ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือโคร่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45:
 
== กายภาพและลักษณะ ==
เสือโคร่งมี[[โครโมโซม]]จำนวน 38 โครโมโซม (2 N = 38) มีความยาวโดยเฉลี่ยจากหัวไปจนถึงโคนหาง 1.4-4–2.8 [[เมตร]] หางยาว 60-60–95 [[เซนติเมตร]] น้ำหนักตัว 130-130–260 [[กิโลกรัม]] มีขนลำตัว[[สีน้ำตาล]][[เหลือง]]หรือเหลืองอม[[สีส้ม|ส้ม]] มีลาย[[สีดำ]]
พาดขวางตลอดทั้งลำตัวเป็นจุดเด่น ซึ่งลายเส้นนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เสือโคร่งแต่ละตัวจะมีลายไม่เหมือนกันเช่นเดียวกับ[[ลายนิ้วมือ]]ของมนุษย์ ส่วนหางมีแถบดำเป็นบั้ง ๆ หรือวงสีดำสลับน้ำตาล ปลายหางมีสีดำ โดยไม่มีพู่เหมือน[[สิงโต]] (''P. leo'') ซึ่งเป็นสัตว์ใน[[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]][[Panthera|เดียวกัน]] หางของเสือโคร่งมีความยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว ใช้สำหรับการทรงตัวโดยเฉพาะเวลากลับตัวกระทันหัน นอกจากนี้แล้วการขยับของหางเสือโคร่งยังสามารถใช้บ่งบอกถึงอารมณ์ ความรู้สึกเหมือนกับ[[แมวบ้าน]] (''Felis catus'') ใช้ในการสื่อสารกับเสือโคร่งตัวอื่น<ref name=บัน/> ขนใต้คาง คอ และใต้ท้องเป็น[[สีขาว]] ขนเหนือบริเวณตาเป็นสีขาวหรือเป็นแถบหรือเส้นสีดำพาดขวางเช่นกัน หลังใบหูมีสีดำและมีจุดสีขาวนวลอยู่ตรงกลาง อายุโดยเฉลี่ย 15-15–20 ปี
 
== พฤติกรรม ==
เสือโคร่งมีพฤติกรรมและอุปนิสัยชอบอยู่เพียงลำพังตัวเดียวโดด ๆ ยกเว้นในฤดู[[ร่วมเพศ|ผสมพันธุ์]]จึงจะจับคู่กัน อายุที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้นั้นคือ 3-3–5 ปี โดยตัวเมียจะเป็นสัดทุก ๆ 50 วัน และจะส่งเสียงร้องดังขึ้น ๆ และถี่ขึ้นเรื่อย ๆ การผสมพันธุ์ของเสือโคร่งนั้นใช้เวลาเร็วมาก คือ ใช้เวลาเพียง 15 [[วินาที]]เท่านั้น เมื่อเสร็จแล้วตัวผู้จะแยกจากไป และอาจไปผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวอื่น ตัวเมียที่[[ปฏิสนธิ]]แล้วจะ[[ตั้งท้อง]]นานประมาณ 105-105–110 วัน คลอดลูกครั้งละ 1-6 ตัว และจะเลี้ยงลูกเองตามลำพังโดยไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้ประมาณ 2 ปี
 
