ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Theerapat fourth (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 7775984 สร้างโดย Theerapat fourth (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 6:
| death_date = พ.ศ. 2111
| father = [[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]]
| queenspouse-type = [[พระสุริโยทัย]]อัครมเหสี
| spouse = [[พระสุริโยทัย]]
| spouse-type = พระสนม
| spouse = [[พระสนมรัตนมณีเนตร]]
| issue = [[พระราเมศวร (พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)|พระราเมศวร]] <br> [[สมเด็จพระมหินทราธิราช]] <br> [[พระวิสุทธิกษัตรีย์]] <br> [[พระบรมดิลก]] <br> [[พระเทพกษัตรี]] <br> พระแก้วฟ้า <br> พระศรีเสาวราช
| dynasty = [[ราชวงศ์สุพรรณภูมิ]]
เส้น 23 ⟶ 22:
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ มีพระนามเดิมว่า '''พระเทียรราชา''' สันนิษฐานว่าเป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] อันประสูติจากสนม และเป็นพระอนุชาต่างพระราชมารดากับ[[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]]<ref>''นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย'', หน้า 105</ref>
 
ด้านชีวิตครอบครัว ได้อภิเษกสมรสกับ[[สมเด็จพระสุริโยทัย]] และมีพระราชโอรสธิดา 5 พระองค์คือ [[พระราเมศวร (พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)|พระราเมศวร]] [[สมเด็จพระมหินทราธิราช]] [[พระวิสุทธิกษัตรีย์]] [[พระบรมดิลก]] และ[[พระเทพกษัตรี]] นอกจากนี้ยังอาจจะมีพระราชโอรสและพระราชธิดา ประสูติแต่ [[พระสนมรัตนมณีเนตร]] คืออีก เพราะปรากฏพระนาม[[พระศรีเสาวราช]] [[พระแก้วฟ้า]] เป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ด้วยในชั้นหลัง
 
ปี พ.ศ. 2089 หลังถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระไชยราชาธิราชแล้ว พระเทียรราชาทรงลี้ภัยออกผนวชอยู่[[วัดราชประดิษฐาน]]ตลอดรัชสมัย[[สมเด็จพระยอดฟ้า]]และขุนวรวงศาธิราช ครั้งนั้น[[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช|ขุนพิเรนทรเทพ]]ได้ร่วมกับ[[เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช|ขุนอินทรเทพ]] [[เจ้าพระยามหาเทพ|หมื่นราชเสน่หา (ในราชการ)]] และ[[หลวงศรียศ]] ปรึกษากันว่าแผ่นดินเป็นทุรยศ ควรจับขุนวรวงศาธิราชไปประหารชีวิตเสีย แล้วให้พระเทียรราชาซึ่งทรงผนวชอยู่เป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระเทียรราชา กราบทูลแผนการให้ทรงทราบ ก็ทรงเห็นด้วย ฝ่ายขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ เห็นว่าควรเสี่ยงเทียนว่าพระเทียรราชามีพระบารมีมากกว่าขุนวรวงศาธิราชหรือไม่ ขุนพิเรนทรเทพไม่เห็นชอบ แต่พระเทียรราชาทรงเห็นด้วย ค่ำวันนั้นทั้งหมดจึงไปยังพระอุโบสถ[[วัดป่าแก้ว]]เพื่อทำพิธีเสี่ยงทาย<ref name="พันจัน67">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'', หน้า 67</ref> เมื่อจุดเทียนแล้วปรากฏว่าเทียนของขุนวรวงศาธิราชยาวกว่า ขุนพิเรนทรเทพจึงโกรธว่าห้ามแล้ว ยังขืนทำอีก แล้วคายชานหมากทิ้ง บังเอิญไปถูกเทียนขุนวรวงศาธิราชดับลง ทั้ง 5 คนจึงยินดีอย่างยิ่ง<ref name="พันจัน68">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'', หน้า 68</ref> ขณะนั้นมีพระภิกษุลึกลับเข้ามาในอุโบสถ ให้พรว่าที่ปรารถนานั้นจะสำเร็จแน่ ออกจากอุโบสถก็หายตัวไป<ref name="พันจัน69">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'', หน้า 69</ref>
เส้น 43 ⟶ 42:
* โปรดให้จับช้างเข้ามาใช้ในราชการ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงสามารถจับช้างเผือกได้ถึงเจ็ดเชือก จึงได้รับขนานพระนามว่า '''พระเจ้าช้างเผือก''' อีกพระนามหนึ่ง
 
พ.ศ. 2106 [[สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช]] แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]] มีพระราชประสงค์เป็นไมตรีกับ[[กรุงศรีอยุธยา]] จึงส่งทูตมาขอ[[พระเทพกษัตรี]] พระราชธิดาพระองค์เล็กไปเป็นพระชายา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงรับไมตรีแต่ตอนนั้นพระเทพกษัตรีทรงพระประชวร พระองค์จึงส่งพระแก้วฟ้าพระธิดาที่เกิดจากสนมรัตนมณีเนตรไปถวายแทน
 
เมื่อพระไชยเชษฐาทรงทราบว่าไม่ใช่พระเทพกษัตรีจึงถวายพระแก้วฟ้าคืนใน พ.ศ. 2107 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงส่งพระเทพกษัตรีย์ไปยังล้านช้างแต่[[พระเจ้าบุเรงนอง]]ทรงทราบเข้าจึงส่งทหารไปชิงตัวพระเทพกษัตรีมา
เส้น 60 ⟶ 59:
{{บทความหลัก|สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้}}
 
