ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''[[โทรทัศน์]]ใน[[ประเทศไทย]]''' ออกอากาศทางภาคพื้นดินเป็นช่องทางหลัก โดยแพร่ภาพผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งระยะแรกที่ออกอากาศ ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2498]] เริ่มใช้[[วีเอชเอฟ|ย่านความถี่สูงมาก]] (Very High Frequency; VHF) ซึ่งประกอบด้วย ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 2-4 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 5-12 จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2538]] จึงเริ่มใช้[[ยูเอชเอฟ|ย่านความถี่สูงยิ่ง]] (Ultra High Frequency; UHF) คือช่องสัญญาณที่ 26-60 (ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 26-34 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 35-60) ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศ จนถึง [[พ.ศ. 2517]] ใช้ระบบ[[สัญญาณแอนะล็อก]] ในการส่งแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (National Television System Committee; NTSC) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรม[[การคณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา]] (Federal Communications Committee; FCC ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเต็มเป็น Federal Communications Commission) ต่อมาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2510]] จึงเริ่มนำระบบการส่งแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที (Phase Alternating Line; PAL) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย [[คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยคลื่นวิทยุ]] (Consultative Committee on International Radio; CCIR ปัจจุบันคือ [[ภาควิทยุคมนาคมโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ]] หรือ International Telecommunication Union Radiocommunication Sector; ITU-R) เข้ามาใช้ในประเทศไทย และเริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ภายใต้ระบบดังกล่าวตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2513]] จนถึงปัจจุบัน
 
นอกจากนี้ ยังมีบริการ[[โทรทัศน์แห่งชาติ]] ภายใต้กำกับของ[[กรมประชาสัมพันธ์]] เริ่มจากส่วนภูมิภาคตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2502]] และเริ่มดำเนินการในส่วนกลางตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2528]] จนถึงปัจจุบัน จากนั้นก็เริ่มนำ[[โทรทัศน์ระบบดิจิทัล|ระบบดิจิทัล]] เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตรายการ และควบคุมการออกอากาศ ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2540]] และนำมาใช้กับกระบวนการส่งแพร่ภาพ ผ่านโครงข่าย[[อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2556]] จนถึงปัจจุบัน โดยจะยุติการออกอากาศด้วย[[สัญญาณแอนะล็อก]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2563]] เป็นต้นไป ส่วนระบบการออกอากาศด้วยช่องทางอื่น ซึ่งนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย ประกอบด้วย [[บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง]] (Multichannel multipoint distribution service; MMDS) ระหว่างปี [[พ.ศ. 2532]]-2556, ผ่าน[[คลื่นวิทยุ]][[ไมโครเวฟ]] ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2540, ผ่าน[[โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล|เคเบิลใยแก้วนำแสง]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2536]]-ปัจจุบัน, ผ่าน[[ดาวเทียมสื่อสาร|เครือข่ายดาวเทียม]] ระบบเคยู-แบนด์ ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2532]]-ปัจจุบัน; ระบบซี-แบนด์ ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2541]]-ปัจจุบัน อนึ่ง ภาคเอกชนสามารถประกอบการธุรกิจโทรทัศน์ ภายใต้การอนุมัติจากภาครัฐตามกฎหมาย โดยผ่านสายอากาศในส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 และผ่านเครือข่าย[[ดาวเทียม]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2545]] จนถึงปัจจุบัน
บรรทัด 5:
== ประวัติ ==
=== ก่อนกำเนิด (2492-2498) ===
[[ประเทศไทย]]เริ่มต้นรู้จัก สิ่งที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “[[Television]]”Television” เป็นครั้งแรกเมื่อปี [[พ.ศ. 2492]] [[สรรพสิริ วิรยศิริ]] ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของ[[กรมประชาสัมพันธ์]] เขียนบทความขึ้นบทหนึ่ง เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับ “[[วิทยุภาพ]]” อันเป็นเทคโนโลยีสื่อสารชนิดใหม่ของโลก ต่อมา[[กรมประชาสัมพันธ์]] ส่งข้าราชการของกรมฯ กลุ่มหนึ่ง ไปศึกษางานวิทยุโทรภาพที่[[สหราชอาณาจักร]] ในราวปี [[พ.ศ. 2493]] เมื่อเล็งเห็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติ กรมประชาสัมพันธ์จึงนำเสนอ “[[โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ]]” ต่อ[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล แปลก พิบูลสงคราม]] [[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรี]] เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล เมื่อปี [[พ.ศ. 2494]] แต่เนื่องจาก[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ส่วนมาก แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง ต่องบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์ จึงจำเป็นต้องยุติโครงการดังกล่าวลง
 
