มอิทธิพล[[อินเดีย]]แต่ไม่ใช่[[ขอม]] จึงถูกนำมาสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ([[พ.ศ. 2468]]) และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ([[พ.ศ. 2469]]) เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่าคือดินแดนแห่งอาณาจักรทวารวดี และศิลปะแบบทวารวดี โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรตามบันทึกจีนกับอายุของบันทึก และอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16
 
อาณาจักรทวารวดี เป็นที่น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อพบเหรียญเงิน 2 เหรียญ มีจารึกภาษาสันสกฤตอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 จาก[[จังหวัดนครปฐม|เมืองนครปฐมโบราณ]] มีข้อความว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลได้ว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี หรือ พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ อาณาจักรทวารวดีจึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีอยู่จริง และยังเชื่อกันอีกด้วยว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักร (แต่ปัจจุบันพบเหรียญลักษณะคล้ายกันอีก 2 เหรียญ ที่[[อำเภออู่ทอง]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] และที่[[อำเภออินทร์บุรี]] [[จังหวัดสิงห์บุรี]] ความสำคัญของเมืองนครปฐมจึงเปลี่ยนไป) แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าอำเภออู่ทอง หรืออาจเป็น[[จังหวัดลพบุรี]] ที่น่าจะเป็นเมืองหลวงมากกว่ากัน
 
== ร่องรอยกลุ่มวัฒนธรรมทวารวดี ==
[[ไฟล์:DvaravatiMapThailand.png|left|thumb|275px|อาณาเขตของอาณาจักร]]
ปัจจุบันร่องรอยเมืองโบราณ รวมทั้งศิลปโบราณ<ref>[http://www.prc.ac.th/newart/webart/history08.html/ ประติมากรรม]</ref>วัตถุสถานและจารึกต่างๆในสมัยทวารวดีนี้ พบเพิ่มขึ้นอีกมากมาย และที่สำคัญได้พบกระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยโดยไม่มีหลักฐานของการแผ่อำนาจทางการเมืองจากจุดศูนย์กลางเฉกเช่นรูปแบบการปกครองแบบอาณาจักรทั่วไป เช่น
 
* ภาคเหนือ : ที่[[จังหวัดลำพูน]] [[อำเภอสวรรคโลก ]] [[อำเภอทุ่งเสลี่ยม]] [[จังหวัดสุโขทัย]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
* ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : พบทุกจังหวัด ในแต่ละจังหวัดพบมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป บางจังหวัดพบว่ามีมากกว่า 7 แห่ง และมีการค้นพบมากขึ้นเรื่อยๆ
* ภาคตะวันออก : ที่[[จังหวัดปราจีนบุรี]] และ [[จังหวัดสระแก้ว ]]
* ภาคใต้ : ที่[[จังหวัดปัตตานี]]
* ภาคกลาง : กระจายอยู่ตามลุ่มแม่น้ำสำคัญต่างๆ เช่น [[แม่น้ำเพชรบุรี]] [[แม่น้ำแม่กลอง]] [[แม่น้ำท่าจีน]] [[แม่น้ำลพบุรี]] [[แม่น้ำป่าสัก]] และ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]
 
จากการศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศพบเมืองโบราณสมัยนี้ถึง 63 เมืองด้วยกัน นอกจากนี้จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดียังพบว่าเมืองโบราณแทบทุกแห่งจะมีลักษณะของการต่อเนื่องทางวัฒนธรรมจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พัฒนาการขึ้นมาสู่ช่วงสมัยทวารวดี เมื่อมีการติดต่อกับอารยธรรมอินเดีย
 
