ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขนมหม้อแกง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matiia (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 1.20.88.181 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย BotKung
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 4:
 
== ประวัติ ==
ในรัชสมัยของสมเด็จ[[พระนารายณ์มหาราช]] นับว่าเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของราช[[อาณาจักรอยุธยา]] เพราะเป็นยุคที่ไม่มีศึก สงคราม อีกทั้งยังมีคณะ[[ทูต]] และ[[บาทหลวง]]จากประเทศต่างๆ เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรอยุธยาเป็นจำนวนมาก ในเวลานี้เองมีขุนนางผู้หนึ่งชื่อ[[คอนสแตนติน ฟอลคอน]] ผู้ซึ่งเป็นคนฉลาด หลักแหลม และมีไหวพริวในด้านการค้ามากกว่าพ่อค้าใดๆทั้งหมด จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[เจ้าพระยาวิชาเยนทร์]] ดำรงตำแหน่ง [[พยุหเสนา]] และเป็นตัวกลางทางด้านการค้าของอาณาจักรอยุธยาและประเทศ[[ฝรั่งเศส]] ต่อมาได้แต่งงานกับนาง[[มารี กีมาร์]] หรือ [[ท้าวทองกีบม้า]] หลังจากที่[[พระเพทราชา]]ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีอาการประชวนหนัก พระเพทราชาจึงได้สั่งประหารชีวิตพระยาวิชาเยนทร์ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ทำให้ท้าวทองกีบม้าถูกนำตัวไปจำคุกเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี จึงถูกปล่อยตัว แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องทำขนมหวานมาส่งในวังตามอัตราที่กำหนดไว้ ด้วยเหตุที่ว่าท้าวทองกีบม้ามีชื่อเสียงในด้านการทำอาหารคาวหวาน เหตุการณ์ในครั้งนี้นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนโฉมหน้าของ[[ขนมไทย]]ครั้งสำคัญ เพราะท้าวทองกีบม้าได้เริ่มทำขนมที่ใช้ไข่มาเป็นส่วนประกอบหลัก อาทิ [[ทองหยิบ]] [[ทองหยอด]] [[ฝอยทอง]] [[ขนมผิง]] [[ขนมพล]] [[ขนมโปร่ง]] [[ขนมทองม้วน]] [[ขนมสัมปันนี]] และ'''ขนมหม้อแกง''' ด้วยรสชาติของไข่และน้ำตาลซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงได้รับความนิยมชมชอบจากชนชั้นสูงในวัง และได้รับการขนานนามว่า '''ขนมกุมภมาส'''
wtf
 
ต่อมาเมื่อลูกมือในบ้านของท้าวทองกีบม้าได้แต่งงาน ก็ได้นำสูตรและวิธีการทำขนมหม้อแกงออกมาถ่ายทอด ทำให้ชาวบ้าน คนธรรมดา ได้มีโอกาสรู้จักกับขนมหม้อแกง
gijvijjvjngn
 
เมื่อปีพ.ศ. 2529 [[จังหวัดเพชรบุรี]] ได้มีการบูรณะ[[พระนครคีรี]]ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นทำขนมหม้อแกงที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นออกมาจำหน่าย ทำให้ขนมหม้อแกงเป็นขนมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี
n nnn,g , ,gn,g ,bn ,nmglnmgv
 
== ขนมหม้อแกงสมัยก่อน ==
ขนมหม้อแกงสมัยก่อนจะทำกินกันเฉพาะในงานสำคัญ เช่น [[งานบวช]] หรือ[[งานแต่งงาน]] ซึ่งขนมหม้อแกงนั้นจะถูกอบในเตาถ่านที่ใช้แผ่น[[สังกะสี]]มาคลุมบนถาดขนม แล้วใช้ถ่านหรือกาบมะพร้าวจุดไฟ แล้วเกลี่ยให้ทั่วสังกะสี ขนมหม้อแกงจะได้รับความร้อนทั้งด้านบน และด้านล่าง ทำให้หน้าของขนมหม้อแกงมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลทอง
 
== อ้างอิง ==