หลังจากนั้น [[ประสิทธิ์ ทวีสิน]] ประธานกรรมการ[[บริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด]] นำเครื่องส่งวิทยุโทรภาพ 1 เครื่อง เข้าทำการทดลองส่ง แพร่ภาพการแสดงดนตรี ของ[[วงดนตรีสากลกรมประชาสัมพันธ์]] จากห้องส่งวิทยุกระจายเสียง ของ[[สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย]] ภายในกรมประชาสัมพันธ์ โดยถ่ายทอดสดไปยังเครื่องรับจำนวน 4 เครื่อง ซึ่งตั้งไว้ภายในทำเนียบรัฐบาล, บริเวณใกล้เคียงกรมประชาสัมพันธ์ และบริเวณโถงชั้นล่างของ[[ศาลาเฉลิมกรุง]] เพื่อให้คณะรัฐมนตรีและประชาชนรับชม เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2495]] ซึ่งเครื่องส่งและเครื่องรับดังกล่าว มีน้ำหนักรวมกว่า 2,000 กิโลกรัม ซึ่งในระยะนี้เอง [[สื่อมวลชน]]ซึ่งต้องการนำเสนอ ถึงสิ่งที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Television” ดังกล่าวนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าควรเรียกเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร จึงกราบทูลถามไปยัง [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]] อดีตนายก[[ราชบัณฑิตยสถาน]] และ[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ]]ในขณะนั้น ด้วยทรงเป็น[[ศาสตราจารย์]]ทางอักษรศาสตร์ จึงทรงวิเคราะห์ศัพท์ดังกล่าว ก่อนจะทรงบัญญัติขึ้นเป็นคำว่า “[[วิทยุโทรทัศน์”โทรทัศน์]]” ซึ่งต่อมาประชาชนทั่วไป นิยมเรียกอย่างสังเขปว่า “โทรทัศน์”
 
โดยระหว่างเดือน[[กันยายน]]ถึง[[พฤศจิกายน]] ปีเดียวกัน มีรัฐมนตรีและข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์ กลุ่มหนึ่งรวม 7 คนซึ่งประกอบด้วย [[หลวงสารานุประพันธ์]], [[หม่อมหลวงขาบ กุญชร]], [[ประสงค์ หงสนันทน์]], [[เผ่า ศรียานนท์|พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์]], เล็ก สงวนชาติสรไกร, มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ[[เลื่อน พงษ์โสภณ]] ดำเนินการระดมทุน ด้วยการเสนอขายหุ้น ต่อกรมประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 11 ล้านบาท จึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอีก 8 แห่ง เป็นเงิน 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนจดทะเบียนจัดตั้ง ''[[บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด]]'' ({{lang-en|Thai Television Co.,Ltd.}} ชื่อย่อ: ท.ท.ท.) ขึ้นเมื่อวันที่ [[10 พฤศจิกายน]] ของปีดังกล่าว เพื่อรองรับการดำเนินกิจการ ส่งโทรทัศน์ในประเทศไทย อนึ่ง ในปีเดียวกันนั้น [[กระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)|กระทรวงกลาโหม]]ออกข้อบังคับว่าด้วย การมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่กองทัพบก โดยกำหนดให้กรม[[การกรมการทหารสื่อสาร]] (สส.) เพิ่มชื่อกองการกระจายเสียง เป็นกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อรองรับการจัดตั้ง แผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ เป็นหน่วยขึ้นตรงประจำกองดังกล่าว
 
