ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันลอยกระทง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Itttikorn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 16:
}}
 
12ไอ้บ้าวันลอยกระทงไม่มีจริง
'''วันลอยกระทง''' เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวัน[[ขึ้น 15 ค่ำ]] [[เดือน 12]] ตาม[[ปฏิทินจันทรคติไทย]] ตาม[[ปฏิทินจันทรคติล้านนา]] มักจะตกอยู่ในราวเดือน[[พฤศจิกายน]] ตาม[[ปฏิทินสุริยคติ]]บางปีเทศกาลลอยกระทงก็จะมาตรงกับเดือนตุลาคมด้วย เช่นปี[[พ.ศ. 2544]]วันลอยกระทงปีนั้นตรงกับวันที่[[31 ตุลาคม]]และจะมาตรงกันอีกครั้งในปี[[พ.ศ. 2563]]
ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อ[[พระแม่คงคา]] บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอย[[พระพุทธบาท]]ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับ[[ประเทศไทย]]ประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป นอกจากนี้บางประเทศก็มีเทศกาลลอยกระทงด้วย เช่น [[ประเทศลาว]]มักจะลอยกระทงในวันออกพรรษา(ขึ้น15ค่ำ เดือน11)ในงาน[[ไหลเฮือไฟ]]ของลาว [[ประเทศกัมพูชา]] มีการลอยกระทง 2 ครั้ง คือลอยกระทงของหลวงกลางเดือน 11 ส่วนราษฎรทำกระทงเล็กและบรรจุอาหารไปด้วย ส่วนกลางเดือน 12 จะมีกระทงของหลวงเป็นกระทงใหญ่ ราษฎรจะไม่ได้ทำและกระทงนี้จะมีอาหารบรรจุลงไปด้วย โดยมีคติว่าเพื่อส่งส่วนบุญไปให้เปรต เทศกาลน้ำจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการแข่งเรือยาว การแสดงพุลดอกไม้ไฟ จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน [[ประเทศเมียนมาร์]] ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" ตกแต่งเป็นรูปคล้าย[[ดอกบัว]]บาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่[[เหรียญกษาปณ์]]ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมา[[พระแม่คงคา]]