ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปีอธิกสุรทิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Evrik (คุย | ส่วนร่วม)
กราฟนี้แสดงการแปรผันของวันที่และเวลาของ ครีษมายัน เนื่องจากกฎ "วันปีอธิกสุรทิน" ที่เว้น
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ใช้ปีคศ}}
'''ปีอธิกสุรทิน''' [อะ-ทิก-กะ-สุ-ระ-ทิน] ({{lang-en|leap year}}) เป็นปีที่มีการเพิ่มหนึ่งวัน (หรือหนึ่งเดือนในกรณีของ[[ปฏิทินสุริยจันทรคติ]]) เพื่อให้[[ปีปฏิทิน]]สอดคล้องกับ[[ปีดาราศาสตร์]]หรือ[[ปีฤดูกาล]]<ref name="Meeus">{{cite book|last=Meeus|title=Astronomical Algorithms|publisher=Willmann-Bell|isbn=0943396611|pages=62}}</ref> เพราะฤดูกาลและเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์มิได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนให้ตรงกับเหตุการณ์ที่ปฏิทินควรจะติดตามเมื่อเวลาผ่านไป โดยการแทรกวันหรือเดือนเพิ่มเข้าไปในปีนั้น การเลื่อนจึงสามารถทำให้ถูกต้องได้ ปีที่มิใช่ปีอธิกสุรทิน เรียกว่า [[ปีปกติสุรทิน]] (common year)
 
ตัวอย่างเช่น ใน[[ปฏิทินเกรโกเรียน]] (ปฏิทินสุริยคติสามัญ) เดือนกุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทินมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันตามปกติ ดังนั้น ปีดังกล่าวจึงมี 366 วัน แทนที่จะมี 365 วันตามปกติ คล้ายกัน ใน[[ปฏิทินฮีบรู]] (ปฏิทินสุริยจันทรคติ) เดือนจันทรคติที่ 13 มีการเพิ่มเจ็ดครั้งทุก 19 ปี เข้าไปในเดือนจันทรคติสิบสองเดือนในปีปกติสุรทินเพื่อให้ปีปฏิทินไม่คาดเคลื่อนจากฤดูกาลเร็วเกินไป