ดังนั้นทฤษฎีของนักวิชาการรุ่นก่อนโดยเฉพาะความเชื่อเรื่องรูปแบบการปกครองแบบอาณาจักร และเมืองศูนย์กลางจึงเปลี่ยนไป ว่าน่าจะอยู่ในขั้นตอนของ[[เมืองก่อนรัฐ]](Proto-State)ในรูปของเมืองเบ็ดเสร็จหรือเมืองที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ในตัวเองทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความเชื่อศาสนา หากจะมีอำนาจทางการเมืองก็หมายถึงมีอำนาจเหนือเมืองบริวารหรือชุมชนหมู่บ้านรอบๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น เมืองใหญ่เหล่านี้แต่ละเมืองจะมีอิสระต่อกัน และเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กันเพราะผลจากการติดต่อค้าขายและรับวัฒนธรรมจากอินเดียโดยเฉพาะทางด้านศาสนาพุทธแบบ[[หินยาน]] รวมทั้งภาษา และรูปแบบศิลปกรรมแบบเดียวกัน
 
วัฒนธรรมทวารวดีเริ่มเสื่อมลงราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 เมื่ออิทธิพลวัฒนธรรมแบบขอมหรือ[[เขมรโบราณ]]จาก[[ประเทศกัมพูชา]]ที่มีคติความเชื่อทางศาสนาและรูปแบบศิลปกรรมที่แตกต่างออกไปเข้ามาแทนที่
 
แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องทวารวดียังต้องการคำตอบอีกมากไม่ว่าปัญหาเรื่องของอาณาจักรหรือเมืองอิสระ ปัญหาเมืองศูนย์กลาง ปัญหาอาณาเขต ปัญหาชนชาติเจ้าของจะเป็นชาวมอญจริงหรือไม่ หรือแม้แต่ชื่อ '''ทวารวดี''' จะเป็นชื่ออาณาจักร หรือชื่อกษัตริย์ หรือชื่อราชวงศ์หนึ่ง หรืออาจเป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มเมืองเจ้าของวัฒนธรรมแบบเดียวกันเฉกเช่นกลุ่มศรีวิชัยทางภาคใต้ ก็ยังเป็นปัญหาที่ต้องขบคิดและหาหลักฐานมาพิสูจน์กันต่อไป
 
สภาพสังคมทวารวดีนั้นลักษณะไม่น่าจะเป็นอาณาจักร คงเป็นเมืองขนาดต่าง ๆ ซึ่งพัฒนาขยายตัวจากสังคมครอบครัว และสังคมหมู่บ้านมาเป็นสังคมเมืองที่มีชุมชนเล็ก ๆ ล้อมรอบ มีหัวหน้าปกครอง มีการแบ่งชนชั้นทางสังคม นอกจากนี้ยังมีการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองต่อเมืองหรือรัฐต่อรัฐ ไม่ใช่ความสัมพันธ์โดยการเมือง แต่โดยการค้า ศาสนา และความเหมือนกันทางวัฒนธรรม
 
เศรษฐกิจของชุมชนทวารวดีคงจะมีพื้นฐานทางการเกษตรกรรม มีการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างเมือง หรือการค้าขายแลกเปลี่ยนกับชุนชนภายนอก
ชุมชนทวารวดีเริ่มต้นแนวความเชื่อแบบพุทธศาสนา ในลัทธิเถรวาท ควบคู่ไปกับการนับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ทั้ง[[ลัทธิไศวนิกาย]] และ[[ลัทธิไวษณพนิกาย]] โดย[[ศาสนาพราหมณ์]] หรือ[[ศาสนาฮินดู]]จะแพร่หลายในหมู่ชมชนชั้นปกครอง ในระยะหลังเมื่อเขมรเข้าสู่สมัยเมืองนคร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมทวารวดีก็ถูกครอบงำโดยเขมร และในตอนท้ายคติความเชื่อได้เปลี่ยนแปลงไป
 
