ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเวียงแหง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GünniX (คุย | ส่วนร่วม)
http, <ref>, <br /> using AWB
บรรทัด 21:
{{expert}}
 
อำเภอเวียงแหงมีชื่อเดิมว่า "เมืองแหง" มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน เมืองยุทธศาสตร์ตามเส้นทางการเดินทัพและการค้าระหว่าง[[เมืองเชียงใหม่]] ราชธานีของ[[อาณาจักรล้านนา]]กับเมือง[[อังวะ]] ([[Ava Kingdom|Ava]]) โดยเดินทางผ่าน [[เมืองนาย]] ( Mong Nai , Mo-Ne ปัจจุบันอยู่ใน[[รัฐฉาน]] [[ประเทศพม่า]]และตั้งอยู่ห่างจากชายแดนเวียงแหง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 200 กม.) เมืองแหงตั้งอยู่กึ่งกลางของเส้นทางระหว่างเมืองเชียงใหม่ กับ "เมืองนาย"โดยเดินทางตามลำน้ำแม่แตง มีพื้นที่กว้างใหญ่ เหมาะแก่การสะสมเสบียงอาหารเลี้ยงกองทัพ มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ณ เมืองนี้มากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้<ref>ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ ๔ คณะสังคมศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] ๒๕๑๘</ref><ref>มหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า, สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๔๕</ref>
 
* เป็นเส้นทางเดินทัพของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]] ยกกองทัพ 90,000 คน จาก [[เมืองนาย]]ข้ามแม่น้ำสาละวิน ที่ [[ท่าผาแดง - Ta Hpa Lang|ท่าผาแดง]] มายึดเมืองเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2101
 
* เป็นเส้นทางเดินทัพของ 19 เจ้าฟ้าไทใหญ่ โดยประชุมทัพ ณ "เมืองนาย" ทหาร 60,000 คน ที่พระเจ้าบุเรงนองส่งมาช่วยเมือง[[พิษณุโลก]]ตามคำขอของ[[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช|ขุนพิเรนทรเทพ]] เนื่องจากทาง[[ล้านช้าง]]ยกทัพมาประชิดเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. 2108 ครั้นเคลื่อนทัพมาถึง "เวียงแหง" ได้รับหมายแจ้งว่ากองทัพล้านช้างทราบว่าพระเจ้าบุเรงนองส่งกองทัพมาช่วย จึงยกทัพกลับล้านช้าง พระเจ้าบุเรงนองจึงมีท้องตราเรียกกองทัพ 19 เจ้าฟ้าไทใหญ่กลับคืนมาตุภูมิ
 
* เป็นเส้นทางเดินทัพ[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] ทรงกรีฑาทัพ 100,000 คน ไปยึด [[เมืองนาย]] ให้กลับคืนมาอยู่ในราชอาณาจักร และมุ่งตรงไปทำลายพระเจ้าเมืองอังวะในปี พ.ศ. 2148
 
* เป็นเส้นทางหลบหนีของแม่ทัพ[[เนเมียวสีหบดี]] ขุนศึกพม่าผู้พิชิต 3 อาณาจักร คือ ล้านนา ล้านช้าง และ[[อยุธยา]] หลังจากถูกกองทัพ[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|พระเจ้าตากตากสิน]]สิน ขับไล่ออกจากเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2317 จนต้องหลบหนีไปตั้งหลักอยู่ที่ "เมืองนาย"
 