ทั้งนี้ เมื่อถึงปีถัดมา ([[พ.ศ. 2496]]) กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการ จัดซื้อเครื่องส่งโทรทัศน์ เข้ามาสาธิตการแพร่ภาพ เพื่อให้ประชาชนทดลองรับชม ในโอกาสที่สำคัญต่างๆ อาทิเช่น ถ่ายทอดการแข่งขันชกมวยสากล ระหว่าง[[จำเริญ ทรงกิตรัตน์]] พบกับจิมมี เปียต รองชนะเลิศระดับโลก ในรุ่นแบนตัมเวต, ถ่ายทอดบรรยากาศงานวชิราวุธานุสรณ์ [[งานฉลองรัฐธรรมนูญ]] [[งานฉลองเทศกาลขึ้นปีใหม่]] เป็นต้น และยังนำไปทดลองถ่ายทอดที่[[จังหวัดพิษณุโลก]] ภายในงานประจำปีของ[[โรงพยาบาลพิษณุโลก]] ในปีถัดจากนั้น ([[พ.ศ. 2497]]) โดยทาง[[กองทัพบกไทย|กองทัพบก]] ก็มีการกำหนดอัตรากำลังพลเฉพาะกิจ ประจำแผนกโทรทัศน์ สังกัดกรมการทหารสื่อสาร จำนวน 52 นาย เพื่อปฏิบัติงานออกอากาศ[[โทรทัศน์]]ภาคพื้นดิน ผลิตและถ่ายทอด[[รายการโทรทัศน์]] ขึ้นในปีเดียวกัน และเมื่อวันที่ [[6 กันยายน]] [[เผ่า ศรียานนท์|พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์]] อธิบดี[[กรมตำรวจ]]ในขณะนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บจก.ไทยโทรทัศน์คนแรก เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีโทรทัศน์ของ [[บจก.]][[ไทยโทรทัศน์]] ภายในบริเวณ[[วังบางขุนพรหม]] ที่ทำการของ[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]]ในปัจจุบัน
 
=== โทรทัศน์ขาวดำ ระบบ[[สหรัฐฯ]] (2498-2510) ===
โดยในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ก็เริ่มทดลองส่งแพร่ภาพโทรทัศน์ไปพลางก่อน จากห้องส่งของ[[สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.]] ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสรรให้ [[บจก.]][[ไทยโทรทัศน์]] ดำเนินการเพื่อระดมทุนทรัพย์ สำหรับใช้ในการบริหารงาน และเพื่อฝึกฝนบุคลากรฝ่ายต่างๆ พร้อมทั้งเตรียมงานส่วนอื่นไปด้วย จนกว่าจะก่อสร้างอาคารที่ทำการ พร้อมติดตั้งเครื่องส่งเสร็จสมบูรณ์ ระหว่างนั้น คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เลือกใช้ ระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ซึ่งใช้อยู่ใน[[สหรัฐอเมริกา]] เป็นผลให้ [[บจก.]][[ไทยโทรทัศน์]] จัดซื้อเครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ ของ[[บริษัท เรดิโอ คอร์ปอเรชั่น ออฟ อเมริกา]] (Radio Corporation of America) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อย่อว่า อาร์.ซี.เอ. (RCA) มาใช้สำหรับการออกอากาศ และวางแผนดำเนินการแพร่ภาพ ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 4 ซึ่งเมื่อรวมกับชื่อสถานที่ตั้งสถานีฯ ดังกล่าวข้างต้น ในระยะต่อมา ผู้ชมทั่วไปจึงนิยมเรียกชื่อลำลองว่า ''ช่อง 4 บางขุนพรหม'' ซึ่งมีกำหนดเริ่มแพร่ภาพ ใน[[วันศุกร์]]ที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]] ซึ่งตรงกับ[[วันชาติ (ประเทศไทย)|วันชาติไทย]]ในสมัยนั้น
 
โดยมีจอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล แปลก พิบูลสงคราม]] [[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น]] เป็นประธานพิธีเปิด ''[[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4]]'' ({{lang-en|Thai Television Channel 4}} [[อักษรย่อ|ชื่อย่อ]]: ไทย ที.วี. ชื่อรหัส: HS1-TV) ขึ้นเป็นแห่งแรกของ[[ประเทศไทย]] และแห่งแรกของทวีปเอเชีย บน[[ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่]] (Asia Continental) ต่อมาในวันที่ [[25 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2500]] [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] [[ผู้บัญชาการทหารบก]]ในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง ''[[คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]]'' ประกอบด้วย [[ไสว ไสวแสนยากร|พลเอก ไสว ไสวแสนยากร]] ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการ และ[[การุณ เก่งระดมยิง|พันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง]] เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ''โครงการจัดตั้ง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]]'' พร้อมทั้งวางแผนอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงให้อำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผล ตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ [[24 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีฯ ภายในบริเวณ[[กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์]] สนามเป้า [[ถนนพหลโยธิน]] แขวงสามเสนใน [[เขตพญาไท]] โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนก่อสร้างและจัดหาอุปกรณ์ เป็นจำนวน 10,101,212 บาท
 
