ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พายุหมุนเขตร้อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
นำเนื้อหาเดิมที่ไม่มีอ้างอิงออก
บรรทัด 292:
 
ในช่วงปี[[ลานีญา]] พายุหมุนเขตร้อนจะก่อตัวในตำแหน่งของลิ่มกึ่งเขตร้อนซึ่งเคลื่อนไปทางตะวันตกทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยคุกคามให้แก่ประเทศ[[จีน]] และความรุนแรงที่มากขึ้นใน[[ฟิลิปปินส์]]<ref name="China">{{Cite journal | doi = 10.1175/1520-0442(2004)017<1419:IOENOE>2.0.CO;2| title = Impacts of El Niño–Southern Oscillation Events on Tropical Cyclone Landfalling Activity in the Western North Pacific| journal = Journal of Climate| volume = 17| issue = 6| pages = 1419| year = 2004| last1 = Wu | first1 = M. C.| last2 = Chang | first2 = W. L.| last3 = Leung | first3 = W. M.}}</ref>
 
== ชนิดและการกำหนดชื่อพายุเขตร้อน ==
{{บทความหลัก|การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน}}
 
'''พายุหมุนเขตร้อน'''เริ่มต้นการก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงซึ่งอยู่เหนือผิวน้ำทะเล ในบริเวณเขตร้อนและเป็นบริเวณที่กลุ่มเมฆจำนวนมากรวมตัวกันอยู่โดยไม่ปรากฏการหมุนเวียนของลม [[หย่อมความกดอากาศต่ำ]]กำลังแรงนี้ เมื่ออยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวยก็จะพัฒนาตัวเองต่อไป จนปรากฏระบบหมุนเวียนของลมอย่างชัดเจน ในซีกโลกเหนือทิศของลมเวียนเป็นวนทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุ พายุหมุนในแต่ละช่วงของความรุนแรงจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม ความเร็วลมในระบบหมุนเวียนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นลำดับ กล่าวคือ ในขณะเป็นพายุ[[ดีเปรสชัน]]ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าไม่เกิน 34 [[นอต]] ในขณะที่เป็น[[พายุโซนร้อน]]ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าอยู่ระหว่าง 34 – 64 นอต และในขณะเป็นพายุหมุนเขตร้อนหรือไต้ฝุ่น ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางจะมีค่าตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป ดังนั้นสามารถแบ่งชนิดของพายุเขตร้อนได้ดังนี้
 
# '''[[พายุดีเปรสชัน]]''' (Depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงสุด 34 นอต (17 เมตร/วินาที) (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นพายุหมุนเขตร้อนในระยะเริ่มก่อตัวหรือกำลังอ่อนกำลังลง<ref>http://tmd.go.th/met_dict_disp.php?id=391</ref>
# '''[[พายุโซนร้อน]]''' (Tropical Storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงสุด 34-64 นอต (17-32 เมตร/วินาที) (63-117 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงกว่าดีเปรสชัน<ref>http://tmd.go.th/met_dict_disp.php?id=421</ref>
# '''พายุหมุนเขตร้อน''' ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงสุด 64-129 นอต (17 เมตร/วินาที) (118-239 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นพายุหมุนที่มีกำลังสูงสุด
 
[[ไฟล์:Global tropical cyclone tracks-edit2.jpg|thumb|300px|การกระจายตัวของพายุหมุนเขตร้อนของโลกระหว่าง [[พ.ศ. 2528]] - [[พ.ศ. 2548]]]]
พายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]และมีความแรงของลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุมากกว่า 33 นอต จะเริ่มมีการกำหนดชื่อเรียก โดย[[องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก]]ได้จัดรายชื่อเพื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้เป็นสากล เพื่อทุกประเทศในบริเวณนี้ใช้เพื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวขึ้น โดยเรียงตามลำดับให้เหมือนกัน
 
ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2543]] เป็นต้นมา ได้เกิดระบบการตั้งชื่อพายุเป็นภาษาพื้นเมืองของแต่ละประเทศสมาชิกในแถบ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]ตอนบนและแถบ[[ทะเลจีนใต้]] 14 ประเทศ ได้แก่ [[กัมพูชา]] [[จีน]] [[เกาหลีใต้]] [[ฮ่องกง]] [[ญี่ปุ่น]] [[มาเลเซีย]] [[ไมโครนีเซีย]] [[ฟิลิปปินส์]] [[สหรัฐอเมริกา]] [[เวียดนาม]] และ[[ไทย]] โดยนำชื่อมาเรียงเป็น 5 สดมภ์ เริ่มจากกัมพูชาจนถึงเวียดนามในสดมภ์ที่ 1 เมื่อหมดแล้วให้เริ่มขึ้นสดมภ์ที่ 2 ถึง 5 แล้วจึงเวียนมาเริ่มที่สดมภ์ 1 อีกครั้ง จนกว่าจะมีการกำหนดชื่อพายุครั้งใหม่อีก
 
