ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอินเดีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 73:
ประเทศอินเดียเกิดขึ้นบน[[อนุทวีปอินเดีย]] (Indian subcontinent) ซึ่งตั้งอยู่บนบริเวณ[[แผ่นเปลือกโลก|แผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian tectonic plate)]] ซึ่งในอดีตนั้นเคยเชื่อมอยู่กับแผ่นออสเตรเลีย การรวมตัวทางภูมิศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศอินเดียนั้นเกิดขึ้นราว 75 ล้านปีก่อน เมื่ออนุทวีปอินเดียซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของ[[มหาทวีป]]แห่งตอนใต้ คือ [[มหาทวีปกอนด์วานา]] (Gondwana) ได้เริ่มเคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านที่บริเวณมหาสมุทรอินเดียซึ่งในขณะนั้นยังไม่เกิดขึ้น โดยกินเวลารวมทั้งหมดประมาณ 55 ล้านปี หลังจากนั้นอนุทวีปอินเดียนได้ชนเข้ากับแผ่น[[ทวีปยูเรเชีย]] อันเป็นที่มาของการเกิดเทือกเขาที่มีความสูงที่สุดในโลก คือ [[เทือกเขาหิมาลัย]] ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ตอนใต้ของเทือกเขาซึ่งเคยเป็นท้องทะเลอันกว้างขวางได้ค่อยๆกลายมาเป็นผืนดินราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่ ทำให้เกิดเป็นที่ราบลุ่ม[[แม่น้ำคงคา]]ตอนเหนือของอินเดีย (Indo-Gangetic Plain) ทางภาคตะวันตกนั้นติดกับ[[ทะเลทรายธาร์]] ซึ่งถูกกั้นกลางด้วย[[ทิวเขาอะราวัลลี]]
 
อนุทวีปอินเดียนั้นได้คงอยู่จนกลายมาเป็น[[คาบสมุทรอินเดีย]]ในปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดทางธรณีวิทยา และยังเป็นบริเวณที่มีความคงที่ทางภูมิศาสตร์ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย โดยกินพื้นที่กว้างขวางจรดเทือกเขาสัทปุระ (Satpura)ทางตอนเหนือใต้ และเทือกเขาวินธยะ (Vindhya)ผิงอ ในภาคกลางของอินเดีย โดยมีลักษณะคู่ขนานกันไปจรดชายฝั่ง[[ทะเลอาหรับ]]ใน[[รัฐคุชราต]]ทางทิศตะวันตก และที่ราบสูงโชตนาคปุระ (Chota Nagpur Plateau) ที่เต็มไปด้วยแร่รัตนชาติใน[[รัฐฌาร์ขัณฑ์]]ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนทิศใต้นั้นประกอบด้วยแผ่นดินคาบสมุทรบนที่ราบสูงเดคคาน (Deccan Plateau) ซึ่งถูกขนาบโดยเทือกเขาริมทะเลทั้งสองฝั่งที่เรียกว่า เทือกเขากัทส์ทิศตะวันตก และตะวันออก(Western and Eastern Ghats) ในบริเวณนี้จะพบหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งมีอายุถึง 1 พันล้านปี
 
[[ไฟล์:KedarRange.jpg|thumb|left|upright|เทือกเขาเคดาร์ (Kedar Range) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหิมาลัย มองจากวิหารฮินดู (Kedarnath Temple)]]