ชาวทวารวดีได้มีการพัฒนาการทางเทคโนโลยีอันก้าวหน้า จากการจัดระบบชลประทานทั้งภายในและภายนอกเมือง มีการขุดคลอง สระน้ำ การทำคันบังคับน้ำหรือทำนบ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถ่ายทอดสู่ชนรุ่นหลังใน[[ละโว้|สมัยลพบุรี]] และสมัย[[อาณาจักรสุโขทัย]] ในด้านการคมนาคม คนในสมัยทวารวดีมีการสัญจรทางน้ำและทางบก นอกเหนือจากการติดต่อกับชาวเรือที่เดินทางค้าขายแล้วยังปรากฏร่องรอยของคันดินซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นถนนเชื่อมระหว่างเมือง นอกจากนี้หลักฐานทางโบราณคดีที่พบไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยหรือประติมากรรมล้วนแล้วแต่แสดงความเจริญก้าวหน้าทาง[[เทคโนโลยี]] และ[[ศิลปกรรม]] เช่น เทคนิคตัด[[ศิลาแลง]] [[การสกัดหิน]] การทำ[[ประติมากรรม]] การหล่อ[[สำริด]] การหลอม[[แก้ว]]
 
==โบราณสถานสมัยทวารวดี ==
สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้แม้ว่าชื่อทวารวดีจะเป็นชื่อของสิ่งใดก็ตาม หลักฐานโบราณสถานโบราณวัตถุที่พบมากมาย ซึ่งล้วนมีลักษณะฝีมือทางศิลปกรรมที่คล้ายคลึงกันทุกแห่งทุกภาค ไม่ว่าจะเป็นงานประติมากรรมที่ส่วนใหญ่เป็น[[พระพุทธรูป]] [[พระพิมพ์]] [[ธรรมจักร]] [[ใบเสมา]] ภาพปูนปั้น และภาพดินเผาประดับที่มีลักษณะเฉพาะ หรือ งานสถาปัตยกรรมอันได้แก่ สถูปเจดีย์และวิหารที่มีแผนผัง รูปแบบ วัสดุ เทคนิคการสร้าง ตลอดจนคติทางศาสนาแบบเดียวกัน
 
ซึ่งหากพิจารณาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะของความสัมพันธ์ร่วมกันเช่นนี้เป็นเพราะตำแหน่งที่ตั้งของเมืองแต่ละเมืองสามารถติดต่อถึงกันได้สะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ โดยเฉพาะเมืองในที่ราบภาคกลาง มักตั้งใกล้ชายฝั่งทะเลเดิม มีร่องรอยทางน้ำติดต่อกับเมืองในภูมิภาคภายในและยังมีทางน้ำเข้าออกกับฝั่งทะเลโดยตรงด้วย อันสะดวกต่อการติดต่อภายในกันเองและติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวอินเดียได้เป็นอย่างดี
เมืองโบราณสมัยทวารวดีโดยทั่วไป มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่พื้นที่ตั้งและผังเมือง คือมักตั้งอยู่บนดอนในที่ลุ่ม ใกล้ทางน้ำ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมมุมมนหรือค่อนข้างกลม มีคูน้ำคันดินล้อมรอบหนึ่งหรือสองชั้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้หรือป้องกันน้ำท่วม โบราณสถานขนาดใหญ่มักตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมืองเช่น เมืองโบราณนครปฐม มีวัดพระประโทน และ[[เจดีย์จุลประโทน]]ตั้งอยู่กึ่งกลางเมือง เมืองโบราณคูบัว [[จังหวัดราชบุรี]] มีโบราณสถานหมายเลข 18ในวัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งอยู่กึ่งกลางเมือง เมืองในของเมืองโบราณศรีเทพ มีโบราณสถานเขาคลังใน ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมือง เป็นต้น
 
โบราณสถานแทบทั้งหมดใช้อิฐเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง อาจมีการใช้[[ศิลาแลง]]บ้างแต่ไม่ใช้หินก่อสร้างเลย อิฐเผาอย่างดีไส้สุกตลอด เนื้ออิฐแข็งพอสมควร ส่วนยาวจะเท่ากับสองเท่าของความกว้าง ส่วนกว้างเป็นสองเท่าของความหนา อิฐมีขนาดใหญ่ ขนาด 32x16x8 เซนติเมตรขึ้นไป ผสมแกลบมาก เป็นแกลบข้าวเหนียวปลูก
 
