ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ''' ({{lang-en|Galilean moons}}) คือ[[ดาวบริวาร|ดวงจันทร์บริวาร]]ทั้ง 4 ดวงของ[[ดาวพฤหัสบดี]]ซึ่งถูกค้นพบโดย[[กาลิเลโอ กาลิเลอี]]ช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2153 ดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวงเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา[[ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี]]ชื่อของดวงจันทร์ทั้ง 4 ได้รับการตั้งชื่อคนรักของ[[ซูส]]ได้แก่ ''[[Io (mythology)|ไอโอ]]'' ''[[ยูโรปา|ยูโรปา]]'' ''[[แกนีมีด (เทพปกรณัม)|แกนิมิด]]''และ [[Callisto (mythology)|''คาลลิสโต'']] ดวงจันทร์ทั้ง 4 เป็น[[List of moons by diameter|วัตถุที่มีมวลมากที่สุด]]ใน[[ระบบสุริยะ]]นอกเหนือจาก[[ดวงอาทิตย์]]และดาวเคราะห์ทั้งแปดดวง มันมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่กว่า[[ดาวเคราะห์แคระ]]ใดๆ ดวงจันทร์สามดวงด้านใน ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมิด มี[[การสั่นพ้องของวงโคจร]]ที่ 1:2:4
 
ดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวงถูกค้นพบในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2152-2153 เมื่อกาลิเลโอได้ปรับปรุง[[กล้องโทรทรรศน์]]ซึ่งทำให้เขาสามารถสังเกตเห็นเทหฟากฟ้าได้ชัดเจนขึ้นกว่าที่ผ่านมา<ref name=Galileo89/> การค้นพบของกาลิเลโอแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกล้องโทรทรรศน์ในฐานะของเครื่องมือสำหรับนักดาราศาสตร์ในการช่วยให้สามารถเห็นวัตถุในอวกาศที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นการค้นพบที่ไม่อาจโต้แย้งถึงการโคจรของดวงดาวหรือเทหฟากฟ้ารอบสิ่งอื่นๆนอกจากโลกนี้ได้สั่นคลอนอย่างรุนแรงต่อระบบโลกของปโตเลมี ([[ระบบโลกเป็นศูนย์กลาง|Ptolemaic world system]]) ที่ได้รับการยอมรับในขณะนั้น ระบบโลกของปโตเลมีเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดาวดาวและวัตถุต่างๆโคจรรอบโลก
 
ในตอนแรกกาลิเลโอได้ตั้งชื่อสิ่งที่ค้นพบครั้งนี้ว่า'''ดวงดาวของคอสิโม''' (Cosmica Sidera) ("[[Cosimo II de' Medici, Grand Duke of Tuscany|Cosimo]]'s stars") สำหรับชื่อของดวงจันทร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับการตั้งชื่อโดย[[Simon Marius]]ซึ่งเป็นผู้ค้นพบดวงจันทร์ทั้งสี่นี้ในช่วงเวลาเดียวกันกับกาลิเลโอ ชื่อดวงจันทร์นี้ได้รับการแนะนำจาก[[โยฮันเนส เคปเลอร์]]ซึ่งตีพิมพ์ใน ''Mundus Jovialis'' ใน พ.ศ. 2157