ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 14:
|ที่ตั้ง=ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ (19 ชั้น)}}
 
'''คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า [[มหาวิทยาลัยสยาม]]''' (Faculty of Medicine : Siam University) เป็นคณะแพทยศาสตร์ของ[[มหาวิทยาลัยสยาม]] โดยเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 21 ของประเทศไทย และลำดับที่ 2 ของ[[มหาวิทยาลัยเอกชน]] และผ่านการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตจากแพทยสภาแล้ว
 
== ประวัติ ==
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า มหาวิทยาลัยสยาม เกิดจากกลุ่มแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงร่วมกันเสนอขอเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ต่อสภามหาวิทยาลัยสยามและได้รับความเห็นชอบเมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 พร้อมทั้งได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในการประชุมคราวเดียวกัน ต่อมาคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยสยามอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร ใหม่ พ.ศ. 2555) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 ต่อมาคณะกรรมการ[[แพทยสภา]]ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 ให้การรับรองหลักสูตร[[แพทยศาสตรบัณฑิต]] (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555) นับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งที่ 2 ของประเทศไทยที่ได้รับอนุมัติจากแพทยสภาให้เปิดรับนักศึกษาจำนวน 48 คน ในปีการศึกษา 2556 และให้จัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 1 ในเดือนสิงหาคม 2556 โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูเกียรติ อัศวาณิชย์เป็นคณบดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี และศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์เฉลิม วราวิทย์ เป็นที่ปรึกษา
 
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสยามเกิดจากกลุ่มแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงทั้งด้านการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศและประสบความสำเร็จอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมท่านเหล่านี้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนแพทย์ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ.2558 การเคลื่อนย้ายผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆโดยเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างไร้พรมแดน รวมถึงจะมีการเข้ามารับบริการทางการแพทย์ในประเทศมากขึ้น รัฐจึงต้องเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถและเพียงพอที่จะกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศเพื่อรองรับและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ มหาวิทยาลัยสยามในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจึงตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและได้พัฒนาประเทศในด้านการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสู่สังคมมายาวนานอีกทั้งคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม ได้รับการสนับสนุนทางด้านการศึกษาจากมูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามอีกด้วย