การก่อใช้อิฐทั้งก้อน ไม่ขัดผิวแต่ก็ประณีต รอยต่ออิฐแนบสนิท สอด้วยดินบางๆ เป็นส่วนผสมของดินเหนียวละเอียด ผสมกับวัสดุยางไม้หรือน้ำอ้อย จนเหนียวคล้ายกาว ทำให้อิฐจับกันแน่นสนิทเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงถากเป็นลวดลาย แล้วปั้นปูนประดับ
เนื่องจากสังคมทวารวดียอมรับพุทธศาสนาลัทธิ[[เถรวาท]]จากอินเดียเป็นหลัก (พบหลักฐานเนื่องในศาสนาฮินดูด้วยแต่ไม่มากนัก) ทำให้สังคมทวารวดีโดยทั่วไปเป็นสังคมพุทธ ดังนั้นอาคารโบราสถานทั้งหลายจึงเป็นพุทธสถานแทบทั้งสิ้น โบราณสถานเหล่านี้แสดงอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะ และหลังคุปตะ และปาละเสนะตามลำดับ แต่ได้ดัดแปลงผสมผสานให้เข้ากับลักษณะท้องถิ่นจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
[[ไฟล์:MonWheel.jpg|right|thumb|234px|ธรรมจักรในสมัยทวารวดี]]
 
===ประเภทและลักษณะของโบราณสถานสมัยทวารวดี===
เชื่อกันว่าศิลปกรรมอินเดียได้มีอิทธิพลต่องานศิลปกรรมในดินแดนประเทศไทยมานานตั้งแต่ครั้ง[[พระเจ้าอโศกมหาราช]] แห่ง[[ราชวงศ์โมริยะ]] (พ.ศ. 269-307) ที่ทรงส่งสมณทูต 9 สายออก
เผยแพร่พระพุทธศาสนาทั่วประเทศและนอก[[ประเทศอินเดีย]] และสมณทูตสายที่ 8 คือ[[พระอุตตรเถระ]]และ[[พระโสณเถร]]ะผู้เดินทางมายังดินแดนที่ชื่อ[[สุวรรณภูมิ]]นั้น สันนิษฐานกันว่าน่าจะหมายถึง ดินแดนในประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชาในปัจจุบัน และยังเชื่อกันว่าเจดีย์องค์เดิมที่[[พระปฐมเจดีย์]]สร้างครอบทับไว้น่าจะเป็นเจดีย์ที่สร้างขี้นในสมัยนั้นโดยอาศัยการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกับเจดีย์สาญจีของอินเดีย ส่วนอาคารพุทธสถานอื่นๆที่ไม่เหลือปรากฏในปัจจุบัน อาจจะสร้างด้วยไม้จึงปรักหักพังไปหมด
 
ร่องรอยของโบราณสถานมาปรากฏหลักฐานแน่ชัดอายุเก่าที่สุดตั้งแต่สมัยทวารวดีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา ทุกแห่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัย[[ราชวงศ์คุปตะ]]-หลังคุปตะและ[[ราชวงศ์ปาละ]]ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 และ 14-16 ตามลำดับ โบราณสถานส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา กำหนดอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 เกือบทุกแห่งปรักหักพังเหลือแต่เฉพาะส่วนฐาน แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ ฐานสถูปเจดีย์พบมากที่สุดกระจายอยู่ตามเมืองโบราณต่างๆทุกแห่ง นอกนั้นเป็นฐานวิหาร พบน้อย และสีมาหรือหลักกำหนดเขตบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่ประกอบพิธีกรรมในศาสนาซึ่งมักพบตามเมืองโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
===สถูปเจดีย์===
[[ไฟล์:1stkmdpagoda.JPG|thumb|300px|right|พระเจดีย์หมายเลข 1 วัดเขาไม้เดน บ้านโคกไม้เดน อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์]]
สถูปเจดีย์สมัยทวารวดี คงจะสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ให้เป็นอุเทสิกเจดีย์ (เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์หรือบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว) มากที่สุด จากหลักฐานที่เหลืออยู่เพียงเฉพาะส่วนฐานนั้น สามารถแบ่งตามลักษณะแผนผังได้เป็น 4 รูปแบบใหญ่ๆ คือ ฐานรูปกลม ฐานรูปสี่เหลี่ยม ฐานรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม และฐานแปดเหลี่ยม หรือสามารถแบ่งตามรายละเอียดที่ต่างกันได้เป็น 13 รูปแบบย่อย ซึ่งแต่ละแบบล้วนแสดงวิวัฒนาการที่ สืบทอดจากต้นแบบในอินเดียเป็นระยะๆ และยังเป็นต้นแบบให้สถูปเจดีย์ในยุคต่อๆมาด้วย คือ
 
