ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรน่านเจ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการแก้ไขที่ 7554644 สร้างโดย 183.88.20.161
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 4:
[[ไฟล์:East-Hem 1200ad.jpg|thumb|300px|อาณาจักรต่างๆสมัยก่อนมองโกล น่านเจ้าอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน]]
 
'''อาณาจักรน่านเจ้า''' หรือ'''เจ้าทางใต้''' ({{lang-zh|南詔}}) หรือจีนเรียกว่า '''สานสานโกวะ ''' ตั้งขึ้นประมาณ [[พ.ศ. 1192]] โดย[[พระเจ้าสีนุโล]] แห่ง[[เหม่งแซ]] ต่อมา[[ขุนบรมราชาธิราช|พระเจ้าพีล่อโก๊ะ]]ได้รวบรวมเมืองต่างๆ ที่แยกกันตั้งอยู่เป็นอิสระ 6 แคว้นคือ [[เหม่งแซ|เมืองแส]] (Mengshe; 蒙舍) เมืองสุย[[ม่งซุย]] (Mengsui; 蒙嶲) หลังฉยง[[ลางเซียง]] (Langqiong; 浪穹) เติงถัน[[เต็งตัน]] (Dengtan; 邆賧) ซือหลัง[[ซีล่าง]] (Shilang; 施浪) และ ยู่ซี (Yuexi;越析) เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเหม่งแซได้สำเร็จ ตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ขึ้น เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า ในยุคแรกๆนั้น น่านเจ้าก็มีสัมพันธ์กับรัฐรอบๆ ทั้งราชวงศ์ฝ่ายใต้ของจีน และแคว้นเล็กๆใน[[แคว้นสุวรรณภูมิ|สุวรรณภูมิ]]
 
ในรัชกาลของ[[จักรพรรดิถังเสวียนจง]] [พ.ศ. 1255-1299] ราชสำนักถังพยายามขยายอำนาจลงใต้ และมีการส่งกองทัพมาพิชิตอาณาจักรน่านเจ้า 2 ครั้งใหญ่ๆ แต่กองทัพถังก็พ่ายแพ้ยับเยินกลับไป
บรรทัด 16:
 
==บรรพบุรุษคนไทย==
นักวิชาการทาง[[ประวัติศาสตร์]] [[ภาษาศาสตร์]] และ[[มานุษยวิทยา]]ในอดีต เคยมี[[ทฤษฎี|แนวความคิด]]ว่า คนในอาณาจักรน่านเจ้านั้นน่าจะเป็น[[คนไทย]]หรือบรรพบุรุษของคนไทยในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากอ้างอิงมาจากหลักฐานทาง[[โบราณคดี]]ของจีน อาทิ [[วิลเลียม เจ.เกดนีย์]] นักวิชาการ[[ชาวอเมริกัน]], ดร.[[บรรจบ พันธุเมธา]] และ ศ.ดร.[[ประเสริฐ ณ นคร]] นักวิชาการชาวไทย ได้ข้อสรุปว่าเป็นถิ่นที่[[คนไท]]อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาได้มีการผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์อื่น และอพยพลงมาสู่[[ดินแดนสุวรรณภูมิ]]อย่างในปัจจุบัน ซึ่งแนวความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ม.ร.ว.[[คึกฤทธิ์ ปราโมช]] เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]เมื่อคราวไปเยือน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ในปี [[พ.ศ. 2518]]<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=433487] [[สุทธิชัย หยุ่น]]<span>, </span>[[สารคดี]]<span>ชุด แม่น้ำโขง สายน้ำพยศ ตอนที่ 4 โดย </span>[[เนชั่น แชนแนล]]<span>: </span>[[วันจันทร์]]<span>ที่ </span>[[27 เมษายน]]<span> </span>[[พ.ศ. 2552]]<span> ทาง</span>[[ช่อง 9]]]</ref>
 
แต่ก็มีข้อแย้งเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน อาทิ ศ.[[เฟดเดอริก โมต]] หรือ [[ชาร์ลส์ แบกคัส]] รวมทั้งนักวิชาการชาวไทย ดร.[[วินัย พงษ์ศรีเพียร]] มีความเห็นว่าไม่น่าจะใช่เป็นคนไทย โดยอ้างว่าภาษาที่ใช้ในอาณาจักรน่านเจ้าที่ปรากฏในหนังสือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นใน[[พุทธศตวรรษที่ 15]] มีลักษณะคล้ายภาษาใน[[ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า|ตระกูลทิเบต-พม่า]] มากกว่า และมีส่วนที่คล้าย[[ภาษาไทย]]ซึ่งจัดอยู่ใน[[ตระกูลภาษาไทกะได]]น้อยมาก และวัฒนธรรมการเอาพยางค์สุดท้ายของพ่อมาตั้งเป็นชื่อพยางค์แรกของลูก เช่น พีล่อโก๊ะ เป็น โก๊ะล่อฝง ก็เป็นวัฒนธรรมร่วมกับวัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ด้วยเช่นกัน