ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31:
รัฐธรรมนูญใน[[ประเทศสหรัฐอเมริกา|สหรัฐอเมริกา]]และ[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] ในภาษาของประเทศทั้งสอง คำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า Constitution ซึ่งแปลว่า การสถาปนา หรือการจัดตั้ง ซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือจัดตั้งรัฐนั่นเอง โดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร
 
== รัฐธรรมนูญในประเทศไทย ==
หลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงเป็นต้นมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี หรือกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีต่างมีกฎหมายสำคัญหลายฉบับซึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญประเภทหนึ่ง แต่กฎหมายเหล่านั้นกระจัดกระจายอยู่ในหลายแห่งไม่เป็นหมวดหมู่เรียบร้อย นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวมีลักษณะเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ การปกครองแผ่นดิน พระราชอำนาจในการตรากฎหมาย กฎหมายเกี่ยวกับขุนศาลตระลาการมากกว่าจะมีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญตามความเข้าใจในปัจจุบัน คือไม่มีบทจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไว้ <ref> วิษณุ เครืองาม, “กฎหมายรัฐธรรมนูญ”, (กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ), 2530, หน้า 172. </ref>
รัฐธรรมนูญในไทยมีครั้งแรกเมื่อปี [[พ.ศ. 2475]] หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบสมบูรณาธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย ในรัชสมัย [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยปัจจุบันถือเป็นฉบับที่ 20 รัฐธรรมนูญไทยมีอายุเฉลี่ย ฉบับหนึ่งเพียงละ 4 ปีเศษ ด้วย ด้วยอุปสรรคของการรัฐประหารในแต่ละช่วงที่ผ่านมาบนอำนาจของเกมการเมืองไทย<ref>[http://www.bbc.com/thai/thailand-38263329 85 ปี รัฐธรรมนูญไทย เมื่อไหร่จะหยุดรัฐประหารได้]</ref>
 
ในรัชสมัย [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] สืบเนื่องจากที่อังกฤษเข้ายึดเมืองมัณฑะเลย์ของพม่า เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์]] อัครราชทูตประจำกรุงปารีส ถวายรายงานและความเห็นต่อประเด็นปัญหานี้ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้เรียกประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสถานทูตในกรุงลอนดอนและกรุงปารีสเพื่อระดมความเห็น และได้จัดทำคำกราบบังคมทูลโดยมีเนื้อหาว่า ประเทศไทยควรเปลี่ยนหลักการพื้นฐานของการปกครองจาก “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาเป็น “ระบอบชาธิปไตย” และระบบคณะรัฐมนตรี คือคณะรัฐบาลที่ประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ เพื่อให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพในการรักษากฎหมายให้เกิดความสงบเรียบร้อย ควรปรับปรุงกฎหมายบ้านเมือง และให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงคณะผู้จัดทำคำกราบบังคมทูลว่าทรงขอบพระราชหฤทัย และทรงไม่อาจทำให้ลุล่วงได้ เนื่องมาจากความไม่พร้อมของบุคคลกรที่รับภารกิจ
 
ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้ทรงจัดให้มีการตั้ง[[ดุสิตธานี]]ขึ้นเพื่อทดลองเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น ซึ่งเทียบได้กับการปกครองจังหวัด โดยได้ทรงประกาศใช้ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี)พระพุทธศักราช 2461 <ref> บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, “กฎหมายรัฐธรรมนูญ”, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2551, หน้า 206-207. </ref> ขึ้นใช้บังคับในเขตจังหวัดดุสิตธานีด้วย
 
ต่อมาในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปณิธานอยู่แต่เดิมที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทยในวันที่ 6 เมษายน 2475 แต่เมื่อถึงเวลาก็มิได้พระราชทานเนื่องจากอภิรัฐมนตรีสภากราบบังคมทูลทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรจึงได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]เป็นระบอบ[[ประชาธิปไตย]]<ref> วิษณุ เครืองาม, “กฎหมายรัฐธรรมนูญ”, (กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ), 2530, หน้า 191. </ref> และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475<ref> พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 49, 27 มิถุนายน 2475, หน้า 166-179. </ref> ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475<ref> รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49, 10 ธันวาคม 2475, หน้า 529-551. </ref> ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศไทย
 
นับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือ [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560]] จำนวน 279 มาตรา ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2550 เป็นฉบับแรกใน [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]] (รัชกาลที่ 10) <rref>[ https://www.voicetv.co.th/read/478119 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ประกาศใช้แล้ว 279 มาตรา]</ref><ref>[http://www.bbc.com/thai/live/thailand-39503352 สด: การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20]</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==