* '''แบบที่ 1''' สถูปเจดีย์ฐานกลม น่าจะเป็นแบบที่เก่าที่สุด รับอิทธิพลต้นแบบมาจากสถูปสาญจีของอินเดียเช่น โบราณสถานหมายเลข 3 (ภูเขาทอง) ที่[[อำเภอศรีมโหสถ]] [[จังหวัดปราจีนบุรี]] สถูปกลมที่อู่ทอง [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] และพระปฐมเจดีย์องค์เดิม [[จังหวัดนครปฐม]] เป็นต้น ลักษณะการก่อสร้างใช้ดินแลงอัดหรือก่ออิฐ สถูปเจดีย์ลักษณะนี้น่าจะเหมือนต้นแบบ คือลักษณะเป็นครึ่งวงกลม มีเวทิกาหรือรั้วกั้นโดยรอบ บนองค์สถูปประดับด้วยหรรมิกาหรือบัลลังก์ และมีฉัตรซ้อนกันสามชั้น และอาจมีบันไดทางขึ้นเพื่อกระทำประทักษิณและมีประตูทางเข้าขนาดใหญ่สี่ทิศ (โตรณะ)
 
* '''แบบที่ 2''' สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีองค์สถูปรูปกลมก่อข้างบน แต่ปัจจุบันสถูปกลมได้พังทลายหมด เช่น โบราณสถานหมายเลข 8,9,11และ15 ที่บ้านโคกไม้เดน [[จังหวัดนครสวรรค์]] โบราณสถานหมายเลข 11 ที่[[อำเภออู่ทอง]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] และโบราณสถานหมายเลข 6,20และ23/2 ที่[[อำเภอศรีมโหสถ]] [[จังหวัดปราจีนบุรี]]เป็นต้น สันนิษฐานว่าองค์สถูปเดิมน่าจะมีลักษณะคล้ายหม้อน้ำหรือบาตรคว่ำ ตอนบนประดับด้วยฉัตรเป็นชั้นๆ ปลายสุดมียอดรูปดอกบัวตูมและที่แท่น(หรรมิกา)ที่ตั้งก้านฉัตรมีคาถาเย ธมฺมา สลักอยู่
 
* '''แบบที่ 3''' สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีองค์สถูปก่อข้างบน มีแนวบันไดเพียงด้านเดียว แนวบันไดบางครั้งก่ออิฐเป็นรูปอัฒจันทร์ เช่นโบราณสถานหมายเลข 13,16 ที่บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
 
* '''แบบที่ 4''' สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองชั้น ฐานชั้นที่สองทำเป็นช่องๆให้สวยงาม เช่นโบราณสถานหมายเลข 4 ที่บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
 
* '''แบบที่ 5''' สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ซ้อนทับบนฐานแปดเหลี่ยม เช่นโบราณสถานหมายเลข 7 และ10 ที่[http://travel.sanook.com/north/nakornsawan/nakornsawan_01975.php บ้านโคกไม้เดน] จังหวัดนครสวรรค์
 
* '''แบบที่ 6''' สถูปเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม เช่นโบราณสถานหมายเลข 5 ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
 
