ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการวัลคือเรอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
{{คำพูด|[[ฟือเรอร์|ท่านผู้นำ]]ฮิตเลอร์เสียชีวิตแล้ว! พวกผู้นำทรยศของพรรคนาซีกำลังพยายามใช้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้โดยการแทงข้างหลังกองทัพ และยึดอำนาจไว้เอง}}
 
คำสั่งอย่างละเอียดได้ถูกร่างขึ้น เพื่อเตรียมสำหรับการเข้ายึดครองกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาลใน[[เบอร์ลิน|กรุงเบอร์ลิน]] กองบัญชาการใหญ่ของฮิมม์เลอร์ในฮิมม์เลอร์ใน[[ปรัสเซียตะวันออก]] สถานีวิทยุและสถานีโทรศัพท์ และกลไกของระบอบนาซีในมณฑลทหารบกต่างๆ และ[[ค่ายกักกัน]]<ref name="Ref-1"/> (ก่อนหน้านี้ เป็นที่เชื่อกันว่าพันเอก[[:en:Claus Schenk von Stauffenberg|เคลาส์ เชงค์ ฟอน ชเตาฟ์เฟนแบร์ก]]รับผิดชอบต่อแผนการวาลคือเรอ แต่ในเอกสารที่ถูกค้นพบหลังจากสงครามยุติโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งเผยแพร่ในปี [[ค.ศ. 2007]] ได้ชี้ว่า แผนการดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นโดยพันเอกเทรสคอว์ ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1943<ref> [http://www.atypon-link.com/OLD/doi/pdf/10.1524/VfZg.2007.55.2.331 Peter Hoffmann, "Oberst i. G. Henning von Tresckow und die Staatsstreichpläne im Jahr 1943]</ref>) ข้อมูลทั้งหมดถูกเขียนขึ้นและเก็บรักษาไว้โดยภรรยาและเลขานุการของพันเอกเทรสอคว์ ซึ่งทั้งสองคนใส่ถุงมือเพื่อปิดบังรอยนิ้วมือเอาไว้ตลอดเวลา<ref>Joachim Fest, ''Plotting Hitler's Death: The German Resistance to Hitler, 1933–1945'', 1996, p220</ref>
 
ใจความหลักของแผนการดังกล่าว คือการหลอกให้กองกำลังสำรองเข้ายึดอำนาจและล้มล้างรัฐบาลฮิตเลอร์ โดยให้ข้อมูลเท็จว่า หน่วยเอ็สเอ็สพยายามจะก่อการรัฐประหารและได้ลอบสังหารฮิตเลอร์แล้ว ปัจจัยที่สำคัญคือ นายทหารระดับล่าง (ผู้ซึ่งแผนการนี้ถือว่าจะเป็นผู้นำแผนการไปปฏิบัติ) จะถูกลวงและกระตุ้นให้กระทำการดังกล่าว จากความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า กลุ่มผู้นำรัฐบาลนาซีไม่มีความจงรักภักดีและทรยศต่อรัฐ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องล้มล้างลงเสีย เหล่าผู้สมคบคิดในแผนการนี้ตั้งความหวังไว้กับการที่เหล่าทหารที่ได้รับคำสั่งจะยอมทำตามคำสั่ง (หลอก) ของพวกเขาด้วยดี หากคำสั่งดังกล่าวมาจากช่องทางการสั่งการและบังคับบัญชาที่ถูกต้อง กล่าวคือ ผ่านทางกองบัญชาการกองกำลังสำรองมา โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินหลังจากฮิตเลอร์ถูกสังหารแล้ว
บรรทัด 20:
== การลงมือปฏิบัติ ==
[[ไฟล์:Claus von Stauffenberg (1907-1944).jpg|200px|thumb|พันเอก[[เคลาส์ ฟอน ชเตาฟ์เฟนแบร์ก]] ผู้นำหลักในการรัฐประหาร]]
บุคคลหลักของแผนการ คือ พันเอก[[เคลาส์ ฟอน ชเตาฟ์เฟนแบร์ก]] ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการจริงหลังจากการลอบสังหารฮิตเลอร์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 พันเอกชเตาฟ์เฟนแบร์กยังได้ปรับปรุงแผนการวาลคือเรอเพิ่มเติม ตำแหน่งหัวหน้ากองเสนาธิการของกองกำลังสำรองทำให้เขาสามารถเข้าถึงตัวฮิตเลอร์ในการรายงานต่าง ๆ ได้ ในตอนแรก พันเอกเทรสคอว์และพันเอกชเตาฟ์เฟนแบร์กได้พยายามเสาะหานายทหารคนอื่นๆ ที่สามารถเข้าถึงตัวฮิตเลอร์และสามารถลงมือลอบสังหารเขาได้ ซึ่งนายพล[[:en:Helmuth Stieff|เฮลมุธ สตีฟฟ์]] ผู้บัญชาการฝ่ายการจัดกำลังของกองบัญชาการทหารสูงสุด ก็ได้อาสาที่จะเป็นมือสังหารฮิตเลอร์ แต่ได้ถอนตัวออกไปในภายหลัง เทรสคอว์พยายามหลายครั้งที่จะได้รับบรรจุในกองบัญชาการใหญ่ของฮิตเลอร์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ท้ายที่สุด พันเอกชเตาฟ์เฟนแบร์กจึงตัดสินใจที่จะลงมือเองในการปฏิบัติการลอบสังหารฮิตเลอร์และปฏิบัติการวาลคือเรอไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะสำเร็จเป็นอย่างมาก หลังจากความพยายามสองครั้งไม่ประสบผล ชเตาฟ์เฟนแบร์กจึงแอบลอบวางระเบิดไว้ในห้องประชุมในกองบัญชาการสนาม "รังหมาป่า" ของฮิตเลอร์ (แคว้นมณฑลปรัสเซียตะวันออก)ในวันที่ 20 กรกฎาคม เพื่อสังหารฮิตเลอร์ ส่วนตนเองก็รีบออกจาก "รังหมาป่า" บินกลับมาดำเนินการตามแผนการต่อในกรุงเบอร์ลิน อย่างไรก็ดี ฮิตเลอร์รอดชีวิตมาจากการลอบวางระเบิดดังกล่าวมาได้
 
หลังจากที่นายพลฟรอมม์รับรู้ว่าฮิตเลอร์ไม่ได้ถูกสังหารโดยการลอบวางระเบิด เขาจึงออกคำสั่งให้ประหารชีวิตนายพลออลบริชท์ พันเอกอัลบรีชต์ ริทเทอร์ เมอร์ทซ์ ฟอน เควอร์นไฮม์ (หัวหน้านายทหารเสนาธิการของนายพลออลบริชท์) พันเอกชเตาฟ์เฟนแบร์ก และร้อยโทเวอร์เนอร์ ฟอน เฮฟเทน (นายทหารคนสนิทของพันเอกชเตาฟ์เฟนแบร์ก) ผู้ที่ถูกตัดสินประหารชีวิตทั้งหมดถูกนำตัวไปยิงทิ้งภายในลานของกองบัญชาการใหญ่[[:en:Bendlerblock|เบนด์เลอร์บล็อก]]<ref>Rupert Butler, The Gestapo: A History of Hitler's Secret Police 1933-45. London: Amber Books Ltd. 2004. pg. 149.</ref> ไม่นานหลังจากเที่ยงคืน วันที่ 21 กรกฎาคม 1944