ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหายาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 11:
'''มหายาน''' ({{lang-sa|महायान}}, {{lang-zh|大乘}}; {{lang-ja|大乗}}; {{lang-vi|Đại Thừa}}; {{lang-ko|대승}}) มาจากธาตุศัพท์[[ภาษาบาลี]]-[[ภาษาสันสกฤต|สันสกฤต]] มหา + ยาน แปลว่า '''พาหนะที่ใหญ่''' เป็นคำเรียกที่อาศัยการเปรียบเทียบ จากคำว่า '''[[หีนยาน]]''' ซึ่งแปลว่า พาหนะที่เล็ก ๆ มหายานยังมีความหมายว่า “ยานที่สูงสุด” ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน คำว่ามหายาน ไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่และสูงสุดเท่านั้น หากเป็นยานที่รื้อขนสรรพสัตว์ได้ทุกประเภททุกวัย รวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนาม เพื่อไปสู่พระ[[นิพพาน]] และยานนี้ยังหมายถึงยานที่จะไปถึง[[พุทธภูมิ]] แล้วสำเร็จเป็น[[พระสัมมาสัมพุทธเจ้า]]
 
คำว่า '''มหายาน''' จึงเป็นการเปรียบเทียบหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้น[[วัฏสงสาร]]ได้มากกว่าสาวกยาน ในคัมภีร์[[ปรัชญาปารมิตา|มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์]] คุรุ[[นาคารชุนะ]] ปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้อธิบายความหมายของมหายานไว้ว่า ''“พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุตติ ความรอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเพื่อตัวเอง และชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย”'' อันหมายความว่า ฝ่ายสาวกยานมุ่งเพียงความหลุดพ้นเป็นอรหันต์สิ้นกิเลสเฉพาะตน ไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นด้วย แต่ฝ่ายมหายานย่อมมีอุคมคติตรงกันข้าม กล่าวคือ ย่อมมุ่งพุทธภูมิมีปณิธานจะตรัสรู้เป็นพระพุทธะเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมดสิ้น อธิบายว่า พุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปมุ่งแต่สาวกภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า '''สาวกยาน''' ส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานย่อมมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้น จึงมีอีกชื่อว่า '''โพธิสัตวยาน''' หรือ '''พุทธยาน'''
 
ใน[[สัทธรรมปุณฑรีกสูตร]] ได้อธิบายความหมายของมหายานว่า “ถ้าสรรพสัตว์ได้สดับ[[ธรรม]]จากพระผู้มีพระภาค แล้วบังเกิดศรัทธาความเชื่อ ปสาทะความเลื่อมใส ได้วิริยะบำเพ็ญบารมีเพื่อสัพพัญญุตญาณอันเป็นธรรมชาติ ญาณอันปราศจากครูอาจารย์ ญาณแห่งพระตถาคต กำลังความกล้าหาญ มีความกรุณาปรารถนาต่อความสุขของสรรพสัตว์ บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์ต่อทวยเทพและมนุษย์ โปรดสรรพนิกรให้พ้นทุกข์ นั่นชื่อว่า มหายาน”
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มหายาน"