[[ไฟล์:2ndkmdpagoda.JPG|thumb|300px|right|พระเจดีย์หมายเลข 2 วัดเขาไม้เดน บ้านโคกไม้เดน อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์]]
* '''แบบที่ 7''' สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองชั้น มีลานประทักษิณรอบ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วที่เว้นช่องประตูทางเข้าออกด้านทิศตะวันตกอีกชั้นหนึ่ง ที่ลานประทักษิณมีบันไดขึ้นลง 3 ด้าน(ยกเว้นทิศตะวันตก)เดิมอาจมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป พบที่โบราณสถานหมายเลข 2 ที่บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
 
* '''แบบที่ 8''' สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อเก็จทุกด้าน ฐานแบ่งเป็นช่องๆใหญ่เล็กสลับกัน ประดับด้วยภาพปูนปั้นเล่าเรื่องชาดก และรูปสัตว์เช่น สิงห์ กินรี เช่นโบราณสถานหมายเลข 3 ที่บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
 
* '''แบบที่ 9''' สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานล่างแต่ละด้านมีสถูปจำลองประดับที่มุมทั้งสี่ พบที่โบราณสถานหมายเลข 2 ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม
 
* '''แบบที่ 10''' สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีมุขยื่น เหนือขึ้นไปเป็นสถูปกลม พบที่[http://travel.sanook.com/north/nakornsawan/nakornsawan_01975.php บ้านโคกไม้เดน] [[จังหวัดนครสวรรค์]]
 
* '''แบบที่ 11''' สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานมีช่องประดิษฐานพระพุทธรุปปูนปั้น ล้อมรอบด้วยลานประทักษิณ เช่นโบราณสถานหมายเลข 1 ที่บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี
 
* '''แบบที่ 12''' สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อเก็จ ตั้งซ้อนอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมที่ใช้เป็นลานประทักษิณ ที่ลานมีบันไดยื่นทั้งสี่ทิศและมีอัฒจันทร์อยู่ทุกด้าน ท้องไม้ของลานประทักษิณมีเสาอิงแบ่งเป็นช่องประดับภาพชาดก องค์สถูปประดับด้วยพระพุทธรูปยืนในซุ้มแต่ละด้าน เช่น[[เจดีย์จุลประโทน]] จังหวัดนครปฐม
 
* '''แบบที่ 13''' สถูปเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมซ้อนสองชั้น ฐานแต่ละด้านทำเป็นช่องแบบซุ้มพระด้านละสองซุ้ม นับเป็นแบบสวยพิเศษสุด พบที่โบราณสถานหมายเลข 13ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
 
ฐานสถูปเหล่านี้สามารถเปรียบเทียบได้กับสถูปอินเดียสมัยคุปตะเป็นต้นมา และแม้องค์สถูปจะหักพังไปหมดแล้ว แต่อาจสันนิษฐานรูปทรงตามรูปจำลองหรือภาพสลักสถูปเจดีย์ที่พบในประเทศได้ว่ามีด้วยกัน 3 แบบใหญ่ๆ คือ
 
1. สถูปที่มีองค์ระฆังเป็นรูปโอคว่ำหรือครึ่งวงกลม มียอดเป็นกรวยแหลมเรียบอยู่ข้างบน ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยปาละ ซึ่งเจริญขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-17
 
2. สถูปที่มีองค์ระฆังคล้ายหม้อน้ำหรือบาตรคว่ำ ยอดทำเป็นแผ่นกลมเรียงซ้อนกันขึ้นไปตอนบน บนยอดสุดมีลูกแก้วหรือดอกบัวตูมประดับ ที่แท่น (หรรมิกา) ที่ตั้งฉัตรมีจารึกคาถา เย ธมมาอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาโดยรอบ
 
3. สถูปที่มีองค์ระฆังคล้ายหม้อน้ำ ยอดสถูปคล้ายกรวยแต่มีลักษณะเป็นปล้องๆ ซ้อนติดกัน
 
