ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอ่างทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้ไขคำผิด
Hnaue (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 43:
* '''หมู่บ้านจักสาน''' งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทองส่วนมากจะเป็นฝีมือของชาวอำเภอโพธิ์ทองแทบทุกครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสานเครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอินทประมูล เป็นต้น แหล่งหัตถกรรมเครื่องจักสานที่สำคัญได้แก่ "บางเจ้าฉ่า" ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า การเดินทาง ใช้เส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง ประมาณ 9 กม. ถึงคลองชลประทานยางมณี จากนั้นเลี้ยวขวาเลียบคลองไปอีกประมาณ 5 กม. จึงเลี้ยวขวาไปตามทางเข้าวัดยางทอง แหล่งหัตถกรรมจะตั้งอยู่บริเวณหลังวัด ที่นี่เป็นแหล่งเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยือนและได้พระราชทานคำแนะนำให้ราษฎรปลูกไม้ไผ่สีสุก เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำ จักสานให้มีปริมาณมากขึ้น ก่อนที่จะมีปัญหาการขาดแคลน งานจักสานของบางเจ้าฉ่านี้มีความประณีตสวยงามเป็นพิเศษ และสามารถพัฒนางานฝีมือตามความนิยมของตลาด จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพ นอกจากบางเจ้าฉ่าแล้ว ห่างจากอำเภอโพธิ์ทองไปอีกประมาณ ห 4 กม. ก็มีผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่เช่นเดียวกัน
 
* '''[[พระตำหนักคำหยาด]]''' อยู่ในท้องที่ตำบลคำหยาด ถัดจากวัดโพธิ์ทอง ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กม. บนถนนสายเดียวกัน ตัวอาคารตั้งโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา ก่อด้วยอิฐถือปูนขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร สภาพปัจจุบันมีเพียงฝนัง 4 ด้าน แต่ยังคงเห็นเค้าความสวยงามทางด้านศิลปกรรม เช่น ลอดลายประดับซุ้มจรนำหน้าต่าง ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า เมื่อ พ.ศ. 2451 ได้เสด็จมายังโบราณสถานแห่งนี้และมีพระราชหัตถเลขาอรรถาธิบายไว้ว่า เดิมทีมีพระราชดำริว่า ขุนหลวงหาวัด (เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต) ผนวชที่วัดโพธิ์ทองแล้วสร้างพระตำหนักแห่งนี้ขึ้นเพื่อจำพรรษา เนื่องจากมีชัยภูมิที่เหมาะสม ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นตัวพระตำหนักสร้างด้วยความประณีตสวยงามแล้วพระราชดำริเดิมก็เปลี่ยนไป ด้วยทรงเห็นว่าไม่น่าที่ขุนหลวงหาวัดจะทรงมีความคิดใหญ่โต สร้างที่ประทับชั่วคราวหรือที่มั่นในการต่อสู้ให้ดูสวยงามเช่นนี้ ดังนั้น จึงทรงสันนิษฐานว่า พระตำหนักนี้คงจะสร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เพื่อเป็นที่ประทับแรมเนื่องจากมีพระราชนิยมเสด็จประพาสเมืองแถบนี้อยู่เนือง ๆ เช่นเดียวกับที่[[พระเจ้าปราสาททอง]]ทรงสร้างที่ประทับไว้ที่บางปะอิน ขณะที่กรมขุนพรพินิตผนวชอยู่ที่[[วัดราชประดิษฐ์ประดิษฐสถิตมหาสีมาราม]] ได้ทรงนำข้าราชบริพารกับพระภิกษุที่จงรักภักดีต่อพระองค์ ออกจากพระนครศรีอยุธยามา จำพรรษาที่ วัดโพธิ์ทอง และประทับอยู่ที่พระตำหนักคำหยาดนี้เพื่อไปสมทบกับชาวบ้านบางระจัน ปัจจุบัน[[กรมศิลปากร]]ได้บูรณะ และขึ้นทะเบียนพระตำหนักคำหยาดเป็นโบราณสถานไว้แล้ว
 
* '''วังปลาวัดข่อย '''อยู่บริเวณแม่น้ำน้อยหน้าวัดข่อย หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์รังนก อยู่ห่างจากจังหวัดอ่างทอง ประมาณ 12 กม. ตามเส้นทางจังหวัดอ่างทอง-วิเศษชัยชาญ ก็จะพบป้ายวังปลาวัดข่อย แล้วเลี้ยวขวาลัดเส้นทางคลองส่งน้ำชลประทานไปอีกประมาณ 7 กม. ปลาที่วัดข่อยนี้มีปริมาณชุกชุมมาตั้งแต่สมัยพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อเข็ม) เป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2528 พระครูสรกิจจาทร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ปรับปรุงสถานที่ และประกาศ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำร่วมกับสำนักงานประมงอำเภอโพธิ์ทองและเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลรักษามิให้ปลาถูกรบกวน ปัจจุบันมีปลานานาพันธุ์ เช่น [[ปลาสวาย]] [[ปลาตะเพียน]][[ ปลาเทโพ]][[ ปลาแรด]][[ปลาบึก ]]ฯลฯ อาศัยอยู่รวมกันไม่ต่ำกว่า 50,000 ตัว ทางวัดได้จัดจำหน่ายอาหารปลาให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินกับการให้อาหารปลาและจัดสวนสัตว์ขนาดเล็ก ตลอดจนร้านจำหน่ายเครื่องดื่มไว้บริการอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดข่อยมี [[มณฑป]] [[พระวิหาร]][[ เจดีย์ ]][[พระอุโบสถ]][[ กุฏิ]][[ หอสวดมนต์ต์]][[ ศาลาการเปรียญ]]แบบทรงไทยโบราณซึ่งทำมาจากไม้สักเป็นเสาเหลี่ยม 8 เหลี่ยม [[ตะเกียง]] จาก[[กรุงวอชิงตัน]] เป็นตะเกียงโบราณ นาฬิกาโบราณ จาก[[ปารีส]] และตู้พระไตรปิฎกทำด้วยไม้สักจากประเทศจีนซึ่งมีในสมัยรัชกาลที่ 5 เรือซึ่งเป็นพาหนะที่ใช้ในการเดินทางมีแทบทุกชนิด ได้แก่ เรือบด เรือแจว เรือสำปั้น และเรือประทุน เปลกล่อมลูกในสมัยโบราณ มรดกชาวนาซึ่งได้รวบรวมเครื่องมือ เครื่องใช้ รวมทั้งอุปกรณ์ในการทำนา ได้แก่ [[เกวียน]] ล้อ คันไถ อุปกรณ์เครี่องมือการจับสัตว์น้ำ ไซดักปลา และศูนย์ผลิตข้าวซ้อมมือที่ชาวบ้านทำการจัดตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้น เพื่อทำการจำหน่ายให้แก่ประชาชน