ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผ้าขาวม้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 18:
 
คำบอกเล่าเกี่ยวกับความเชื่อของผ้าขาวม้ายังเกี่ยวข้องกับเรื่องเวทมนต์ ดังเรื่องเล่าเกี่ยวกับ หลวงพ่อพรหมวัดช่องแค ตำบลตากฟ้า อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ชาติภูมิเดิมเป็นชาวตำบลบ้านแพรก อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2477 ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญถึงรหัสปริศนาผ้าขาวม้าของชาวบ้าน จึงนำเอาผ้าขาวม้าของชาวบ้าน ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี ซึ่งมีรกรากจากชาวเวียงจันทน์ นำมาเสกด้วยพุทธาคม เป็น “ผ้าขาวม้ามหาเวทย์” เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ ชาวบ้านจะนำผ้าขาวม้ามาผูกไว้ที่เสาเอกแขวนไว้ที่ขื่อ ซึ่งมีความเชื่อว่าสามารถป้องกันขโมยวัว ควาย เป็ด ไก่ได้ บางแห่งนำไปขับไล่สิ่งไม่ดี เช่น นก หนู แมลง เพลี้ยกระโดด ไม่ให้ไปทำลายข้าวที่ตั้งไว้ในท้องไร่ท้องนา <ref>หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค. 2539.</ref>
 
ผ้าขาวม้าอยู่คู่กับคนไทยมาทุกยุคทุกสมัย   แม้โดยประวัติผ้าขาวม้าอาจไม่ใช่ผ้าของคนไทย แต่ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 900 ปีที่ผ่านไป ผ้าขาวม้าจัดเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ของไทยอย่างแท้จริง เพราะอย่างน้อยด้วยรูปลักษณ์และลวดลายที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องได้รวมไว้ทั้งศาสตร์แห่งสีสันและศิลป์แห่งลายผ้าไทยที่นำมาผสมผสานอย่างกลมกลืน อำนวยความสะดวกให้กับคนไทยมาหลายศตวรรษ โดยไม่มีทีท่าว่าจะสูญหายไปง่ายๆ เกี่ยวข้องกับวิถีดำรงชีวิตมากมายหลายอย่าง นับสิ่งมหัศจรรย์แห่งสายใยที่ถักทอไว้อย่างประณีต จากตำนานกาลเวลา และคุณค่าอันน่ายกย่อง สรุปได้ว่าประโยชน์ของผ้าขาวม้าใช้กันตั้งแต่เกิดจนตาย
 
        จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้นำผ้าขาวม้ามาออกแบบใช้เป็นเครื่องแต่งกายที่มีสีสันสวยงาม  พร้อมทั้งดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์คุณค่า  รักษาความเป็นไทย นอกจากนี้ทางจังหวัดยังมีการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้ข้าราชการทุกหมู่เหล่า หันมานิยมสวมใส่ผ้าขาวม้าเป็นเครื่องแต่งกาย  มีการถ่ายแฟชั่นผ้าขาวม้า  และรณรงค์ให้กลุ่มอาชีพทอผ้า อำเภอภาชี  อำเภอบางซ้าย และกลุ่มทอดผ้าต่างๆ หันมาทอดผ้าขาวม้าด้วยสีสันที่สะดุดตา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหัตถกรรมและอุตสาหกรรมครัวเรือนจนเรียกได้ว่า “Lifestyle  วัฒนธรรม  สีสันชูราศี แฟชั่นดี  ผ้าขาวม้า  เคียงคู่อยุธยา จากหัตถา สู่สากล”  การทอผ้าขาวม้าไม่ได้นิยมกันเพียงเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเท่านั้น  แต่ผ้าขาวม้านั้นทอกันทุกภูมิภาคในประเทศไทย ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย สู่การทอ ย้อมสี ประดิษฐ์ลวดลาย ‘ผ้าขาวม้า’ อันมีเอกลักษณ์ประจำแต่ละท้องถิ่น เป็นของดีประจำจังหวัด สร้างอาชีพและรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน อาทิ
 
== ภาคกลาง ==