* เป็นเส้นทางเดินทัพที่พม่ากลัวกองทัพเชียงใหม่จะไปโจมตีพม่ามากที่สุดใน พ.ศ. 2388 เพราะระยะทางสั้น เดินง่าย และเป็นทางใหญ่ พม่าจึงตั้งด่านที่แม่น้ำสาละวิน ณ ท่าข้าม '''"ท่าผาแดง-Ta Hpa Lang"'''<ref>G+ :chaiyong chaisri. " ท่าผาแดง" ในประวัติศาสตร์ล้านนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ,หนังสือ "ข่วงผญา" ฉบับที่ 7/2555 รวมบทความล้านนาศึกษา ฉบับฉลองพุทธยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หน้า 54-67, https://plus.google.com/+BetaChaiyo</ref> โดยให้ทหารลาดตระเวณตลอดเวลา<ref>คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย (2542) จดหมายเหตุนครเชียงใหม่ โรงพิมพ์ดอกเบี้ย กทม. หน้า 150-163 เรื่อง "คำให้การท้าวสิทธิมงคล" จารบุรุษเมืองเชียงใหม่ ไปสืบราชการลับในพม่าและถูกจับติดคุกที่ '''"เมืองนาย"''' นาน 1 ปี 1 เดือน 3 วัน เมื่อพ้นโทษจึงเดินทางกลับมาเชียงใหม่ และลงไปกรุงเทพฯให้ปากคำกับพระยาจุฬาราชมนตรี ในรัชกาลที่ 3</ref> ดังที่พระยา[[จุฬาราชมนตรี]] ในรัชกาลที่ 3 บันทึกปากคำท้าวสิทธิมงคล ซึ่งเป็นจารบุรุษของเมืองเชียงใหม่ ไปสืบราชการลับในพม่า และถูกพม่าจับขังคุกที่ '''เมืองนาย''' เป็นเวลานาน 1 ปี 1 เดือน 3 วัน ครั้นพ้นโทษจึงกลับเมืองเชียงใหม่ และเดินทางไปกรุงเทพฯเพื่อให้ปากคำ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2388 ความว่า...
''(คัดลอกตามต้นฉบับ'') ...''ระยะทางแต'''เมืองน้าย จะ'''มาเถึง '''แมนำคง''' มาได้ 5 ทาง ....ทางหนึ่งค่างต่วันออกเฉยิงไต เดืนแต '''เมืองนั่าย''' ทางคืนนึงเถึง'''เมืองปัน''' แตเมืองปันมาทางคืนนึงเถึง '''ถัผาแดง''' ตกแมนำคง ทางนีเดืนง้ายเปนทางไหญ ไก้ล '''เมืองเชยิงไห้ม'''พ่มากลัวกองทัพเมอิงเชยิงไห้ม จะยกไปทางนีจึงมาตังด่านทีฝังแมนำคง '''ถ้าผาแดง''' แหงนึง ที '''เมืองปัน''' แหงนึง พ่มาพัลตเปลยีนกันมาลาตระเวนไมขาษ...''
บรรทัด 37:
เรียบเรียงใหม่ได้ดังนี้ " ระยะทางแต่'''เมืองนาย''' จะมาถึง'''แม่น้ำคง('''สาละวิน) มาได้ 5 ทาง... ทางหนึ่งข้างตะวันออกเฉียงใต้ เดินแต่ '''เมืองนาย''' ทางคืนหนึ่ง ถึง '''เมืองปั่น''' แต่เมืองปั่นมาทางคืนหนึ่ง ถึง '''"ท่าผาแดง'''" ตะวันตกแม่น้ำคง ทางนี้เดินง่าย เป็นทางใหญ่ ใกล้'''เมืองเชียงใหม่''' พม่ากลัวกองทัพเมืองเชียงใหม่จะยกไปทางนี้'''จึงมาตั้งด่าน'''ที่ฝั่งแม่น้ำคง '''ท่าผาแดง''' แห่งหนึ่ง ที่ '''เมืองปั่น''' แห่งหนึ่ง พม่าผลัดเปลี่ยนกันมาลาดตระเวณไม่ขาด.."
*
* ชาวเมืองแหง หนีราชภัยของ[[พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์|พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์]] เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 จึงอพยพครอบครัวข้าม[[แม่น้ำคง(สาละวิน)|แม่น้ำคง]] ไปอยู่ '''เมืองปั่น, เมืองหมอกใหม่ และเมืองหาง''' (ในเขตรัฐฉาน พม่า) ปัจจุบัน เป็นเหตุให้'''เมืองแหงกลายเป็นเมืองร้าง''' ประมาณ ปี พ.ศ. 2400<ref>นคร พันธุ์ณรงค์ (2516) การเจรจาและข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษเกี่ยวกับหัวเมืองชายแดนลานนาไทยและพม่า สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระยะ พ.ศ. 2428-2438 วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref>
 