เมื่อ[[วันเสาร์]]ที่ [[25 มกราคม]] [[พ.ศ. 2501]] ''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]]'' (ชื่อรหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.) เริ่มต้นออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เป็นแห่งที่สองของประเทศไทย ด้วยรถตู้ถ่ายทอดนอกสถานที่ ซึ่งจอดไว้บริเวณหน้า[[สวนอัมพร|อาคารสวนอัมพร]] โดยแพร่ภาพขาวดำ ด้วยระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมากเช่นกัน แต่ออกอากาศทางช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งโทรทัศน์ ของบริษัทปายแห่งอังกฤษ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ ทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ สำหรับเนื้อหาที่แพร่ภาพนั้น ไทยทีวีช่อง 4 นำเสนอรายการประเภทสนทนา, ตอบคำถามชิงรางวัล และการแสดงประเภทต่างๆ รวมถึงละครโทรทัศน์ ซึ่งออกอากาศตามปกติแล้ว รัฐบาลยังสั่งให้นำเสนอรายการพิเศษ ในโอกาสที่สำคัญต่างๆ หลายครั้งเช่น แถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี, ถ่ายทอดการประชุม[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]]หลายครั้ง รวมทั้งถ่ายทอดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษด้วย ส่วน ททบ.7 นำเสนอรายการประเภท[[สารคดี]], [[ภาพยนตร์]][[ต่างประเทศ]] และเปิดแผ่นป้ายชิงรางวัล ร่วมกับรายการพิเศษ เช่นถ่ายทอดการฝึกทหารยามปกติในชื่อ "[[การฝึกธนะรัชต์]]" เป็นต้น
 
คณะรัฐมนตรีลงมติเมื่อปี [[พ.ศ. 2502]] อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานระดับกอง สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ ขึ้นในส่วนภูมิภาค ภายใต้ชื่อว่า “[[ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต]]” (ปัจจุบันคือ [[สำนักประชาสัมพันธ์เขต]]) พร้อมทั้งเริ่มจัดตั้ง [[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค|สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย]] ภายในที่ทำการ ของศูนย์ประชาสัมพันธ์เขตทั้งสามแห่ง ด้วยงบประมาณลงทุน 25 ล้านบาท ซึ่งทยอยเริ่มออกอากาศ ตั้งแต่ราวเดือน[[เมษายน]]-[[พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2505]] และใช้เครื่องส่งขนาด 500 วัตต์ ด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที เช่นเดียวกับในส่วนกลาง ประกอบด้วย สทท.[[จังหวัดลำปาง]] ใน[[ภาคเหนือ]] ทางช่องสัญญาณที่ 8, สทท.[[จังหวัดขอนแก่น]] ใน[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] ทางช่องสัญญาณที่ 5 และ สทท.[[จังหวัดสงขลา]] ใน[[ภาคใต้]] ทางช่องสัญญาณที่ 9 ต่อมาภายหลัง กรมประชาสัมพันธ์ทยอยดำเนินการ ปรับปรุงเครื่องส่งให้เป็นระบบแพร่ภาพสีทั้งหมด ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 12 แห่งคือ ภาคเหนือ ที่[[จังหวัดเชียงใหม่]] และ[[จังหวัดพิษณุโลก]], ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น และ[[จังหวัดอุบลราชธานี]], [[ภาคกลาง]] ที่[[จังหวัดกาญจนบุรี]], [[ภาคตะวันออก]] ที่[[จังหวัดจันทบุรี]], ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา [[จังหวัดยะลา]] [[จังหวัดภูเก็ต]] [[จังหวัดตรัง]] [[จังหวัดนครศรีธรรมราช]] และ[[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]]
บรรทัด 36:
 
