ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 126:
แม้จะทรงขึ้นครองราชสมบัติแล้วพระเจ้าย็องโจยังต้องทรงเผชิญกับปัญหาการต่อต้านจากฝ่ายโซนน ขุนนางฝ่ายโซนนกล่าวหาว่าฝ่ายโนนนได้กระทำการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าคย็องจงเพื่อนำพระเจ้าย็องโจขึ้นครองราชย์ พระเจ้าย็องโจจึงทรงประกาศแผนการเพื่อความสมานฉันท์ (탕평책, 蕩平策)<ref>Michael J. Seth. ''A concise history of Korea: from the neolithic period through the nineteenth century''.</ref> ในปีค.ศ. 1728 เป็นการประกาศยุติการแบ่งฝ่ายของขุนนางและลงโทษขุนนางที่แสดงออกเป็นฝักฝ่าย แต่กลายเป็นว่าขุนนางฝ่ายโซนนกลายเป็นเป้าโจมตีถึงการแบ่งพรรคแบ่งพวก ทำให้ขุนนางฝ่ายโซนนต้องโทษและถูกเนรเทศออกราชสำนักจนหมด ฝ่ายโนนนจึงขึ้นมามีอำนาจ จนทำให้ขุนนางฝ่ายโซนนที่ถูกเนรเทศ นำโดย อีอินจวา (이인좌, 李麟佐) ก่อการกบฏในปีค.ศ. 1729 เพื่อยึดบัลลังก์ให้กับองค์ชายมิลพง (밀풍군, 密豊君 โหลนของ องค์ชายรัชทายาทโซฮย็อน) แต่ฝ่ายพระเจ้าย็องโจก็สามารถปราบปรามกบฏลงได้ ทำให้ฝ่ายโซนนถูกกวาดล้างไปหมดสิ้น
 
ในสมัยพระเจ้าย็องโจ การค้าของโชซ็อนพัฒนาขึ้นมามาก<ref>http://www.koreaaward.com/kor/history/151</ref> ผู้คนในทุกระดับชั้นตั้งแต่ชาวบ้านถึงขุนนางพากับประกอบธุรกิจการค้า ชนชั้นพ่อต้าพ่อค้าเรืองอำนาจและได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักในการผูกขาดสินค้าแต่ละชนิดให้เป็นของตน เป็นการละทิ้งแนวความคิดแบบ[[ขงจื้อ]]เดิม ที่ประมาณอาชีพค้าขายว่าเป็นอาชีพที่ต้อยต่ำ แต่ถ้าจะเทียบกับเพื่อนบ้านอย่าง[[ราชวงศ์ชิง]]หรือ[[ญี่ปุ่น]]แล้ว กิจกรรมการค้าในเกาหลีนั้นยังไม่พัฒนาไปถึงขั้นนั้น เพียงแต่จากเดิมที่กิจกรรมการค้าจะมีนานๆทีก็กลายเป็นมีทุกวัน โดยเฉพาะใน[[ฮันยาง]]
 
องค์ชายรัชทายาทสิ้นพระชนม์เมื่อค.ศ. 1728 ได้รับพระนาม องค์ชายรัชทายาทฮโยจัง (효장세자, 孝章世子) พระเจ้าย็องโจจึงทรงขาดรัชทายาท จนกระทั่งพระสนมย็องบิน ตระกูลอี (영빈 이씨, 暎嬪 李氏) ประสูติพระโอรสในค.ศ. 1735 ในขณะที่พระมเหสีไม่มีพระโอรส พระเจ้าย็องโจจึงทรงตั้งขึ้นเป็น ภายหลังได้รับพระนาม องค์ชายรัชทายาทซาโด (사도세자, 思悼世子)