* เป็นเส้นทางรับเจ้าพม่าจากแม่น้ำสาละวิน ณ '''"ท่าผาแดง"'''มายังเมืองเชียงใหม่ในสมัย[[พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์]] เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]]) ปี พ.ศ. 2408<ref>[[หอสมุดแห่งชาติ]], หนังสือและคัดบอกเมืองเชียงใหม่ หนังสือสมุดไทยดำ อักษรไทย ภาษาไทย เส้นรงค์(ดินสอ หรดาล) จ.ศ.๑๒๒๗ เลขที่ ๒๗๒ หมวดจดหมายเหตุ ก.ท. ร.๔</ref> โดยเจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ เจ้าราชบุตร แห่งเมืองเชียงใหม่ มีหนังสือกล่าวโทษพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ มายัง[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท]] เพื่อกราบบังคมทูลถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความดังนี้(คัดลอกตามต้นฉบับ)
...." ''ทรงพระกรรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลี้ยงข้าพระเจ้าเปน '''เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ เจ้าราชบุตร''' สำรับรักษา เขตรแดนเมืองเชียงใหม่'' ''ด้วย'''เจ้าเชียงใหม่''' ใม่ตั้งอยู่ในทศมิตราชธรรมประเพนีและพระบรมราโชวาทพระราชบัญญัติแลคำอะธีถานถือน้ำพระพิพัตรสัจา ประการหนึ่งทุกวันนี้ เจ้าบุรียรัตน บุตรเขยเจ้าเชียงไหม่แลเจ้าราชภาคีนัย เปนที่ปฤกษา '''เกนให้นายบุญทากับไพร่'''มากน้อยเท่าใดไม่ทราบไปรักษา '''เมืองแหง''' ให้ถางตะลอดกระทั่งถึงริมน้ำ '''ท่าผาแดง''' ครั้นอยู่มาพม่านายไพร่เปลียนชื่อเปนขุนนางเงี้ยว(ไทใหญ่) ถือหนังสือฉบับหนึ่งเข้ามาทาง '''ท่าผาแดง''' มาถึง'''เมืองแหง''' ส่งพม่านายไพร่ เข้ามาถึงเมืองเชียงไหม่ เจ้าเชียงไหม่เกนให้ท้าวพระยารับตอ้นพม่าไปที่ภักข้าหลวงมายั้งอยู่แต่ก่อน เจ้าเชียงไหม่เลี้ยงดูเปนอันมาก กับให้พิทักษรักษายิ่งกว่าข้าหลวงมาแต่ก่อน'' '''''ประการหนึ่งคบคิดเปนมิตรไมตรีกับพม่าข้าศึกแลให้ช้างสองช้าง ปืนคาบสิลา 8 บอก''' กับคนใช้ในเมืองเชิยงไหม่สองคนผัวเมียกับหนังสือฉบับหนึ่ง ข้อความในหนังสือประการใดข้าพเจ้าไม่ทราบ แล้ว'''เจ้าเชียงไหม่เกนให้แสน ท้าวกับไพ่ร ในเมืองเชียงไหม่ส่งแลพีทักษรักษาพม่ากลับคืนไปทาง''' '''เมืองแหง''' ถึง '''ท่าผาแดง''' ประการหนึ่งเจ้าเชียงไหม่กดขี่คุมเหงข้าพเจ้า แสน ท้าว พระยา อนาประชาราษฎรได้ความเดือษรอ้นเปนอันมาก '''ครั้นเดือน 12 เกนไพร่ประมาณ 700-800 ว่าจะไปถางที่ส่งพม่ากลับคืนออกไป''' '''แลเจ้าเชียงไหม่ทำไมตรีกับพม่าข้าศึกแลเกนคนไปทำทาง''' ข้อราชการอันนี้เจ้าเชียงไหม่ก็หาได้ปฤกษาข้าพเจ้าไม่ ขอท่านได้นำเอาข้อความอันนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรรุนาแด'''พระบาทสมเดจ์พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเดจ์พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว''' ให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วย สิ่งประการใดข้าพเจ้าจะดีมีความชอบ ขอบุญปัญา ฯพัณฯ สมุหนายกเปนที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าดว้ย
 
