ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเมรุมาศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GifTY (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
== ความหมายและคติความเชื่อ ==
[[ไฟล์:เขาพระสุเมรุและสัตตบริภัณฑ์.jpg|thumb|เขาพระสุเมรุและสัตตบริภัณฑ์ เป็นภาพเขียนจากสมุดภาพไตรภูมิฉบับหลวง]]
[[เมรุ]] ตามความหมายใน [[พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน]] หมายถึง "ภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์" ซึ่งมีอีกความหมายคือ "เป็นที่เผาศพมีหลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ สำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระเมรุมาศ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์เรียกว่า พระเมรุ และสำหรับสามัญชนเรียกว่า เมรุ" [[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] ทรงวินิจฉัยใน[[สาส์นสมเด็จ]] 3 มี.ค. 2476 ไว้ว่า "เมรุ เห็นจะได้ชื่อ (จากการ) ปลูกปราสาทอันสูงใหญ่ท่ามกลางปลูกปราสาทน้อยขึ้นตามมุมทุกทิศ มีโขลนทวาร (โคปุระ) ชักระเบียงเชื่อมถึงกัน ปัก ราชวัติล้อมเป็นชั้นๆ มีลักษณะดุจ[[เขาพระสุเมรุ]] ตั้งอยู่ท่ามกลางมีสัตบริภัณฑ์ล้อม จึงเรียกว่า พระเมรุ ทีหลังทำย่อลง ไม่มีอะไรล้อม เหลือแต่ยอดแหลมๆ ก็คงเรียกว่า เมรุ"
 
จากหนังสือ "พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุสมัยรัตนโกสินทร์" ของ ศ.น.อ.[[สมภพ ภิรมย์]] อธิบายไว้ว่า ในความเชื่อแบบ[[พราหมณ์]] พระมหากษัตริย์ทรงเป็น[[สมมติเทพ]] ซึ่งสถิตบนเขาพระสุเมรุ อันล้อมรอบด้วย[[เขาสัตบริภัณฑ์]] และเมื่อจุติลงมายังมนุษยโลกเป็นสมมติเทพ เมื่อสวรรคตจึงตั้งพระบรมศพบนพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ เพื่อเป็นการส่งพระศพ พระวิญญาณกลับสู่เขาสุเมรุดังเดิม<ref name="สมาน">สมาน สุดโต, [http://www.posttoday.com/galyani/pramerumas.html พระเมรุมาศ พระเมรุ และ เมรุ งานสถาปัตยกรรมไทยชั้นสูง] posttoday.com</ref> นาวาอากาศเอก[[อาวุธ เงินชูกลิ่น]] อธิบายความเชื่อเรื่อง[[เขาพระสุเมรุ]]ในวารสารอาสาไว้ว่า "เขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตย์ของเทพยดาทั้งหลาย เมื่อเรามีคติความเชื่อว่า คนที่ตายแล้วจะกลับไปสู่[[สวรรค์]] ... ความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุมีพูดถึงใน[[ไตรภูมิ]] เป็นเรื่องของภูมิจักรวาลซึ่งเป็นความเชื่อใน[[พุทธศาสนา]]มีลักษณะเป็นที่อยู่ของ[[เทวดา]] ตีนเขาเป็น[[ป่าหิมพานต์]]"<ref>"พระเมรุมาศ," ''วารสารอาษา'' ฉบับเดือนธันวาคม 2550-มกราคม 2551 หน้า 74-81</ref> ทั้งนี้จากความคิดเรื่องนี้จึงได้จำลองพระเมรุมาศ พระเมรุ เป็นเสมือนเขาพระสุเมรุและสัตบริภัณฑ์เพื่อส่งเสด็จสู่ทิพยพิมาน โดยสถานที่ประกอบพิธีเดิมนั้นมักเรียกกันว่า ทุ่งพระเมรุ ซึ่งปัจจุบันคือ [[ท้องสนามหลวง]]<ref>เนติ โชติช่วงนิธิ, [http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=70&nid=26697 อัญเชิญพระโกศ ออกพระเมรุ] สยามรัฐ</ref>