ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์ซ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ซ่งเหยินจงเปลี่ยนเป็นซ่งเหรินจง
บรรทัด 114:
 
== การปฏิรูปที่ไร้ผล ==
ปี พ.ศ. 1565 [[ซ่งเจินจง]] ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ [[ซ่งเหยินจง]] (เหรินจง) (พ.ศ. 1565 – พ.ศ. 1606) ราชโอรสขึ้นครองราชย์ด้วยวัยเพียง 13 ปี ดังนั้นจึงมีหลิวไทเฮาคอยดูแลให้คำปรึกษาราชกิจ ต่อเมื่อ หลิวไทเฮาสิ้นพระชนม์ในปี [[พ.ศ. 1576]] ซ่งเหยินจงจึงเริ่มบริหารราชกิจด้วยตนเอง จากนั้นไม่นาน ราชสำนักซ่งเปิดศึกกับซีเซี่ยอีกครั้ง แต่ทัพซ่งก็ต้องแพ้พ่ายเสียหายกลับมา เป็นเหตุให้ซ่งเหยินจงมีดำริที่จะปรับปรุงกองทัพและการคลังครั้งใหญ่ ปี พ.ศ. 1586 ทรงแต่งตั้งฟ่านจ้งเยียน และคณะให้ดำเนินการปฏิรูประบบการปกครองภายใน แต่นโยบายปฏิรูปของฟ่านจ้งเยียนทำให้บรรดาขุนนางและกลุ่มตระกูลสูงศักดิ์เสียผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดเสียงคัดค้านมากมาย สุดท้าย การปฏิรูปดังกล่าวดำเนินการไปได้เพียงปีเศษก็ต้องล้มเลิกไป คณะทำงานปฏิรูปของฟ่านจ้งเยียนต่างทยอยถูกปลดจากตำแหน่งปลายรัชกาลซ่งเหยินจง หวังอันสือ ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งทางราชการไม่นาน ได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปแบบใหม่ โดยเสนอให้เร่งสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ ปรับปรุงระเบียบข้อกำหนดกฎหมาย และจัดการบริหารการคลังเสียใหม่ เป็นต้น แนวคิดของหวังอันสือแม้ว่าจะเป็นที่ชื่นชมอย่างมากในหมู่ปัญญาชน แต่ซ่งเหยินจงไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใดในรัชกาลของซ่งเหยินจงมีบุคคลสำคัญเช่น[[เปาบุ้นจิ้น]] [[เจ้า ยฺเหวียนหยั่น|อ๋อง 8แปด]] [[เสนาบดีอำมาตย์หวัง]] ฯลฯ
 
จวบจนปี พ.ศ. 1606 (ค.ศ. 1063) ซ่งเหยินจง ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ลง ซ่งอิงจงสืบราชบัลลังก์ต่อมาได้เพียง 4 ปี ก็สิ้นพระชนม์ลง โอรสของซ่งอิงจงขึ้นครองราชย์ต่อมาพระนามว่า ซ่งเสินจง โดยมีบทบาทสำคัญในการให้การสนับสนุนแนวคิดการปฏิรูปกฎหมายของหวังอันสือในเวลานั้น ปัญหาความขัดแย้งในสังคมและวิกฤตทางการเงินยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น หน่วยงานราชการของราชสำนักซ่งมีขนาดใหญ่โตขึ้นกว่าเมื่อครั้งต้นราชวงศ์ถึงกว่าสิบเท่า เพียงค่าใช้จ่ายแต่ละปีของกองทัพก็ครอบคลุมรายได้กว่าครึ่งจากท้องพระคลัง ดังนั้น ซ่งเสินจงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็ทรงแต่งตั้งให้หวังอันสือ เป็นผู้นำคณะปฏิรูปกฎหมายการปกครองใหม่ ระเบียบกฎหมายใหม่ของหวังอันสือ มุ่งเน้นการเก็บกวาดรายได้จากบรรดาพ่อค้า ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่ดินเข้าสู่ท้องพระคลัง ลดการผูกขาดอำนาจและอภิสิทธิ์ของกลุ่มตระกูลขุนนางชั้นสูง ขณะที่กลุ่มชาวนาและราษฎรทั่วไปลดภาระในการแบกรับภาษีและการเกณฑ์แรงงาน อีกทั้งมีการปรับปรุงระบบชลประทาน ทำให้กำลังการผลิตของสังคมโดยรวมพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง มีเงินเข้าท้องพระคลังเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตาม ระเบียบกฎหมายใหม่ยังต้องเผชิญกับกระแสการคัดค้านจากผู้เสียผลประโยชน์