ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศภูฏาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kimjiho2015 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 89:
| colspan="4" |'''• อิทธิพลของธิเบตต่อภูฏาน '''
 
• ตามตำนานปรากฏว่าอิทธิพลของธิเบตมีมากต่อภูฏาน นั้นได้เริ่มต้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อกองทหารของธิเบตได้บุกเข้าไปในภูฏาน ตามคำเชื้อเชิญของชาวภูฏานเพื่อให้ไปขับไล่ผู้บุกรุกจากอินเดีย ครั้นเมื่อชาวธิเบตทำงานสำเร็จแล้ว ก็ไม่ยอมกลับประเทศ เพราะติดใจภูฏาน ดังนั้นจึงมีชาวธิเบตอยู่ในภูฏานตั้งแต่บัดนั้น ต่อมาได้มีการฆ่าพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากโดยพวก Bons ในธิเบต ทำให้ชาวธิเบตอพยพเข้ามาในภูฏานมากขึ้น จนกระทั่งถึงคริสตศตวรรษที่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อ Ngawang Namgyal ขึ้นปกครองภูฏาน ทำให้อิทธิพลและการอพยพมาของชาวธิเบตลดน้อยลงไป อย่างไรก็ตาม ระยะนี้ได้มีการเคลื่อนไหวของพวกลามะจากธิเบต ส่วนใหญ่ก็มาเพื่อเผยแพร่ศาสนาพุทธในอาณาบริเวณตะวันตกและตอนกลางของภูฏาน
 
• การเข้ามาของลามะจากธิเบตนั้นมากันหลายนิกาย และมามากขึ้นในระยะศตวรรษต่อมา ลามะที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็น ลักขะ-ปะ-ลามะ (Sakya-pa-lama) ชื่อ Trinley Rabgyang เดินทางมาภูฏาน ในตอนครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15 และได้มาสร้างวัดขึ้นหลายแห่ง แม้ว่าอิทธิพลนิกายของเขาจะมีช่วงระยะเวลาที่สั้นก็ตาม พวกลามะนิกายตันตริก (Tantrik lamas) ได้เดินทางมากันเป็นจำนวนมากและมาพำนักอยู่ในภูฏานตะวันตก พวกนี้มาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 12-14 อิทธิพลของลามะพวกนี้มีมากทีเดียว ในคริสตศตวรรษที่คริสต์ศตวรรษที่15 Terton Pemalingpa เชื่อกันว่า เป็นคุรุปัทมสัมภวะมาเกิดใหม่ในบัมทัง เขาได้แสดงการร่ายรำให้เห็นถึงชีวิตบนสวรรค์ซึ่งจะนำประชาชนไปสู่สวรรค์ในชีวิตหน้า ชีวิตบนสวรรค์ดูจะเป็นเครื่องดึงดูดใจของทุกศาสนาที่เดียว ผู้สืบต่อจาก Pemalingpa ก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในประเทศแห่งนี้ และอ้างว่า Jigme Namgyal ซึ่งเป็นปู่ของปู่ของกษัตริย์องค์ปัจจุบันของภูฏานนี้สืบเชื้อสายจาก Pemalingpa
 
• ประมาณคริสตศตวรรษที่คริสต์ศตวรรษที่13 นิกายดรุกปะ (Drukpa) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของนิกายหมวกแดง (Red Cap) ได้เข้ามาในภูฏานโดยลามะ ฟาโจ (Lama Phajo) ซึ่งเป็นสานุศิษย์ของ Sangye Onre ผู้ซึ่งเป็นสาวกของ Yeshe Dorje เป็นผู้ก่อตั้งนิกายคนหนึ่งชื่อของนิกายนี้เอามาจากการเห็นตัวมังกรในท้องของ Yeshe Dorje ในขณะที่เขากำลังสร้างวัดอยู่ตามตำนาน คุรุ ปัทมสัมภวะ ได้ทำนายไว้แต่แรกไว้ว่า สาวกคนหนึ่งของ Yeshe Dorje จะมาที่หุบเขามงคลแห่งนี้และจะสร้างวัดขึ้นที่นั่น
 