บอกมา ณ วนั 3 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลูสัปตศก.''."
 
* เป็นเส้นทางการค้าระหว่างเชียงใหม่ กับ พม่า ในสมัย[[พระเจ้าอินทวิชยานนท์|พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7]] (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5) ปี พ.ศ. 2417<ref>กองจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ร.5 ม.2 12 ก. ใบบอก หนังสือพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ กราบบังคมทูล เรื่องให้จัดการรักษาเขตแดนตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2417</ref> ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2416 รัฐบาลสยาม กับรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองพม่าในขณะนั้น ได้ลงนามในสัญญาไมตรีเพื่อส่งเสริมการพาณิชย์ ที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า "สัญญา[[สนธิสัญญาเชียงใหม่]]"โดยมีสาระประการหนึ่งว่า
''....สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามจะให้เจ้าเชียงใหม่ตั้งด่านกองตระเวณ และให้มีเจ้าพนักงานกำกับริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นเขตแดนเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นของฝ่ายสยามแล้วและให้มีโปลิศ(ตำรวจ)ตั้งอยู่พอสมควร จะได้ระงับห้ามโจรผู้ร้าย และการอื่นๆที่เป็นสำคัญ..ต่อมาพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ พระเจ้าเชียงใหม่ มีศุภอักษรกราบบังคมทูลรายงานสมเด็จพระปิยมหาราช ดังนี้ ..ป่าไม้ขอนสักในแขวงเมืองเชียงใหม่ ริมแม่น้ำคง ซึ่งเรียกว่าแม่น้ำสาละวินต่อเขตแดนเมืองมรแมน เมืองยางแดง เมืองปั่น เมืองปุ เมืองสาด มี 8 ตำบลที่ลูกค้าเดินไปมาค้าขายเป็นเส้นทางใหญ่อยู่ 8 เส้นทาง ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดบุตร หลาน ท้าว พระยา คุมไพร่ไปตรวจตราระวังโจรผู้ร้ายอยู่เนืองๆ...
 
'''ทางเมืองแหง เป็นเมืองร้าง''' ทางลูกค้าเดินมาแต่ '''เมืองพม่า''' '''ให้คนเมืองกึด'''ไปตั้งด่านตระเวณ 50 คน..(บ้านเมืองกื้ด ตั้งอยู่ตอนปลายแม่น้ำแตง ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่)
''* เป็นเมืองหน้าด่านปกป้องชายแดน โดยพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร|พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร]] มาจัดการเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2427 และมีรับสั่งให้[[พระยามหามหิทธิวงษา]] เจ้าเมืองฝาง ไปจัดการตั้ง ''
'''เมืองแหงเหนือ เมืองแหงใต้''' เมืองนะ เมืองแกนน้อย เพื่อป้องกันชายแดน และแแต่งตั้งให้ '''"ฮ้อยสาม'''" เป็น '''"แสนธานีพิทักษ์''' " '''เจ้าเมืองแหง'''<ref>วารสาร "รวมบทความประวัติศาสตร์"(2539) ฉบับที่ 18 เรื่อง รายงานระยะทางในราชการตรวจพระราชอาณาเขตหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ร.ศ. 108</ref> ใน พ.ศ. 2428
 