=== ปรับปรุงพัฒนา (2517-2527) ===
ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 [[บจก.]][[ไทยโทรทัศน์]] เริ่มแพร่ภาพด้วยระบบ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที ในระบบวีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 9<ref>หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย (หน้า 24)</ref> ซึ่งเป็น[[ภาพสี]]หรือ[[ขาวดำ]] ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่แพร่ภาพ ด้วยเครื่องส่งที่ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ มอบให้ตามที่ระบุในสัญญา คู่ขนานไปกับไทยทีวีช่อง 4 ด้วยภาพขาวดำทั้งช่อง โดยเริ่มออกอากาศภาพสี เป็นครั้งแรกทางช่อง 9 คือถ่ายทอดสดการแข่งขัน [[ฟุตบอลโลก]][[ฟุตบอลโลก 1970|ครั้งที่ 9]] นัดชิงชนะเลิศ ระหว่าง[[ฟุตบอลทีมชาติบราซิล|ทีมชาติบราซิล]] กับ[[ฟุตบอลทีมชาติอิตาลี|ทีมชาติอิตาลี]] ซึ่งเวลาประเทศไทย ตรงกับเช้า[[วันจันทร์]]ที่ [[22 มิถุนายน]] ทว่าในระยะเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายห้องส่งโทรทัศน์ รวมถึงสำนักงานทั้งหมด ไปยังอาคารพาณิชย์ขนาด 5 คูหาย่าน[[ถนนพระสุเมรุ]] แขวงบางลำพู เนื่องจาก[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]] เสนอซื้ออาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด บนที่ดินบริเวณที่ทำการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ก่อนจะยุติการแพร่ภาพระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 4 หลังจาก[[วันอาทิตย์]]ที่ [[30 มิถุนายน]] พ.ศ. 2517 พร้อมทั้งปรับปรุงการแพร่ภาพ ในระบบ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 9 เป็นโทรทัศน์สีอย่างสมบูรณ์<ref>หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย (หน้า 24)</ref>
 
ขณะที่เมื่อปี พ.ศ. 2516 ททบ.ก็อนุมัติให้แก้ไขระยะเวลาเช่าช่วง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตามที่ระบุในสัญญาซึ่งทำไว้กับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ออกไปเป็น 15 ปีจนถึง [[พ.ศ. 2527]] และตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ [[3 ตุลาคม]] พ.ศ. 2517 ททบ.ยังเปลี่ยนการส่งแพร่ภาพ จากระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 7 ไปใช้ระบบ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 5 จากนั้นเมื่อ[[วันอังคาร]]ที่ [[3 ธันวาคม]] ปีเดียวกัน ก็เริ่มทดลองออกอากาศด้วยภาพสีเป็นครั้งแรก ด้วยการถ่ายทอด [[พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์]] เนื่องใน[[พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา]]ประจำปี จากบริเวณ[[ลานพระราชวังดุสิต]] และเมื่อปี [[พ.ศ. 2518]] ยังเพิ่มกำลังส่งออกอากาศ สถานีหลักที่สนามเป้า จาก 200 เป็น 400 กิโลวัตต์ รวมทั้งเริ่มออกอากาศเป็นภาพสีอย่างสมบูรณ์ทั้งช่องด้วย
 
สืบเนื่องจาก[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์นองเลือด]] [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]] [[สรรพสิริ วิรยศิริ]] ซึ่งขณะนั้นเป็นกรรมการผู้จัดการ บจก.[[ไทยโทรทัศน์]] นำกล้องภาพยนตร์ออกถ่ายทำข่าวบริเวณ[[ท้องสนามหลวง]] โดยเฉพาะส่วนหน้า[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์นองเลือดรุนแรงที่สุด แล้วกลับไปล้างฟิล์มและตัดต่อด้วยตนเอง เพื่อนำออกเป็นรายงานข่าว ทั้งทางไทยทีวีสีช่อง 9 และวิทยุ ท.ท.ท. อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง จึงทำให้เขา, ราชันย์ ฮูเซ็น และลูกน้องอีกสองสามคน ถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งใน บจก.ไทยโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 9 และวิทยุ ท.ท.ท. กอปรกับประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก เป็นผลให้คณะรัฐมนตรีลงมติยุบเลิก บจก.ไทยโทรทัศน์ เมื่อวันที่ [[3 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2520]] แล้วจึงมี[[พระราชกฤษฎีกา]]จัดตั้ง ''[[องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]]'' (อังกฤษ: The Mass Communication Organisation of Thailand ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็น[[รัฐวิสาหกิจ]] ในสังกัด[[สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)|สำนักนายกรัฐมนตรี]] ประกาศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม โดยให้รับโอนกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของ บจก.[[ไทยโทรทัศน์]] คือ[[สถานีวิทยุ อสมท|สถานีวิทยุ ท.ท.ท.]] และ[[ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี|สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9]] เพื่อดำเนินงานต่อไป ตั้งแต่วันที่ [[9 เมษายน]] ปีเดียวกัน ซึ่งถือเป็นวันสถาปนา [[อ.ส.ม.ท.]]
 
