ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำผิด
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46:
พระบรมรูปสองรัชกาลตั้งอยู่บนฐานที่สูงจากพื้นสนามหญ้ารวมสี่ชั้น มีน้ำพุและสวนอยู่ด้านข้างทั้งสองด้าน ฐานของพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งอยู่ด้านหน้าวงเวียนเสา[[ธงชาติไทย|ธงชาติ]] และตรงพอดีกับมุขด้านหน้าของ[[หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ประกอบกับพื้นที่มหาวิทยาลัยส่วนนี้เป็นพื้นที่เปิดโล่งหน้ากว้าง สังเกตได้ตั้งแต่[[ถนนพญาไท]] บริเวณนี้จึงทำหน้าที่เส้นนำสายตาที่ชัดเจน รวมถึงยังมีจุดสนใจอยู่ใจกลางพื้นที่ด้วย อาจารย์กี ขนิษฐานันท์เป็นผู้ออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม ท่านเคยกล่าวถึงการออกแบบภูมิทัศน์ของพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าเอาไว้ว่า <ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ: คณะกรรมการจัดทำหนังสือ 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref>
[[ไฟล์:TWwithflag.JPG|left|thumb|พระบรมราชานุสาวรีย์และเสาธงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
{{คำพูด|...การสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาลทำให้พื้นที่โล่งตรงกลางมีจุดสนใจ (FocusFocal Point) ส่วนคณะอักษรศาสตร์เก่าสองหลังปัจจุบันนี้เรียกว่าเทวาลัย ทางส่วนกลางก็กำลังจะปรับ แล้วเอามาใช้ประโยชน์ส่วนกลาง...|กี ขนิษฐานันท์}}
นอกจากจะเป็นจุดสนใจทางภูมิสถาปัตยกรรม (Focal Point) บริเวณโดยรอบลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชยังเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ เป็นแกนสีเขียว (Green Axis) บนที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามผังแม่บทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 100 ปี เป็นพื้นที่ซับน้ำที่มีพืชปกคลุมดินเป็นบริเวณกว้างจึงลดการสะท้อนความร้อนจากแสงแดด และเป็นที่เปิดโล่งไม่กี่แห่งในย่านธุรกิจของ[[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]]<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558). โครงการผังแม่บทภูมิสถาปัตยกรรม. Retrieved เมษายน 9, 2559, from เว็บไซต์ โครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.green.chula.ac.th/campus01.html</ref>