• ภายหลังจากที่ศาสนาพุทธเสื่อมลงในอินเดีย ธิเบตก็ไม่ได้ยึดอินเดียเป็นผู้นำทางศาสนาของตนอีกต่อไป ดังนั้นในระยะนี้จึงเกิดมีนิกายต่างๆเกิดขึ้นมากมาย และมีการแข่งขันกันเพื่อจะได้เป็นใหญ่ในธิเบต ในที่สุดนิกายหมวกเหลืองหรือเรียกว่า Geluk-pas ซึ่งมี Dalai Lama เป็นหัวหน้า ซึ่งเป็นนิกายที่ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อคริสตศตวรรษที่คริสต์ศตวรรษที่14 โดยนักปฏิรูปชาวธิเบตที่มีชื่อเสียงชื่อ Tshongkhapa ก็สามารถทำให้นิกายอื่นๆไปสร้างอิทธิพลใหม่ในขณะเดียวกันก็เป็นผลให้นิกายหมวกแดงหรือ Kagyu-pas ต้องถอนร่างตัวเองไปอยู่ทางใต้และมามีอิทธิพลที่เข้มแข็งอีกในภูฏาน เนปาลและสิกขิม ในขณะที่นิกายต่างๆจากธิเบตพยายามแข่งขันกันแย่งชิงความเป็นใหญ่ในภูฏาน ในที่สุดก็มี Drukpas สามารถเอาชนะได้ในคริสตศตวรรษที่คริสต์ศตวรรษที่17 ผู้สร้างอำนาจและอิทธิพลนี้คือ Ngawang Namgyal แห่งราชวงศ์ Gya ที่ Ralung ในธิเบต กล่าวกันว่าสืบเชื้อสายโดยตรงจากน้องชายของ Yeshe Dorje (เป็นผู้หนึ่งของผู้ก่อตั้งนิกาย) Ngawang Namgyal เป็นผู้ที่มีพรสวรรค์สูงส่ง และมีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม เขาอ้างว่าตนเป็น Pema Karpo แห่ง Ralung กลับชาติมาเกิด ซึ่งถือว่าเป็นนักปราชญ์และนักบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนิกาย Drukpa แต่เมื่อเขาพบคู่แข่งเข้า ทำให้เรื่องความเชื่อของการเกิดใหม่ดังกล่าวนี้เสื่อมไป เขาจึงต้องหนีออกจากธิเบตและเข้าไปในภูฏานในปี 1616 ที่ภูฏานเขาก็สามารถสร้างอิทธิพลอาณาจักรและอิทธิพลทางศาสนาได้ และเขาได้เป็นที่รู้จักกันในนามของShabdung Rimpoche หรือ Dharma Raja ในระหว่างที่ปกครองภูฏานอยู่ 35 ปี เขาได้ทำลายกองทัพของ Deba Tsangpa แห่งธิเบตสำเร็จ ชัยชนะครั้งนี้ได้สร้างมิติใหม่ให้แก่อำนาจและอิทธิพลของพระองค์ ในที่สุดพระองค์ก็ได้ทำลาย Deba และครอบครัวของ Deba โดยอาศัยพิธีกรรมของนิกายตันตริกนั้นเอง พระองค์ยังแต่งบทรำอีกหลายประเภทและตีความใหม่ให้กับการร่ายรำแบบเก่า
|-
| colspan="4" | 
บรรทัด 115:
• ในปี 1697 ภูฏานถูกโจมตี 3 ด้านจาก Zhazang Khan หัวหน้าเผ่ามองโกลของธิเบตตอนกลาง 3 ด้านคือ Paro, Bumthang และ Tashigang แต่แล้วทัพมองโกลก็ถูกตีพ่ายแพ้ไป อย่างไรก็ตาม ก็มีศึกมาจากธิเบตอีกเป็นปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับการเกิดใหม่ของ Shabdung Rimpoche ได้ทำให้เกิดสงครามล้างผลาญกันระหว่างภูฏานกับธิเบตอีกในปี ค.ศ.1730 ในที่สุดธิเบตก็สามารถยึดครองดินแดนบางส่วนของภูฏานไว้ได้มีการลงนามสงบศึกกัน โดยภูฏานยินยอมส่งผู้แทนไปยัง Lhasa เพื่อแสดงความคารวะและของขวัญกำนัลให้แก่รัฐบาลธิเบต ระบบนี้เป็นที่รู้จักกันคือ lochak ซึ่งปฏิบัติมาจนถึงค.ศ.1951 และมายกเลิกเมื่อจีนได้เข้ามาครอบครองธิเบต
 
• นอกจากนี้ภูฏานก็ยังมีเรื่องขัดแย้งกับรัฐบาลอินเดีย Cooch Behar ซึ่งขึ้นอยู่กับแคว้นเบงกอล ความขัดแย้งสืบเนื่องมาจากแต่ละฝ่ายต่างก็อ้างสิทธิเหนือดินแดนตามชายแดนด้วยกันทั้งสองฝ่าย ครั้นเมื่ออำนาจของโมกุลเสื่อมลง ในระยะต้นคริสตศตวรรษที่คริสต์ศตวรรษที่18 เป็นเหตุให้ภูฏานเป็นต่อยิ่งขึ้น Sonam Lhendup เป็นที่รู้จักกันในนามของ Shidar และภายหลังได้แป็น Deba Raja ในค.ศ.1768 ก็ได้ดำเนินนโยบายบีบคั้น Cooch Behar เป็นการใหญ่
 
