ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Teng18009912 (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิ้งค์เชื่อมโยง
Teng18009912 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
| series =
| subject =
| genre = [[ดิสโทเปีย]] [[บันเทิงคดีการเมือง]] [[บันเทิงคดีสังคมศาสตร์]]
| publisher = Secker and Warburg (ลอนดอน)
| pub_date = 8 มิถุนายน ค.ศ. 1949
บรรทัด 30:
'''''หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่''''' ({{lang-en|''Nineteen Eighty-Four''}}) บ้างใช้ว่า '''''1984''''' เป็นนวนิยาย[[ดิสโทเปีย]]โดย [[จอร์จ ออร์เวลล์]] นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1949 นวนิยายดังกล่าวมีฉากท้องเรื่องในแอร์สตริปวัน (Airstrip One) เดิมชื่อ บริเตนใหญ่ อันเป็นจังหวัดหนึ่งของมหารัฐ[[โอเชียเนีย]] (Oceania) ในโลกซึ่งมีสงครามตลอดกาล (perpetual war) การสอดส่องดูแลของรัฐบาลทุกหนแห่ง และการชักใยสาธารณะทางการเมือง ชี้นำโดยระบบการเมืองที่เกลื่อนคำว่า สังคมนิยมอังกฤษ (อิงก์ซ็อก ในภาษา[[นิวสปีก]]อันเป็นภาษาประดิษฐ์ของรัฐบาล; Ingsoc) ภายใต้การควบคุมของอภิชนพรรคใน (Inner Party) ที่มีอภิสิทธิ์ซึ่งก่อกวนปัจเจกนิยมและการคิดอย่างอิสระทั้งหมดโดยว่าเป็น "อาชญากรรมความคิด" (thoughtcrime)<ref>The Columbia Encyclopedia, Fifth Edition, Columbia University Press: 1993, p. 2030.</ref> พี่เบิ้ม (Big Brother) เป็นตัวอย่างของระบอบทรราชย์ ผู้นำพรรคกึ่งเทพซึ่งได้ประโยชน์จาก[[ลัทธิบูชาบุคคล]]ที่เข้มข้น แต่อาจไม่มีอยู่จริงด้วยซ้ำ พี่เบิ้มและพรรคอ้างเหตุผลการปกครองอย่างกดขี่ของพวกตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมที่สมมติขึ้น<ref name=BenetReader>Benet's Reader's Encyclopedia, Fourth Edition (1996). HarperCollins:New York. p. 734.</ref> ตัวเอกของเรื่อง วินสตัน สมิธ เป็นสมาชิกของพรรคนอก (Outer Party) ที่ทำงานในกระทรวงความจริง (มินิทรู; Minitrue) ซึ่งรับผิดชอบต่อ[[โฆษณาชวนเชื่อ]]และลัทธิแก้ประวัติศาสตร์ (historical revisionism) งานของเขาคือ การเขียนบทความหนังสือพิมพ์เก่าใหม่เพื่อให้บันทึกประวัติศาสตร์สนับสนุนแนวทางปัจจุบันของพรรค<ref name="English Literature 2000. p. 726">The Oxford Companion to English Literature, Sixth Edition. University of Oxford Press: 2000. p. 726.</ref> สมิธเป็นคนงานที่ขยันและมีทักษะ แต่เขาเกลียดพรรคอย่างลับ ๆ และฝันกบฏต่อพี่เบิ้ม
 
''หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่'' เป็นบันเทิงคดีการเมืองและบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ดิสโทเปีย เป็นบันเทิงคดีคลาสสิกในแง่เนื้อหา โครงเรื่องและลีลา หลายคำและมโนทัศน์ในเรื่อง เช่น พี่เบิ้ม, ย้อนแย้ง (doublethink), อาชญากรรมความคิด (thoughtcrime), [[นิวสปีก]], ห้อง 101, เทเลสกรีน, 2 + 2 = 5 และหลุมความทรงจำ (memory hole) มีใช้ประจำวันนับแต่การตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1949 ยิ่งไปกว่านั้น ''หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่'' ทำให้คุณศัพท์ เกี่ยวกับงานของออร์เวลล์ (Orwellian) ได้รับความนิยม ซึ่งอธิบายการหลอกลวงอย่างเป็นทางการ การสอดส่องดูแลลับ และการชักใยอดีตทางการเมืองโดยรัฐ[[เผด็จการเบ็ดเสร็จ]]หรือ[[อำนาจนิยม]]<ref name="English Literature 2000. p. 726"/> ใน ค.ศ. 2005 นิตยสาร''[[ไทม์]]'' เลือกให้นวนิยายเรื่องนี้เป็นหนึ่งใน 100 นวนิยายภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดตั้งแต่ ค.ศ. 1923 ถึง 2005<ref name="time">[[Lev Grossman:en:Lev_Grossman|Grossman, Lev]]; Lacayo, Richard (6 October 2005). [http://entertainment.time.com/2005/10/16/all-time-100-novels/slide/1984-1948-by-george-orwell/#1984-1948-by-george-orwell "ALL-TIME 100 Novels. 1984 (1949), by George Orwell"]. ''[[Time (magazine)|Time]]''. ISSN 0040-781X. Retrieved 19 October 2012</ref> อยู่ทั้งในรายการนวนิยายดีที่สุด 100 เรื่องหอสมุดสมัยใหม่ แตะอันดับที่ 13 ในรายการของบรรณาธิการ และอันดับที่ 6 ในรายการของผู้อ่าน<ref>[http://www.modernlibrary.com/top-100/100-best-novels/ "100 Best Novels"]. Modern Library. Retrieved 19 October 2012</ref> ใน ค.ศ. 2003 นวนิยายเรื่องนี้อยู่ในอันดับที่ 8 ของการสำรวจ''เดอะบิ๊กรีด'' ของ[[บีบีซี]]<ref>[http://www.bbc.co.uk/arts/bigread/top100.shtml "BBC – The Big Read"]. BBC. April 2003, Retrieved 19 October 2012</ref>
 
ก่อนการตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือจะใช้ชื่อว่า ''The Last Man in Europe'' แต่ผู้เขียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น "1984" เพื่อให้ฟังดูน่าสงสัย และน่าติดตาม<ref>Crick, Bernard. "Introduction" to ''Nineteen Eighty-Four'' (Oxford: Clarendon Press, 1984)</ref>
บรรทัด 39:
 
=== วรรณกรรม ===
หนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง ภาคภาษาอังกฤษถูกใช้ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ[[ภาษาศาสตร์สังคม]] (sociolinguistics) โดยเฉพาะเรื่องภาษากับความคิด (language and thought)
 
=== ภาพยนตร์ ===