ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มชื่อวัน
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
}}
 
'''รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501''' เกิดขึ้นหลังจอมพล [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|รัฐประหารในปี พ.ศ. 2500]] ล้มรัฐบาลจอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม|ป. พิบูลสงคราม]] แล้วได้มอบหมายให้[[พจน์ สารสิน]] เอกอัครราชทูตไทยประจำ [[สหรัฐอเมริกา]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือกตั้ง มี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500|การเลือกตั้ง]]ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ต่อมา วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 พลโท [[ถนอม กิตติขจร]] จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
 
{{cn-span|ทว่า การเมืองในรัฐสภาไม่สงบ เนื่องจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเรียกร้องเอาผลประโยชน์และมีการขู่ว่าหากไม่ได้ตามที่ร้องขอจะถอนตัวจากการสนับสนุนรัฐบาล เป็นต้น}} พลโท ถนอม กิตติขจรก็ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ ประกอบกับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ก็ได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อรักษาโรคประจำตัว เมื่อเดินทางกลับมา ในเช้าวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พลเอก<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/A/047/5.PDF</ref> ถนอม กิตติขจรจึงประกาศเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกราบบังคมทูลลาออกในเวลาเที่ยงของวันเดียวกัน แต่ยังไม่ได้ประกาศให้แก่ประชาชนทราบโดยทั่วกันกระทั่งเวลา 20.45 น. จึงได้มีการประกาศเรื่องพลเอกถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากนั้นในเวลา 21.00 น.<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/A/081/3.PDF ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑ (ยึดอำนาจการปกครอง)]</ref> จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมี[[ลัทธิคอมมิวนิสต์]]กำลังคุกคาม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/A/081/5.PDF ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (แถลงเหตุผลที่ทำการปฏิวัติและแนวทางที่จะดำเนินการปกครอง)]</ref> โดยมีคำสั่งคณะปฏิวัติให้ยกเลิก[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495]] ที่ใช้อยู่ขณะนั้น ยุบสภา ยกเลิกสถาบันทางการเมือง ได้แก่ พรรคการเมือง เป็นต้น<ref>[http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=326&contentID=98053 20 ตุลาคม คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย] โดย [[นรนิติ เศรษฐบุตร]] จากหนังสือพิมพ์[[เดลินิวส์]]ฉบับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553</ref>
 
จากนั้นตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 จนถึงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 คณะปฏิวัติได้มีประกาศคณะปฏิวัติออกมาทั้งหมด 57 ฉบับ มี[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]มาจากการแต่งตั้งไม่ใช่เลือกตั้ง มีการประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502]] ซึ่งมีเพียงสั้น ๆ 20 มาตราเท่านั้น ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ก็มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเพียง 14 คนเท่านั้น โดยไม่มี[[รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง]]