===วิหาร ===
เป็นอาคารที่คู่มากับการสร้างวัดตั้งแต่[[สมัยพุทธกาล]]ในอินเดีย เดิมหมายถึงอาคารที่เป็น
ที่อยู่ของ[[พระภิกษุ]]สงฆ์ ต่อมาเมื่อมีพระภิกษุเพิ่มขึ้นวิหารจึงเป็นที่ประชุมสังฆกรรม และใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปตัวแทนของพระพุทธองค์อันเป็นประธานของการประชุมนั้น
 
ในประเทศไทย วิหารพบตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13
แต่พบไม่มากนัก มักตั้งหน้าสถูปเจดีย์เพื่อใช้เป็นที่กราบสักการบูชาพระธาตุ ดังนั้นวิหารจึงสร้างไว้หน้าเจดีย์เสมอ จากการขุดค้นของ[[กรมศิลปากร]]เมื่อพ.ศ. 2507 ที่วัดโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และที่โบราณสถานหมายเลข16 [[อำเภออู่ทอง]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] ได้พบพื้นอาคารปูอิฐและศิลาแลง มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ด้านหน้าเจดีย์ ผนังและหลังคาไม่ปรากฏคงเป็นเครื่องไม้ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวิหารที่สร้างสมัยแรกๆ แต่เนื่องจากพบน้อยเข้าใจว่าวิหารส่วนมากอาจจะสร้างด้วยไม้จึงผุพังไปหมด
 
อาคารที่คาดว่าน่าจะเป็นวิหารอีก พบที่เมืองศรีมโหสถ [[อำเภอศรีมโหสถ]] [[จังหวัดปราจีนบุรี]] มีทั้งวิหารใน[[ศาสนาพุทธ]]และ[[ศาสนาพราหมณ์]] วิหารในศาสนาพุทธมักอยู่นอกเมืองเช่นโบราณสถานหมายเลข 1, 5, 7 และ14 เป็นต้น ส่วนวิหารในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูมักสร้างอยู่ในเมืองเช่น โบราณสถานหมายเลข 10 และ 22/1-5 เป็นต้น แผนผังของอาคารส่วนใหญ่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเตี้ย ภายในมีแท่นประดิษฐานรูปเคารพ มีพื้นที่ว่างพอสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีทั้งวิหารผนังทึบและวิหารโถง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง
วิหารยังพบอีกกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นวิหารที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะแบบราชวงศ์ปาละ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (มหาวิทยาลัยนาลันทา) ตามคติพุทธแบบมหายานลัทธิวัชรยานหรือตันตระที่กำลังแพร่หลายในขณะนั้น รูปแบบวิหารมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ
 
# วิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานสูง เช่นวิหารวัดโขลง ที่คูบัว [[จังหวัดราชบุรี]] มีบันไดขึ้นด้านทิศตะวันออกสู่ลานประทักษิณ ฐานประดับเสาอิงและซุ้ม แต่เดิมคงจะมีภาพปูนปั้นประดับอยู่
# วิหารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน คือวิหารที่วัดพระเมรุ [[จังหวัดนครปฐม]] มีฐานรองรับ มีมุขทางเข้าทั้งสี่ทิศตรงกับพระพุทธรูปสี่องค์ที่ประดิษฐานอยู่หน้าผนังทึบตันสี่ด้านภายในวิหาร
[[ใบสีมา]] หรือ [[ใบเสมา]] <!--(Sema หรือ Boundary stone)--> หมายถึง เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์ หรือเขตชุมนุมสงฆ์ เป็นเขตที่สงฆ์ทั้งหลายต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน เนื่องด้วยพระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดให้สงฆ์ต้องทำอุโบสถ ปวารณาและโดยเฉพาะการสวดปาฏิโมกข์ ซึ่งต้องสวดพร้อมกันเดือนละ 2 ครั้ง จึงทรงกำหนดเขตสีมาที่มีเครื่องหมาย (นิมิต) ที่เป็นที่ทราบกัน นิมิตที่ทรงกำหนดมี 8 อย่างได้แก่ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก ถนน แม่น้ำ และน้ำ และเขตสีมาที่สมบูรณ์ต้องมีขนาดใหญ่พอที่พระสงฆ์ 21 รูปเข้าไปนั่งหัตถบาสได้ แต่ไม่กว้างเกิน 3 โยชน์ แต่เดิมครั้งพุทธกาลเขตสีมาน่าจะกำหนดเพื่อแสดงเขตวัดหรืออารามคล้ายกำแพงวัดในปัจจุบันมิใช่กำหนดเฉพาะเขตอุโบสถเท่านั้น ต่อมาจึงมีการนำสีมามาปักรอบเป็นเขตอุโบสถแทนเพื่อเป็นการแสดงเขตสังฆกรรมชุมนุมสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะเริ่มเมื่อใดนั้นยังไม่อาจหาหลักฐานได้ การกำหนดนิมิตของสีมามีจุดกำหนดอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ 3 แห่งเป็นใช้ได้ จึงเกิดวงสีมาเป็นรูปต่างๆคือ รูปสามเหลี่ยม (สีมามีนิมิต 3 แห่ง) รูปสี่เหลี่ยมต่างๆ (สีมามีนิมิต 4 แห่ง) รูปตะโพน (สีมามีนิมิต 6 แห่ง)
 
