ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเสมอภาคทางสังคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
 
อย่างไรก็ดี พึงตระหนักว่า หลักความเสมอภาคนั้นต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเหนือประโยชน์ส่วนบุคคล เช่น หากเกิดความวุ่นวายไม่สงบขึ้น [[รัฐ]]อาจจำเป็นต้องใช้มาตรการบางอย่างระงับเหตุ และการใช้มาตรการดังกล่าวอาจสะท้อนให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติและขัดต่อหลักแห่งความเสมอภาคได้ ในทางกลับกัน การจะอ้างประโยชน์สาธารณะที่ถือว่ากระทบต่อหลักแห่งความเสมอภาคที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยก เช่น [[เชื้อชาติ]] [[ศาสนา]] [[เพศ]] เป็นต้น ก็ไม่อาจทำได้ การเลือกปฏิบัติในเรื่องความเสมอภาคที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลต้องเป็นไปเพื่อมุ่งลดความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่ หรือการให้คุณในทางบวก เพื่อชดเชยให้คนที่มีสถานะด้อยกว่าบุคคล เท่าเทียมกันมากขึ้น หลักการนี้เกิดจากแนวคิดของ[[จอห์น เอฟ. เคนเนดี|ประธานาธิบดีเคนเนดี้]] (John F. Kennedy) และ[[ลินดอน บี. จอห์นสัน|ประธานาธิบดีจอห์นสัน]] (Lyndon B. Johnson) ของ[[สหรัฐอเมริกา]] โดยมีการตรากฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) ขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1964 และในปี ค.ศ. 1978 ศาลสูงสุด (Supreme Court) ของสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินในคดี Regents of University of California V. Bakke ว่าการที่มหาวิทยาลัยสำรองที่นั่ง 16% ของคณะแพทยศาสตร์ให้แก่นักศึกษาผิวสีเป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อหลักความเสมอภาค เนื่องจากถือเป็นการเลือกปฏิบัติที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่ นโยบายดังกล่าวของ[[จอห์น เอฟ. เคนเนดี|ประธานาธิบดีเคนเนดี้]] และ[[ลินดอน บี. จอห์นสัน|ประธานาธิบดีจอห์นสัน]] มีชื่อว่า “Affirmative Action” และยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีข้อถกเถียงและผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก
 
== ตัวอย่างในประเทศไทย ==
อภิชาต สถิตนิรามัย (2553) ทำวิจัยเรื่อง ใครคือคนเสื้อเหลือง-เสื้อแดง ได้ศึกษากลุ่มคนเสื้อแดงในจังหวัด[[อุบลราชธานี]] [[นครปฐม]] [[เชียงใหม่]] ผลงานการวิจัยพบว่า เหตุผลหลักในการเข้าร่วมและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงคือ ร้อยละ 28.13 เข้าร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงเพราะไม่ชอบปัญหา[[สองมาตรฐาน]] จากข้อมูลดังกล่าวนี้ อภิชาต สถิตนิรามัย ได้สรุปว่า ความคับข้องใจแรกของกลุ่มคนเสื้อแดงก็คือ ความคับข้องใจทาง[[การเมือง]]ที่เกิดมาจากการดูถูกดูแคลน ความรู้สึกว่าตนเองถูกเลือกปฏิบัติ ไม่มีความเสมอภาค<ref>อภิชาต สถิตนิรามัย (2553). เผยงานวิจัย "ใครคือคนเสื้อเหลือง - เสื้อแดง". เข้าถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 ใน http://prachatai.com/journal/2010/07/30362.</ref><ref>ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา (บรรณาธิการ) (2553). Red why : แดงทำไม. กรุงเทพฯ : โอเพ่นบุ๊กส์.</ref>
 
== อ้างอิง ==