[[ไฟล์:Queen Suriyothai elephant combat.jpg|thumb|right|360px|[[สมเด็จพระสุริโยทัย]] (กลาง) ไสช้างเข้าขวางช้างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ขวา) ซึ่งกำลังเสียทีช้างพระเจ้าแปร (ซ้าย) ใน[[สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]] (จิตรกรรมประกอบโคลงพระราชพงศาวดาร ฝีพระหัตถ์[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์]])]]
 
ในปี [[พ.ศ. 2091]] หลังจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดเดือน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งนี้เป็นที่กระฉ่อนไปทั่ว จนทราบไปยังพระกรรณ[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้|พระเจ้าหงสาวดีพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] กษัตริย์[[พม่า]]ทรงพระราชดำริว่า ทางกรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อำนาจมายังกรุงศรีอยุธยา จึงได้ยกกองทัพใหญ่มาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ [[กาญจนบุรี|เมืองกาญจนบุรี]] (บางพงศาวดารบอกว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้เสด็จมาทอดพระเนตรกำแพงเมืองอยุธยาก่อนหน้านี้มาครั้งหนึ่งแล้ว เพื่อประเมินกำลังศึก) โดยตั้งค่ายหลวงที่ตำบลกุ่มดอง ทัพ[[พระเจ้าบุเรงนอง|พระมหาอุปราชาบุเรงนอง]]ตั้งที่เพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งวรเชษฐ์
 
ใน[[วันอาทิตย์]] ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 [[พ.ศ. 2092]] สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จออกไปดูลาดเลากำลังศึก ณ [[ทุ่งภูเขาทอง]] พร้อมกับพระสุริโยทัย พระราเมศวร และพระมหินทร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้กระทำ[[ยุทธหัตถี]]กับ'''พระเจ้าแปร''' ช้างพระที่นั่งเสียที สมเด็จพระสุริโยทัยจึงทรงไสช้างเข้าขวางช้างข้าศึก เพื่อป้องกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแปรได้ทีจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยด้วยของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรและพระมหินทร์ ได้ขับช้างเข้ากันพระศพกลับเข้าพระนคร
ในการต่อสู้กับข้าศึกในขั้นต่อไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้นำ'''ปืนใหญ่นารายณ์สังหาร''' ลงเรือสำเภาแล่นไปตามลำน้ำโจมตีข้าศึกที่ตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ อำนาจการยิงของปืนใหญ่ทำให้ฝ่าย[[พม่า]]ล้มตายเป็นอันมาก ประกอบกับเป็นเวลาใกล้ฤดูฝน และเสบียงอาหารร่อยหรอลง อีกทั้งทางฝ่ายพม่าได้ข่าวว่า มีกองทัพไทยจากหัวเมืองเหนือยกมาสนับสนุน เกรงว่าจะถูกตีกระหนาบ จึงปรึกษากับแม่ทัพนายกองจะยกทัพกลับ แม่ทัพทั้งหลายเห็นควรจะยกทัพกลับทางด่านเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) แต่พระเจ้าตเบ็งชเวตี้เห็นว่าทางที่ยกมานั้น ทรงทำลายเสบียงอาหารเสียหมดแล้ว ถ้ายกไปทางนี้จะประสบปัญหาขาดแคลน และจะถูกทหารไทยยกมาซ้ำเติมลำบากอยู่ จึงทรงให้ยกทัพขึ้นไปทางด่านแม่ละเมา (ตาก) เพื่อตีทัพของพระมหาธรรมราชาด้วยไพร่พลนั้นน้อยนัก และจะได้แย่งเสบียงมา เมื่อปะทะกับกองทัพของพระมหาธรรมราชาและพระราเมศวร ไล่ติดตามไปจนเกือบถึง[[กำแพงเพชร|เมืองกำแพงเพชร]] ฝ่ายพม่าได้ทำอุบายซุ่มกำลังไว้ทั้งสองข้างทาง พอกองทัพกรุงศรีอยุธยาถลำเข้าไป จึงได้เข้าล้อมไว้ จับได้ทั้งพระมหาธรรมราชา และพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องทรงขอหย่าศึก และไถ่ตัวคืนโดยแลกกับช้างชนะงาสองเชือกคือ '''พลายศรีมงคล'''กับ'''พลายมงคลทวีป''' จากนั้นกองทัพม่าก็ถอยกลับไปยังหงสาวดี
 
ส่วนการพระศพ[[สมเด็จพระสุริโยทัย]]นั้นเมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีพระราชทานเพลิง ณ [[สวนหลวง]] และให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงเป็นพระอารามเพื่ออุทิศ พระราชกุศลพระราชทาน แด่สมเด็จพระอัครมเหสี ประกอบด้วยพระเจดีย์ พระวิหาร แล้วพระราชทานนามพระอารามอันเป็นพระราชานุสรณ์แห่งสมเด็จพระสุริโยทัยแห่งนี้ว่า '''วัดสบสวรรค์''' ในปัจจุบันชื่อ '''[[วัดสวนหลวงสบสวรรค์]]'''
 
=== สงครามกับเขมร ===