ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Taewonder/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taewonder (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: == วัดธาตุ พระอารามหลวง ขอนแก่น == '''วัดธาตุ''' ตั้งอยู่เลขที่ 237 ถน...
 
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:45, 23 มกราคม 2561

วัดธาตุ พระอารามหลวง ขอนแก่น แก้

วัดธาตุ

ตั้งอยู่เลขที่ 237 ถนนกลางเมือง (บ้านเมืองเก่า) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2332 โดยพระนครศรีบริรักษ์บรมราชภักดี (เพี้ยเมืองแพน) เจ้าเมืองขอนแก่น เป็นผู้ก่อสร้างขึ้นพร้อมกับการตั้งเมืองขอนแก่น และได้สร้างพระธาตุขึ้นเป็นปูชนียสถานที่เคารพสักการะของชาวเมืองขอนแก่น จึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดธาตุ"

ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี  ชนิดสามัญ  เมื่อปี  พ.ศ.  2521

มีเนื้อที่ 12 ไร่

พ.ศ. 2335 ท้าวสัก ตำแหน่ง เพี้ยเมืองแพน อยู่บ้านชีโหล่น เมืองสุวรรณภูมิ ได้ชักชวนครอบครัวได้ประมาณ 330 ครอบครัว อพยพมาตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่อีกแห่งหนึ่ง เรียกว่า บ้านบึงบอน ต่อมา พ.ศ. ๒๓๔๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการยกฐานะให้เป็น"เมืองขอนแก่น"แต่งตั้งให้"ท้าวสัก" เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก มีนามว่า "พระนครศรีบริรักษ์"

เนื่องจากชนชั้นปกครองเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน ซึ่งมีเชื้อสายเนื่องมาจากนครเวียงจันทน์ เมื่อท้าวเมืองแพน หรือพระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดี ได้ตั้งเมืองขอนแก่นขึ้นที่บ้านบึงบอนแล้วก็ได้เริ่มสร้างวัดขึ้น 4 วัด ตามแบบประเพณีโบราณเนื่องจากวัดเหนือ(วัดธาตุ) เป็นวัดสำหรับเจ้าเมืองดังกล่าว ดังนี้

  1. วัดเหนือ อยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองหรืออยู่ทางต้นน้ำสำหรับเป็นสถานที่ชุมนุมทำบุญของเจ้าเมืองปัจจุบันคือ วัดธาตุพระอารามหลวง
  2. วัดกลาง  อยู่กึ่งกลางระหว่างวัดเหนือกับวัดใต้ สำหรับเป็นที่ชุมนุมทำบุญของประชาชนทั่วไป ปัจจุบันคือ วัดกลาง
  3. วัดใต้  อยู่ทางทิศใต้ของตัวเมือง หรืออยู่ทางใต้ของสายน้ำ ปัจจุบัน คือ วัดหนองแวง พระอารามหลวง
  4. วัดท่าแขก  สำหรับพระภิกษุอาคันตุกะจากถิ่นอื่นมาพักและประกอบพุทธศาสนพิธี ปัจจุบันคือ วัดโพธิ์

วัดธาตุมีเจ้าอาวาสผู้ปกครองวัดสืบต่อกันมามากกว่าศตวรรษ เจ้าอาวาสอาจจะมีตำแหน่งเป็นพระครูหลักคำ พระครูสังฆราช พระครูด้าน พระครูฝ่าย พระครูยอดแก้วหรือพระครูลูกแก้ว ตามศักดิ์ที่ใช้เรียกตำแหน่งสมณศักดิ์ในสมัยนั้นมาบ้างแล้วหลายรูป   แต่ไม่สามารถจะหาหลักฐานมายืนยันได้ วัดธาตุแม้จะมีปูชนียสถานคือพระธาตุเจดีย์อยู่ก็จริง แต่พระเจดีย์หลายองค์ ก็ชำรุดทรุดโทรมพังทลายไปเกือบหมดสิ้น จนไม่สามารถจะสังเกตได้ว่าองค์ไหนเป็นพระธาตุดั้งเดิม ซึ่งเจ้าเพี้ยเมืองแพนได้สร้างขึ้น หลักฐานใด ๆ ก็ไม่มีปรากฏ

เมื่อ พ.ศ.2513 คณะกรรมการวัดเห็นว่าพระธาตุมีรวมกันหลายองค์ ทุกองค์ล้วนมีลักษณะทรุดโทรม จนไม่สามารถทราบได้ว่าองค์ไหนเป็นพระธาตุองค์เดิม จึงได้ตัดสินใจให้นายช่างออกแบบสร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบองค์เดิมไว้ ทั้งหมด โดยสร้างให้ใหญ่และสูงกว่าเดิม      เพื่อรักษาศรัทธาปสาทะและความศักดิ์สิทธิ์ไว้ และให้ชื่อว่าเจดีย์พระธาตุนครเดิม ตามที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้  มีส่วนสูงวัดจากยอดสุดลงมา ๔๕ เมตร ชื่อ เจดีย์พระธาตุนครเดิม

 

ปัจจุบัน  พระเทพกิตติรังษี  (ทองสา  วรภาโภ  ป.ธ. ๘, พธ.ด.)  เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันและตำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น