ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
The hacker (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
The hacker (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
คณะรัฐประหารได้แต่งตั้ง[[รัฐบาลชั่วคราว หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐบาลชั่วคราว]] ซึ่งมีพลเอก [[สุรยุทธ์ จุลานนท์]] เป็น[[รายนามนายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] ระหว่างปี 2549-2550 ซึ่งในช่วงดังกล่าว มีกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตนายกฯทักษิณ ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารหลายกลุ่ม กลุ่มที่มีชื่อเสียง คือ [[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] (นปช.) โดยกล่าวหาว่า พลเอก [[เปรม ติณสูลานนท์]] ประธานองคมนตรี อยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร และต้องการขับไล่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐบาล พล.อ. สุรยุทธฯ
 
ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัด[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550|การเลือกตั้งทั่วไป]] [[พรรคพลังประชาชน]] ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางการเมืองกับทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้ง ได้มีความพยายามในการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 กลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดิม ทำให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|กลับมาชุมนุมอีกครั้ง]] ในเดือนพฤษภาคม 2551 เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลมุ่งหวังพยายามตัดตอนไม่ให้คดีทุจริตของรัฐบาลทักษิณฯ เข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองศาล และเพื่อตัดตอนและฟอกการคดีทุจริตเลือกตั้งไม่ให้พรรคการเมืองถูกยุบ และผู้บริหารพรรคไม่ต้องรับผิด ภายหลังได้มีการยกระดับการชุมนุมเป็นการขับไล่รัฐบาล มีการบุกยึดสถานที่สำคัญ และมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่ม[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] ซึ่งเป็น กลุ่มผู้สนับสนุนอดีตนายกทักษิณฯ หลายครั้ง ก่อนยุติการชุมนุมยุติในเดือนธันวาคม 2551 เมื่อ[[ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)|ศาลรัฐธรรมนูญ]]ได้มีคำสั่ง[[คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551|ยุบพรรคพลังประชาชน]]จากการทุจริตการเลือกตั้ง และนายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน
 
ผล[[การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551|การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม 2551]] ปรากฏว่า [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] หัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับทักษิณ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้กลุ่ม[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] กลับมาชุมนุมอีกครั้ง โดยอ้างว่าทีมาของรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ชอบธรรม เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งเมื่อปี 2550 แต่กลับได้จัดตั้งรัฐบาลผสมด้วยการรวมคะแนนเสียงจากพรรคการเมืองที่เล็กกว่าหลายๆพรรค จนได้เสียงข้างมากในสภา จึงและเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังได้ออกมาชุมนุมเพื่อคัดค้านคำตัดสินของศาลที่สั่งจำคุกและยึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี[[ทักษิณ ชินวัตร]] ในคดีทุจริตฯ โดยอ้างว่าทักษิณถูกกระบวนการยุติธรรมกลั่นแกล้งโดย[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข|คณะรัฐประหาร]] และคำตัดสินของศาลไม่มีความเป็นธรรม การชุมนุมครั้งใหญ่เกิดขึ้นสองครั้ง ในปี พ.ศ. [[การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552|2552]] และ [[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553|2553]] มีการปิดถนนหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร มีการเผารถเมล์และยางรถยนต์ มีการบุกรุกสถานที่สำคัญ และปะทะกับเจ้าหน้าที่ทหารหลายครั้งจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสองฝ่ายจำนวนมาก การชุมนุมทั้งสองครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ
 
ภายหลังได้มี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554|การเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554]] ปรากฏว่า[[พรรคเพื่อไทย]]ซึ่งถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่[[ทักษิณ ชินวัตร]]ให้การสนับสนุน ได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา และนางสาว[[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]] น้องสาวของทักษิณ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้มีความพยายามออกกฏหมายนิรโทษกรรมหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลในเรื่องของการสร้างความปรองดอง แต่หลายฝ่ายมองว่าแท้ที่จริงแล้วเป็นความพยายามในการ[[นิรโทษกรรม (กฎหมายอาญา)|นิรโทษกรรม]]ล้างความผิดให้ ทักษิณ ชินวัตร ในคดีทุจริตฯ และเป็นเหตุให้ต้องคืนทรัพย์สินที่ถูดยึดทรัพย์พร้อมดอกเบี้ยคืนให้กับทักษิณ การออกกฏหมายนิรโทษกรรมนั้นไม่ประสบความสำเร็จ และเป็นที่มาของการชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เกิดเป็น[[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557|วิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยในปี พ.ศ. 2556-2557]] ในเวลาต่อมา