ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิวคลีโอลัส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
...
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Diagram human cell nucleus.svg|thumb|right|300px|[[นิวเคลียส]]และ'''นิวคลีโอลัส''']]
'''นิวคลีโอลัส''' ({{lang-en|Nucleolus}}) ทำหน้าที่สังเคราะห์ไรโบโซม เป็นบริเวณเฉพาะภายในนิวเคลียส เป็นที่อยู่ของยีนที่ควบคุมการสังเคราะห์อาร์อาร์เอ็นเอ ไม่มีเยื่อหุ้มล้อมรอบ ประกอบด้วยสารประเภท [[RNA]] และสารอื่นที่เป็นองค์ประกอบของ[[ไรโบโซม]] ค้นพบโดย "ฟอนตานา" (Fontana) เมี่อปี ค.ศ. 1781 ([[พ.ศ. 2224]]) นิวคลีโอลัสพบเฉพาะเซลล์ของพวก[[ยูคาริโอต]]เท่านั้น เซลล์ที่มีกิจกรรมน้อย เช่น เซลล์[[กล้ามเนื้อ]] จะมี นิวคลีโอลัสขนาดเล็กหรือไม่มี เซลล์ที่มีการสร้างโปรตีนมาก เช่น เซลล์[[โอโอไซต์]] [[เซลล์ประสาท]] จะมีนิวคลีโอลัสขนาดใหญ่ [[เซลล์อสุจิ]] [[เซลล์เม็ดเลือดแดง]] ที่เจริญเติบโตเต็มที่ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ไฟเบอร์ของกล้ามเนื้อ จะไม่มีนิวคลีโอลัส นิวคลีโอลัส เป็นตำแหน่งที่ติดสี[[เคมี]] บน[[โครโมโซม]] ประกอบด้วยสารประเภท [[DNA]] RNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ กลไกการสร้างโปรตีน
 
นิวคลีโอลัส ประกอบด้วย [[โปรตีน]] และ [[RNA]] โดยโปรตีนเป็นชนิด[[ฟอสโฟโปรตีน]] (Phosphoprotein) จะไม่พบ[[โปรตีนฮิสโตน]]เลย ในเซลล์ที่มีกิจกกรรมสูง จะมีนิวคลีโอลัสขนาดใหญ่ ส่วนเซลล์ที่มีกิจกรรมต่ำ จะมีนิวคลีโอลัสขนาดเล็ก นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่าง ๆ และถูกนำออกทางรูของเยื่อหุ้มนิวเคลียส เพื่อสร้างเป็นไรโบโซมต่อไป ดังนั้นนิวคลีโอลัสจึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนเป็นอย่างมาก เนื่องจาก[[ไรโบโซม]]ทำหน้าที่สร้าง[[โปรตีน]]
 
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Cell nucleolus}}
{{ออร์แกเนลล์}}
[[หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์]]