ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GünniX (คุย | ส่วนร่วม)
<br /> using AWB
บรรทัด 19:
| พระราชสวามี =
| พระสวามี =
| พระโอรส/ธิดา = หม่อมเจ้าเล็ก โศภางค์ <br /> หม่อมเจ้าปิยสรรพางค์ โศภางค์ </br /> หม่อมเจ้าสุรางค์ศรี โศภางค์
| บุตร/ธิดา =
| ราชวงศ์ =[[ราชวงศ์จักรี]]
บรรทัด 32:
พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงรับราชการหลายตำแหน่ง ทรงเป็นเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอักษรพิมพการ (โรงพิมพ์หลวงอักษรพิมพการ สำนักงานพิมพ์หนังสือ[[ราชกิจจานุเบกษา]]) และอธิบดีกรมพยาบาล ทรงเป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้ง[[โรงพยาบาลศิริราช]]ร่วมกับ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] (ขณะยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ)
เมื่อครั้งที่พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช ทรงอยู่ในลำดับที่ได้รับกรมเป็นลำดับต่อจากกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เจ้ากรมพระอาลักษณ์คิดชื่อกรมไว้ว่า '''กรมหมื่นศุภกาพย์กวีการ''' แต่สิ้นพระชนม์เสียก่อนรับกรม ชื่อกรมนี้จึงสูญไป
 
เนื่องจากการทรงงานอย่างหนักในหลายหน้าที่ทั้งงานประจำและงานจร ทำให้พระพลานามัยของพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ทรุดลง แม้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพและบรรดาเจ้านายที่ทรงเป็นพี่น้องด้วยกันจะเคยทูลตักเตือนว่าทรงงานเกินพระกำลัง ควรแบ่งเบางานด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของกรมพยาบาลให้ผู้อื่นทำแทน แต่พระองค์ไม่ทรงรับฟังและตั้งพระทัยจะทรงงานถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อไป กระทั่งเมื่อแพทย์ตรวจพบว่าพระองค์ประชวรด้วย[[วัณโรค]]เนื่องจากพระปัปผาสะ (ปอด) พิการ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์จึงเสด็จประทับรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลศิริราช และตั้งพระทัยไว้ว่าหากรักษาไม่หายก็จะขอสิ้นพระชนม์ในโรงพยาบาล เพราะทรงผูกพันกับโรงพยาบาลศิริราชมาตั้งแต่ทรงเริ่มจัดตั้ง
 
เมื่อประชวรครั้งที่จะสิ้นพระชนม์นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ออกพระโอษฐ์ด้วยความตกพระทัยว่า "ไม่รู้เลยว่าใช้ศรีเกินกำลัง" และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จไปเยี่ยมพระอาการของพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ที่โรงพยาบาลศิริราชหลายครั้ง เป็นพยานแห่งพระเกียรติยศสูงสุดที่ได้ถวายงานสนองพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือน 11 แรม 2 ค่ำ ปีฉลูเอกศก จ.ศ. 1251 ตรงกับวันที่ [[11 ตุลาคม]] ร.ศ. 108 ([[พ.ศ. 2432]]) เวลาบ่าย 1 โมง 40 นาที (13.40 น.) พระชันษาได้ 27 ปี 2 เดือน 23 วัน คิดเป็นวันได้ 9,947 วัน พระศพได้ตั้งบำเพ็ญพระกุศล ณ วังสะพานถ่านของ[[กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ]] เนื่องจากก่อนเสด็จประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราชจนกระทั่งสิ้นพระชนม์นั้น พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ประทับอยู่ ณ ตำหนักแพที่บางยี่ขัน ยังมิทันได้สร้างวังของพระองค์เอง ได้มีการพระราชทานเพลิงพระศพตามประเพณี โดยพระราชทานเพลิงพระบุพโพเมื่อวันที่ [[10 กุมภาพันธ์]] ร.ศ. 108 ([[พ.ศ. 2433]] ตามปฏิทินปัจจุบัน) ณ [[วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร]] และพระราชทานเพลิงพระศพ ณ [[พระเมรุ]][[ท้องสนามหลวง]] เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน หลังจากนั้นจึงได้เชิญพระอัฐิของพระองค์ไปประดิษฐานไว้ที่หอพระนาก [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] ส่วนพระอังคารนั้นได้บรรจุไว้ที่วัดพระนามบัญญัติ ([[วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร]])
บรรทัด 62:
 
== อ้างอิง ==
* ราชกิจจานุเบกษา. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2432/029/248.PDF ''ข่าวสิ้นพระชนม์ [&#91;พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์]&#93;]''. เล่ม ๖, ตอน ๒๙, วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๒, หน้า ๒๔๘.
* ราชกิจจานุเบกษา. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2432/029/250.PDF ''ประวัติพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์'']. เล่ม ๖, ตอน ๒๙, วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๒, หน้า ๒๕๐.
* ราชกิจจานุเบกษา. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2432/046/400.PDF ''ข่าวพระราชทานเพลิงพระบุพโพ [&#91;พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์]&#93;]''. เล่ม ๖, ตอน ๔๖, วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๒, หน้า ๔๐๐.
* ราชกิจจานุเบกษา. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2432/047/403.PDF ''ข่าวพระเมรุท้องสนามหลวงต่อไป [&#91;พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์]&#93;]''. เล่ม ๖, ตอน ๔๗, วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๒, หน้า ๔๐๓.
* ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. [http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/index.php/history/2012-04-26-08-47-27/1747-2012-10-25-02-23-35 ''นิทานโบราณคดี'', ''เรื่องที่ 12 เรื่องตั้งโรงพยาบาล''. พิมพ์ครั้งที่ 10.] พระนคร: เขษมบรรณกิจ, พ.ศ. 2503. หน้า 241-267.