ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลาสมา (สถานะของสสาร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ทาเคชิ (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มอ้างอิง
ลบเนื้อหาบางส่วน
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ=สถานะหนึ่งของสสาร |สำหรับ= |ดูที่=พลาสมา }}อ้างอิง : https://www.dek-d.com/board/view/549141/[[ไฟล์:Plasma-lamp 2.jpg|thumb|250px|right|หลอดไฟพลาสมา แสดงปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนบางประการ รวมทั้งปรากฏการณ์ "ฟิลาเมนเตชั่น" (filamentation)]]
'''พลาสมา''' ในทาง[[ฟิสิกส์]]และ[[เคมี]] คือ [[แก๊ส]]ที่มีสภาพเป็น[[ไอออน|ไอออน]] และมักจะถือเป็นสถานะหนึ่งของ[[สสาร]] การมีสภาพเป็นไอออนดังกล่าวนี้ หมายความว่า จะมี[[อิเล็กตรอน]]อย่างน้อย 1 ตัว ถูกดึงออกจาก[[โมเลกุล]] [[ประจุไฟฟ้า]]อิสระทำให้พลาสมามีสภาพการนำไฟฟ้าเกิดขึ้น
 
สถานะที่ 4 ของสสารนี้ มีการเอ่ยถึงครั้งแรก โดยเซอร์ วิลเลียม ครูกส์ (Sir William Crookes) เมื่อ [[ค.ศ. 1879]] และในปี [[ค.ศ. 1928]] นั้น เออร์วิง แลงเมียร์ (Irving Langmuir) คิดคำว่าพลาสมา (plasma) ขึ้นมาแทนสถานะของสสารนี้เนื่องจากเขานึกถึง[[พลาสมา (เลือด)|พลาสมา]]ของ[[เลือด]]
 
พลาสมาจัดได้ว่าเป็นสถานะที่ 4 ของสสาร เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสถานะอื่นอย่างชัดเจน พลาสมาประกอบด้วยอนุภาคที่มี[[ประจุ]]ทั้งประจุบวกและลบ ในสัดส่วนที่ทำให้ประจุสุทธิเป็นศูนย์ การอยู่รวมกันของอนุภาคเหล่านี้เป็นแบบประหนึ่งเป็นกลาง (quasineutral) ซึ่งหมายความว่า[[อิเล็กตรอน]]และ[[ไอออน]]ในบริเวณนั้น โดยรวมแล้วมี[[จำนวน]]เท่า ๆ กัน และแสดงพฤติกรรมร่วม (collective behavior)
 
พฤติกรรมร่วมนี้หมายถึง การเคลื่อนที่ของอนุภาคในพลาสมา ไม่เพียงแต่จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในบริเวณนั้นๆ เท่านั้น แต่เป็นผลโดยรวมจากพลาสมาส่วนใหญ่ มากกว่าจะเป็นผลมาจากการชนกันของอนุภาคที่อยู่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากอนุภาคในพลาสมาที่สถานะสมดุล จะมีการสั่นด้วย[[ความถี่]]ที่สูงกว่าความถี่ในการชนกันของอนุภาค 2 ตัวที่อยู่ใกล้กัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมร่วมนี้เป็นพฤติกรรมที่กลุ่มพลาสมาแสดงออกมาร่วมกัน
 
พลาสมาสามารถเกิดได้โดย การให้สนามไฟฟ้าปริมาณมากแก่ก๊าซที่เป็นกลาง เมื่อพลังงานส่งผ่านไปยัง[[อิเล็กตรอน]]อิสระมากพอ จะทำให้อิเล็กตรอนอิสระชนกับ[[อะตอม]] และทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม กระบวนการนี้เรียกว่า[[กระบวนการแตกตัวเป็นไอออน]] (ionization) ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนอิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากซึ่งจะทำให้ก๊าซแตกตัวและกลายเป็นพลาสมาในที่สุด พลาสมามีความแตกต่างจากสถานะ[[ของแข็ง]] สถานะ[[ของเหลว]] และสถานะ[[ก๊าซ]] โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ ในเรื่องดังต่อไปนี้คือ ความยาวคลื่นเดอบาย จำนวนอนุภาค และความถี่พลาสมา ซึ่งทำให้พลาสมามีความจำเพาะเจาะจงที่แตกต่างจากสถานะอื่นออกไป