* เป็นเส้นทางราชการตรวจพระราชอาณาเขตหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ร.ศ.108 ของคณะ[[พระวิภาคภูวดล]] ([[James Fitzroy McCarty.]]) เจ้ากรมแผนที่ทหารคนแรกของไทย ใน พ.ศ. 2432<ref>รวมบทความประวัติศาสตร์(2539) ฉบับที่ 18 เรื่อง รายงานระยะทางในราชการตรวจพระราชอาณาเขตหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ร.ศ. 108</ref> ดังรายงานของ'''[[นายแถลงการวิตถกิจ]]'''(เป็นชื่อบรรดาศักดิ์) ที่เสนอต่อพระวิภาคภูวดล ดังนี้
 
..." ''ข้าพเจ้านายแถลงการวิตถกิจ ทำริโปด(Report)ระยะทางในราชการตรวจพระราชอาณาเขตร์หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ในปีรัตนโกสินทร์ศก 108 ยื่นต่อพระวิภาคภูวดล เจ้ากรมฉบับหนึ่ง
... วัน 3(วันอังคาร)ที่ 4 กุมภาพัน เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 มินิต(นาที) จึงได้ทำเซอร์เวต่อไป เวลาเช้า 4 โมง 30 มินิต ถึงที่เซอร์แดน '''เมืองทา''' '''เมืองแหง''' ต่อกัน แต่ที่เขตร์แดนต่อกันนั้น มีสำคัญเป็นยอดดอยกิ่วก่อ ต่อไปเวลา บ่าย 1 โมง 41 มินิต ถึง '''บ้านแหงเหนือ''' มีเรือนประมาณ 30 หลัง ทำนาแลไร่รับประทาน ต่อไปจนเวลาย่ำค่ำแล้ว 56 มินิต ถึง '''เมืองแหงใหม่''' เรือนประมาณ 70 หลัง คนประมาณ 200 คน ทำนาแลไร่รับประทาน ยุด(หยุด) พักวัดดาว แล้วนอนคืนหนึ่ง...."''
 
* เป็นเมืองชายแดนที่พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่พระยาดำรงค์ราชสีมา เจ้าเมืองปาย (อ.ปาย แม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน) ฟ้องกล่าวโทษเจ้าเมืองแหง ('''แสนธานีพิทักษ์''') ว่าคบคิดกับ "เจ้าฟ้าเมืองนาย" "เมืองปั่น" "เมืองเชียงทอง" "เมืองปุ"(พม่า) จะนำกำลังมารบชิงเมืองปาย และเมืองงาย(เชียงดาว) รวมทั้งจะก่อการขบถต่อราชอาณาจักรสยาม ใน พ.ศ. 2438<ref>กองจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ร.5 ม.58/163 เรื่อง เมืองแหงวิวาทกับเมืองปาย ร.ศ.114 ขอขอบคุณ ดร.อนุชาติ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่เอื้อเฟื้อประสานสำเนาไมโครฟลิ์ม เรื่อง เมืองแหงวิวาทเมืองปาย จำนวน 83 หน้ากระดาษ A 4 จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มาให้ข้าพเจ้านายชัยยง ไชยศรี ได้เรียบเรียง</ref> ทั้งนี้เรื่องราวได้รายงานตามลำดับชั้น จาก พระยาดำรงค์ราชสีมา เจ้าเมืองปาย,นาย เจ้าน้อยบัววงษ์ พระยารองกรมมหาดไทยเมืองนครเชียงใหม่, เจ้าราชวงษ์ราชวงศ์ ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย กรมทหารเมืองนครเชียงใหม่, พระยาทรงสุรเดช ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการ[[มณฑลลาวเฉียง]], [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย, [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์]] เสนาบดี[[กระทรวงมุรธาธร]] ราชเลขานุการในรัชกาลที่ 5 , พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช.
 
ความในหนังสือของเจ้าเมืองปาย ซึ่งสมัยนั้นเขียนตามภาษาพูด และเป็นภาษาถิ่น บางคำเป็นภาษาไทยใหญ่ ดังนี้(คัดลอกตามต้นฉบับ)