เมื่อวันที่ [[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2521]] อ.ส.ม.ท.อนุมัติให้ขยายอายุสัญญา ดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์กับ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ออกไปอีก 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม [[พ.ศ. 2523]] ถึงวันที่ [[25 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2533]] และในปี พ.ศ. 2521 นั้นเอง ททบ.ร่วมกับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ เช่าช่องสัญญาณ[[ดาวเทียม]]ปาลาปา]]ของ[[อินโดนีเซีย]] เพื่อถ่ายทอดสัญญาณจากกรุงเทพมหานคร ไปสู่สถานีเครือข่ายทุกภูมิภาค เป็นสถานีแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเช่าสัญญาณ[[ดาวเทียมนานาชาติ]] (อินเทลแซท) ถ่ายทอดภาพข่าวจากทั่วโลกมายังประเทศไทย พร้อมทั้งจัดตั้ง สถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ<ref name="profile1"/> ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2525]] คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก อนุมัติให้ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ทำการแก้ไขอายุสัญญาเช่า สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ออกไปอีก 12 ปี เป็นเวลารวม 27 ปี จนถึงปี [[พ.ศ. 2539]] อนึ่ง หลังจากที่วงการบันเทิง จัดให้มีรางวัลผลงานภาพยนตร์ดีเด่น ต่อมาวงการโทรทัศน์ ก็มีการสถาปนา งานประกาศผลและมอบรางวัล ผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ ''[[รางวัลเมขลา|เมขลา]]'' โดย[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2523]] และ''[[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ|โทรทัศน์ทองคำ]]'' โดยชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ และ[[จำนง รังสิกุล|มูลนิธิจำนง รังสิกุล]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2529]] และสถาบันทั้งสองยังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้งเป็นต้นแบบให้แก่อีกหลายรางวัล ซึ่งทยอยก่อตั้งขึ้นอีกในระยะหลัง
 
=== กำเนิดโทรทัศน์แห่งชาติ (2528-2535) ===
[[วันอังคาร]]ที่ [[15 มกราคม]] [[พ.ศ. 2528]] [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43|คณะรัฐมนตรี]]มีมติให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดทำ''โครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ'' เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อ[[การศึกษา]] เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของ[[ราชการ]]สู่[[ประชาชน]] และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่าง[[รัฐบาล]]กับประชาชน ตลอดจนเป็นแม่ข่ายให้แก่โทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ โดยกรมประชาสัมพันธ์เริ่มดำเนินการดังกล่าว ด้วยการเคลื่อนย้ายเครื่องส่งโทรทัศน์สี จากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ที่[[อำเภอเด่นชัย]] [[จังหวัดแพร่]] เข้ามาติดตั้งภายในอาคารศูนย์ระบบโทรทัศน์ ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร เพื่อทดลองออกอากาศ ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมากช่วงสูง ทางช่องสัญญาณที่ 11 เมื่อราวต้นเดือน[[ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2528]] ภายใต้ชื่อ ''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย]]'' (สทท.)<ref>[http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=11397 ขุดกรุ:จากสถานี HS1PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ]* (บางส่วน) จากเว็บไซต์รถไฟไทยดอตคอม</ref> ก่อนจะแพร่ภาพเป็นประจำทุกวัน ระหว่างเวลา 16:30-21:00 น. ตั้งแต่วันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2529]]
 