• ในค.ศ.1772 Raikat Ramnarayan ผู้ครอง Cooch Behar ถูกฆ่าตาย โดยฝ่ายที่แย่งชิงอำนาจ เหตุการณ์นี้ได้เปิดช่องทางให้กับภูฏาน กล่าวคือ Shidar ได้เข้าโจมตี Cooch Behar และแต่งตั้งผู้ปกครองแคว้นเสียเอง ต่อมาไม่นานใน Cooch Behar ก็เกิดสงครามการสืบราชสมบัติขึ้นอีก Shidar ก็ได้ส่งกองกำลังจำนวนมหาศาลภายใต้การบังคับบัญชาของหลานชายของเขาเข้ายึดนครหลวง และแต่งตั้งคนของตนขึ้นครองบัลลังก์ กลุ่มที่แย่งชิงอำนาจที่เลวร้ายที่สุดใน Cooch Behar ซึ่งนำโดย Khagendranarayan ได้ร้องเรียนต่ออังกฤษในอินเดียเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งก็พร้อมที่จะช่วย ขณะนั้น Warren Hastings ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษในอินเดียขณะนั้นก็ตระหนักว่า อังกฤษมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าควบคุม Cooch Behar ดังนั้นเมื่อได้รับคำร้องเรียนก็รีบเร่งส่งกองกำลังไปช่วยทันที ด้วยความช่วยเหลือครั้งนี้ จึงเป็นผลให้ยอมรับอำนาจของบริษัทอังกฤษอินเดียตะวันออกเหนือแดน Cooch Behar ตามสนธิสัญญาที่ทำกันในกัลกัตตา Khagendranarayan ยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังที่ส่งไปช่วยเขา และยินยอมให้รายได้ของรัฐครึ่งหนึ่งให้กับชาวอังกฤษในภูฏานอีกด้วย ส่วน Shidar ก็ไม่สามารถที่จะตอบโต้กับกองทหารของอังกฤษได้ และในขณะเดียวกันก็ถูกปฏิวัติซ้อนขึ้นในภูฏานจึงทำให้เขาต้องล่าถอย
บรรทัด 183:
• จิกมี นัมเกล วังชุก เจ้าเมืองตองสา เมื่อชนะศึกภายนอกแล้วก็ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำฝ่ายฆราวาส แต่ศึกภายในยังไม่สงบ ได้เกิดความขัดแย้งกับสังฆราชาผู้นำศาสนจักรในขณะนั้น ไม่ลงรอยกันในการปกครองเมืองพาโร ทำให้เกิดการสู้รบกัน ชาวดรุกยุลส่วนมากเข้าร่วมสนับสนุน จิกมี นัมเกล ร่วมรบเต็มกำลัง เมื่อจิกมี นัมเกล ได้รับชัยชนะจึงแต่งตั้งให้ อุเกน วังชุก บุตรชายเป็นเจ้าเมืองพาโร แต่บรรดาแว่นแคว้นก็ยังไม่ยอมสยบ จิกมี นัมเกล จึงนำกำลังออกปราบจนราบคาบ และได้อำนาจการปกครองอย่างเบ็ดเสร็จ หลังจากรวมเมืองใหญ่น้อยเป็นหนึ่งเดียว จิกมี นัมเกล วังชุก จึงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์วังชุก โดยมี อุเกน วังชุก ผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับบิดาร่วมปกครองเมืองสำคัญ เป็นรัชทายาท
 
• อุเกน วังชุก สวรรคตในปี พ.ศ. 2468 พระราชโอรสพระนามว่า จิกมี ดอร์จี วังชุก ขึ้นครองราชย์ต่อจากบิดาเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในปี พ.ศ. 2495 สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 3 จิกมี ดอร์จี วังชุก ทรงได้สมญานามว่า “พระบิดาแห่งภูฏานยุคใหม่” พระองค์นำภูฏานเข้าสู่แผนพัฒนาแห่งชาติแห่งชาติ ทรงเปิดรับวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาในภูฏาน แต่พระราชาธิบดี จิกมี ดอร์จี วังชุก ก็มีพระชนมายุสั้น พระองค์สวรรคตที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
 
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก มกุฎราชกุมาร เข้าสู่พระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2517 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 4 ขณะมีพระชนมายุ 18 พรรษา ท่ามกลางอาคันตุกะผู้มีเกียรติจากนานาประเทศ ในท่ามกลางพระราชพิธีทางโหราศาสตร์ ศาสนศาสตร์ และจารีตประเพณีแต่โบราณกาล หลังจากขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ได้รับการขนานนามว่าเป็น“พระบิดาแห่งปวงชน” จากการที่ทรงมีนโยบายยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาประเทศ