ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาชญากรรมสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 11:
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้แถลงการณ์ว่า “...การประกาศสงครามกับประเทศอเมริกาของประเทศไทยเป็นการกระทำที่ผิดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นปฏิปักษ์ต่อเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และประเทศไทยมีความตั้งใจมั่นที่จะฟื้นความสัมพันธ์ทางไมตรีกับสหประชาชาติเหมือนดังที่มีก่อนถูกญี่ปุ่นเข้าครอบครอง มีคำมั่นสัญญาว่ากฎหมายใดที่ได้ออกมาเป็นปฏิปักษ์ต่อส่วนได้เสียของเราจะได้มีการพิจารณายกเลิก มีคำรับรองว่าถ้ากฎหมายเช่นว่านี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายและประกาศปฏิญญาว่าประเทศไทยจะได้ให้ความร่วมมือทุกอย่างแก่สหประชาชาติในการสร้างเสถียรภาพโลก...”
 
ปลายเดือนสิงหาคม 2488 [[นายปรีดี พนมยงค์]] ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น ได้โทรเลขไปถึง [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] ขอให้กลับประเทศไทยมาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งมีการตราพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488<ref>[https://www.dailynews.co.th/article/201241 อาชญากรสงคราม..]</ref> หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้งศาลอาชญากรสงครามขึ้นเพื่อพิจารณาความผิดของฝ่ายอักษะได้ทำไป ที่เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี และกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ทหารนาซีของประเทศเยอรมนีถูกแขวนคอ จำนวน 12 คน และทหารญี่ปุ่นถูกแขวนคอ จำนวน 7 คน รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีโตโจ ในส่วนของประเทศไทยนั้น สถานีวิทยุกระจายเสียงที่กรุงเดลลี ประเทศอินเดีย และที่ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกข่าวว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรจะนำเอาอาชญากรสงครามในประเทศไทยไปขึ้นศาลต่างประเทศโดยมีอาชญากรสงคราม จำนวน 4 คน คือ [[แปลก พิบูลสงคราม]] [[หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)]] [[ประยูร ภมรมนตรี]] และ[[สังข์ พัธโนทัย]] โดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้สั่งให้[[พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)]]ร่างพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามขึ้นและเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาและประกาศใช้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า อาชญากรสงครามเป็นภัยอันร้ายแรงต่อความสงบของโลก สมควรที่จะจัดให้บุคคลที่ประกอบได้สนองกรรมชั่วที่ตนได้กระทำตามโทษานุโทษ <Ref>สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีพิเศษ 27 กันยายน 2488.</ref>
 
 
== อ้างอิง ==