สีมา พบตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยพบมากใน[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] เช่นที่บ้านกุดโง้ง [[จังหวัดชัยภูมิ]] ที่ เมืองโบราณฟ้าแดดสูงยาง [[จังหวัดกาฬสินธุ์]] ที่บ้านตาดทอง [[จังหวัดยโสธร]] ที่วัดพุทธมงคล [[อำเภอกันทรวิชัย]] [[จังหวัดมหาสารคาม]] เป็นต้น สีมาทวารวดีพบว่ามีการปักรอบสถูปเจดีย์ด้วย และบ่อยครั้งไม่พบซากอาคารเข้าใจว่าอาคารเดิมอาจสร้างด้วยไม้จึงผุพังไป บางแห่งปัก 3 ใบและบางแห่งพบถึง 15 ใบ นอกจากนี้บางครั้งยังพบปักรอบเพิงหินธรรมชาติ เช่น ที่หอนางอุสา [[อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท]] [[จังหวัดอุดรธานี]] ซึ่งบริเวณนี้อาจเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อผู้คนหันมานับถือศาสนาพุทธ จึงนำคติการใช้หินปักแบบ
 
วัฒนธรรมหินตั้งเข้าผสมกับคติทางศาสนา มีการปักสีมาขึ้นกลายเป็นวัดป่าหรืออรัญญวาสีไป สีมาสมัยทวารวดีพบหลายแบบทั้งเป็นแผ่นคล้ายเสมาปัจจุบัน เป็นเสากลมหรือแปดเหลี่ยมหรือรูปสี่เหลี่ยม โดยทั่วไปสลักจากหินทราย มีขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 0.80 - 3 เมตร มีภาพสลักโดยทั่วไปเป็นภาพสถูปยอดแหลม หรือสลักภาพเล่าเรื่องชาดก ภาพพุทธประวัติ และลายผักกูดก้านขด เป็นต้น
 
==โบราณวัตถุ และ ศิลปะ==
''ดูได้ที่บทความหลัก'' '''[[ศิลปะทวารวดี]]'''
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.pantown.com/content.php?id=2452&name=content11 สมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่19 ]
*[http://www.chanpradit.ac.th/~nattinee/Fai256651/index.htm รายงานเรื่อง อาณาจักรทวารวดี www.chanpradit.ac.th]
*[http://lib.kru.ac.th/rLocal/print.php?story=06/09/06/1657639 เมืองโบราณอู่ทอง]
*[http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927046/mon1_1.html อาณาจักรทวาราวดี ( มอญโบราณ )]
*[http://www.bangkokstudiothai.com/Templates/dress_dhawaradee.html ชุดเครื่องแต่งกายแบบทวาราวดี www.bangkokstudiothai.com]
 
[[หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ]]
[[หมวดหมู่:อาณาจักรทวารวดี]]