ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูหลาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
==ลักษณะ==
มีลักษณะคล้ายกับ[[งูเหลือม]] (''P. reticulatus'') ซึ่งเป็นงูใน[[สกุลงูเหลือม|สกุลเดียวกัน]] แต่มีขนาดเล็กกว่างูเหลือม โดยความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1-3 [[เมตร]] (พบใหญ่ที่สุด 5.18 เมตร [[น้ำหนัก]] 74 [[กิโลกรัม]] ที่[[Everglades National Park|อุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์]] [[สหรัฐอเมริกา]]<ref>[http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000099982 ฮือฮา! พบงูหลามยักษ์ยาวเกือบ 5.2 เมตรที่ฟลอริดา ชี้ตัวใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ จาก[[ผู้จัดการออนไลน์]]]</ref> ทำลายสถิติตัวที่มีความยาว 5 [[เมตร]] ใน[[ประเทศพม่า]])<ref>[http://www.thaisarn.com/th/news_reader.php?newsid=676452 จับงูหลามยักษ์ยาวกว่า 5 เมตรในพม่า มอบสวนสัตว์ย่างกุ้ง จากผู้จัดการออนไลน์]</ref> มีลำตัวที่อ้วนป้อมกว่า อีกทั้งหางก็สั้นกว่า และมีขีดที่บนหัวเป็น[[สีขาว]] เรียกว่า "ศรขาว" อีกทั้งมีสีสันและลวดลายที่แตกต่างจากงูเหลือม รวมทั้งอุปนิสัยที่ไม่ดุต่างจากงูเหลือม จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็น[[สัตว์เลี้ยง]]ของผู้ที่นิยมเลี้ยง[[สัตว์เลื้อยคลาน]]มากกว่า นิยมกันมากในตัวที่สีกลายเป็น[[ภาวะผิวเผือก|สีเผือก]]และลวดลายแตกต่างไปจากปกติ ซึ่ง[[สวนสัตว์นครราชสีมา]]นับเป็นสถานที่แห่งแรกของโลก ที่สามารถเพาะพันธุ์งูหลามเผือกได้สำเร็จ เมื่อเดือน[[เมษายน]] [[พ.ศ. 2553]]<ref>[http://www.ryt9.com/s/tpd/937852 เพาะสำเร็จแล้วงูหลามทองแท้]</ref>
[[Image:Python bivittatus Area.svg|thumb|left|แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (เขียว)]]
พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนเหนือของพม่า สำหรับใน[[ประเทศไทย]]พบได้ทุกภาคของประเทศ ยกเว้น [[ภาคใต้]] ออกไข่ครั้งละประมาณ 40 ฟอง ระยะฟักเป็นตัวประมาณ 2 เดือน มีอายุยืนประมาณ 15 ปี มีพฤติกรรมการหากินคล้ายคลึงกับงูเหลือม แต่มักจะหากินบนพื้นดิน ไม่ชอบขึ้น[[ต้นไม้]]หรือลง[[น้ำ]]เหมือนงูเหลือม<ref>[http://www.moohin.com/animals/reptiles-12.shtml งูหลาม]</ref> ถ้าหากลงน้ำก็สามารถว่ายน้ำได้ดี และสามารถหยุดลอยตัวบนผิวน้ำโดยไม่จม เพื่อพักผ่อนได้ด้วย อีกทั้งจากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์พบว่า งูหลามพม่าอาศัยอยู่ได้ดีในพื้นที่น้ำจืด, น้ำกร่อย แต่ไม่สามารถที่จะอยู่รอดได้ในน้ำทะเล เชื่อว่าในน้ำทะเลมีสารเคมีที่มีพิษต่อร่างกายงูหลามพม่า<ref>''งูหลามพม่า'', "สำรวจโลก" ทาง new)tv: วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557</ref>
 
เคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของ[[งูหลามอินเดีย]] (''P. molurus'') จากการศึกษาโดยละเอียดแล้ว ด้วยความแตกต่างในหลาย ๆ ส่วน ชนิดย่อย ''P. molurus bivittatus'' ที่เคยใช้ จึงถูกยกให้เป็นชนิดต่างหากและใช้ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างในปัจจุบัน <ref>'''Jacobs, H.J., M. Auliya & W. Böhme. 2009.''' Zur Taxonomie des Dunklen Tigerpythons, ''Python molurus bivittatus'' Kuhl, 1820, speziell der Population von Sulawesi. Sauria, 31(3): 5-16</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/งูหลาม"