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสลับกับทุ่งหญ้าโล่ง ชอบ[[ว่ายน้ำ]]และแช่[[น้ำ]]มาก ซึ่งแตกต่างจากเสือสายพันธุ์อื่น ล่าเหยื่อได้ทั้ง[[กลางวัน]]และ[[กลางคืน]] แต่ส่วนใหญ่ในเวลากลางวันจะนอนพักผ่อน ล่าเหยื่อในเวลาเย็น พลบค่ำ กลางคืน หรือขณะที่อากาศไม่ร้อนจัด มีสายตาที่มองเห็นได้ทั้งที่มืดและสว่าง จะคืบคลานเข้าหาเหยื่อในระยะใกล้ 10-10–25 เมตร จนกระทั่งได้ระยะ 2-2–5 เมตร จึงกระโดดใส่ หากเป็นเหยื่อขนาดเล็กจะกัดที่คอหอย หากเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น [[เก้ง]] หรือ [[กวาง]] จะกัดที่ท้ายทอยหรือหลังด้านบน และอาจจะล่าได้ถึง[[ช้าง]] ในตัวที่เป็นยังลูกช้างหรือยังเป็นช้างที่ยังเล็กอยู่ โดยเสือโคร่งตัวที่ล่าช้างได้ ต้องเป็นเสือที่มีความเฉลียวฉลาดและพละกำลังพอสมควร จึงจะสามารถล่อลูกช้างให้พลัดออกจากโขลงได้ และเมื่อฆ่าจะกัดเข้าที่ลำคอเพื่อให้ตัดหลอดลม ซึ่งช้างตัวอื่น ๆ จะไม่กล้าเข้าไปช่วยได้แต่ยืนดูอยู่ห่าง ๆ และส่งเสียงร้อง เสือโคร่งจะยังไม่กินช้างหมดภายในทีเดียว แต่จะเก็บหรือทิ้งซากไว้และกลับมากินเรื่อย ๆ ในระยะเวลา 7–10 วัน<ref>หน้า 5, ''ตะลึงเสือกินช้างห้วยขาแข้ง''. '''มติชน'''ปีที่ 40 ฉบับที่ 14556: วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560</ref> เสือโคร่งวิ่งได้เร็วกว่า 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถกระโจนในระยะทาง 500 เมตรได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที<ref name="Tigers">''Tigers'', "Biggest & Baddest". สารคดีทางอนิมอล พลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พุธที่ 23 มกราคม 2556</ref>
 
เสือโคร่งมักจะกัดที่คอหอยเหยื่อจากทางด้านบนหรือด้านล่าง บางทีกระโดดตะปบหลังและตะปบขาหลังเหยื่อให้ล้มลงก่อนที่จะกัดคอหอย และเมื่อได้เหยื่อแล้ว จะเริ่มกินเนื้อบริเวณคอก่อน แล้วจึงมากินที่ท้องและกล้ามเนื้อหลัง โดยมักจะไม่กินหัวและขาของเหยื่อ เหยื่อที่เหลือจะถูกฝังกลบโดยใช้ใบไม้ หรือกิ่งไม้ หรือเศษหญ้า และตัวเสือโคร่งเองจะหลบนอนอบู่บริเวณใกล้ ๆ นั้น และบางตัวอาจคาบเหยื่อขึ้นไปขัดไว้ตามคบไม้เหมือน[[เสือดาว]] (''P. pardus'') ด้วยก็ได้ เสือโคร่งมีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรงมาก สามารถตามเหยื่อได้ไกลถึง 100-100–200 เมตร เพศผู้มีพื้นที่ในการหากินกว้างถึง 200-200–300 [[ตารางกิโลเมตร]] ขณะที่ตัวเมียมีเพียง 60 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เพื่อเลี้ยงตัวเองและลูกน้อย
 
นิสัยปกติจะหวงถิ่น โดยการหันก้น[[ปัสสาวะ]]รดตาม[[ต้นไม้]] โขดหิน เพื่อให้กลิ่นของตนเองติดอยู่ เพื่อประกาศอาณาเขตและสื่อสารกับเสือโคร่งตัวอื่น ซึ่งกลิ่นใหม่จะมีกลิ่นค่อนข้างหอม<ref name=บัน>{{cite web|title=บันทึกพงไพร|url= http://app.tv5.co.th/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87/|work=ช่อง 5|date=2017-01-15|accessdate=2017-01-15}}</ref> ในบางครั้งอาจจะข่วนเล็บกับเปลือกไม้ด้วยเพื่อเป็นการลับเล็บและประกาศอาณาเขต หากมีเสือโคร่งตัวอื่นหรือสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่รุกล้ำมา จะต่อสู้กัน โดยปกติแล้ว เสือโคร่งจะกลัว[[มนุษย์]] จะหลบหนีไปเมื่อพบกับมนุษย์ แต่จะทำร้ายหรือกินเนื้อมนุษย์ได้ เมื่อบาดเจ็บหรือจนตรอก หรือเป็นเสือที่อายุมากแล้วไม่สามารถล่าเหยื่อชนิดอื่นได้ หากได้กินเนื้อมนุษย์ก็จะติดใจและจะกลับมากินอีก จนกลายเป็นเสือกินคน<ref>[[นิตยสาร]] SM@RTPET ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 เดือน[[มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2545]] คอลัมน์ สัตว์ป่าน่ารู้ หน้า 201-213 โดย พัชรินทร์ ธรรมรส</ref>