[[ประเทศไทย]]ได้รับผลกระทบจาก ''พายุหมุนเขตร้อน'' ที่ก่อตัวในบริเวณ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] และพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณ[[มหาสมุทรอินเดีย]] ซึ่งเราเรียกว่า ''ไซโคลน'' แม้พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะไม่เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ก็สามารถก่อความเสียหายต่อประเทศไทยได้เช่นกัน เมื่อทิศการเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณใกล้ประเทศไทยทางด้านตะวันตก ในกรณีของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและ[[ทะเลจีนใต้]]นั้นจะเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณต่างๆ ของประเทศแตกต่างกันตาม[[ฤดูกาล]]
 
== ลักษณะเฉพาะ ==
พายุไซโคลนหรือพายุหมุนเขตร้อนซึ่งจะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (32 เมตร/วินาที , 74 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป และมักจะมี “ตา” ซึ่งเป็นบริเวณที่ลมค่อนข้างสงบและมีความกดอากาศค่อนข้างต่ำอยู่กลางวงหมุน ตาพายุนี้จะเห็นได้ชัดเจนจาก[[ภาพถ่ายดาวเทียม]]เป็นวงกลมเล็กที่ไม่มีเมฆ รอบตาจะมีกำแพงล้อมที่มีขนาดกว้างประมาณ 16-80 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่มีพายุฝนและลมหมุนที่รุนแรงมากหมุนวนรอบๆ ตา
 
[[ไฟล์:Hurricane structure graphic.jpg|thumb|300px|โครงสร้างของพายุหมุนเขตร้อน]]
การเคลื่อนตัวของเมฆรอบศูนย์กลางพายุก่อตัวเป็นรูปขดวงก้นหอยที่เด่นชัด แถบหรือวงแขนที่อาจยื่นโค้งเป็นระยะที่ยาวออกไปได้มากในขณะที่เมฆถูกดึงเข้าสู่วงหมุน ทิศทางวงหมุนเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดว่าอยู่ ณ ส่วนใดของซีกโลกดังกล่าวแล้ว หากอยู่ซีกโลกเหนือ พายุจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ด้านซีกโลกใต้จะหมุนตามเข็มนาฬิกา ความเร็วสูงสุดของพายุหมุนเขตร้อนที่เคยวัดได้มีความเร็วมากกว่า 85 เมตร/วินาที (165 นอต, 190 ไมล์/ชั่วโมง, 305 กิโลเมตร/ชั่วโมง) พายุที่รุนแรงมากและอยู่ในระยะก่อตัวช่วงสูงสุดบางครั้งอาจมีรูปร่างของโค้งด้านในแลดูเหมือนอัฒจรรย์สนามแข่งขันฟุตปอลได้ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบางครั้งในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “ปรากฏการณ์อัฒจรรย์” (stadium effect)
 
วงหมุนที่เกิดผนังตาพายุจะเกิดตามปกติเมื่อพายุมีความรุนแรงมาก เมื่อพายุแรงถึงขีดสุดก็มักจะเกิดการหดตัว ของรัศมีกำแพงตาพายุเล็กลงถึงประมาณ 8-24 กิโลเมตร (5-15 ไมล์)ซึ่งบางครั้งอาจไม่เกิด ถึงจุดนี้เมฆฝนอาจก่อตัวเป็นแถบอยู่ด้านนอกแล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าวงในแย่งเอาความชื้นและแรงผลักดันหรือโมเมนตัมจากผนังตาพายุ ทำให้ความรุนแรงลดลงบ้าง (ความเร็วสูงสุดที่ผนังลดลงเล็กน้อยและความกดอากาศสูงขึ้น) ในที่สุดผนังตาพายุด้านนอกก็จะเข้ามาแทนผนังในจนหมด ทำให้พายุกลับมามีความเร็วเท่าเดิม แต่ในบางกรณีอาจกลับเร็วขึ้นได้ แม้พายุหมุนจะอ่อนตัวลงที่ปลายผนังตาที่ถูกแทนที่ แต่ที่จริงแล้วการเพิ่งผ่านปรากฏการณ์ลักษณะนี้ในรอบแรกและชะลอการเกิดในรอบต่อไป เป็นการเปิดโอกาสให้ความรุนแรงสะสมตัวเพิ่มขึ้นอีกได้ถ้ามีสภาวะที่เหมาะสม
 
== ดูเพิ่ม ==