ทั้งนี้ระหว่างปี [[พ.ศ. 2528]]-[[พ.ศ. 2531|2531]] [[บริษัท แปซิฟิก คอร์ปอเรชั่น จำกัด]] (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น [[บจก.]][[บริษัท แปซิฟิกอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด]]) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดย[[ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา]] เจ้าของกิจการนิตยสารดิฉัน ตอบรับคำเชิญของประมุท สูตะบุตร ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.คนแรก ที่ขอให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ''[[ข่าว 9 อ.ส.ม.ท.]]'' โดยกำหนดให้[[อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง]] เป็นผู้ประกาศในรายการ "ข่าวรับอรุณ" ซึ่งเป็นรายการข่าวภาคเช้า ที่ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาค[[เอเชียอาคเนย์]] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 และมอบหมายให้[[สมเกียรติ อ่อนวิมล]] อาจารย์ประจำ[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะรัฐศาสตร์]] [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น เป็นหัวหน้าผู้ประกาศข่าวภาคค่ำ ร่วมด้วย[[กรรณิกา ธรรมเกษร]] ซึ่งเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 9 อยู่เดิม จนกระทั่งกลายเป็นผู้ประกาศข่าวคู่ ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของยุคนั้น รวมทั้งสร้างชื่อเสียงให้แก่[[ผู้ประกาศข่าว]] และ[[ผู้สื่อข่าว]]หลายคน เช่น[[วิทวัส สุนทรวิเนตร์]], [[ฤดีมาศ ปางพุฒิพงศ์]], [[สาธิต ยุวนันทการุญ]], [[ศศิธร ลิ้มศรีมณี]], [[นิรมล เมธีสุวกุล]], [[ยุพา เพ็ชรฤทธิ์]], [[สุริยนต์ จองลีพันธ์]] เป็นต้น
 
ต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติ โครงการช่วยเหลือกรมประชาสัมพันธ์ แบบให้เปล่าภายใต้วงเงิน 2,062 ล้านเยน (ขณะนั้นคิดเป็นประมาณ 300 ล้านบาท) ผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการ จัดซื้อและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ ระหว่างวันที่ [[13 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2530]] ถึงวันที่ [[28 มีนาคม]] พ.ศ. 2531 รวมระยะเวลาประมาณ 9 เดือน เนื่องจากงบประมาณของกรมประชาสัมพันธ์มีข้อจำกัด รวมทั้งเครื่องส่งโทรทัศน์มีกำลังต่ำ โดยระหว่างนั้น สทท.ต้องหยุดออกอากาศชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ [[1 พฤศจิกายน]] และในวันที่ [[16 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน อ.ส.ม.ท.ทำสัญญาขยายเครือข่ายโทรทัศน์ทั่วประเทศร่วมกับ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เพื่อดำเนินการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ พร้อมทั้งอุปกรณ์ออกอากาศร่วมกัน ระหว่างไทยทีวีสีช่อง 3 และไทยทีวีสีช่อง 9 จำนวนทั้งหมด 31 แห่ง ในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ต้นเดือน[[มิถุนายน]] พ.ศ. 2531-[[กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2534]] เพื่อแลกกับการอนุมัติให้ขยายอายุสัญญา ดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ออกไปอีก 30 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2533-25 มีนาคม [[พ.ศ. 2563]] เป็นผลให้ทั้งสองช่อง สามารถออกอากาศครอบคลุมถึงร้อยละ 89.7 ของพื้นที่ประเทศไทย คิดเป็นศักยภาพของการให้บริการถึงร้อยละ 96.3 ของจำนวนประชากร<ref name="history"/><ref name="managermag"/> โดยรับสัญญาณจากสถานีส่งหลักในกรุงเทพมหานคร ผ่านช่องสัญญาณดาวเทียมอินเทลแซต และเครื่องรับสัญญาณไมโครเวฟ จาก[[ดาวเทียมสื่อสาร]]ของไทย
 
ต่อมาใน[[วันจันทร์]]ที่ [[11 กรกฎาคม]] พ.ศ. 2531 เวลา 10:00 นาฬิกา [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 90 [[ถนนเพชรบุรีตัดใหม่]] แขวงบางกะปิ [[เขตห้วยขวาง]] อย่างเป็นทางการ<ref>[http://www.ohmpps.go.th/documents/BR2531020/pdf/T0011_0006.pdf ข่าวพระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530-กันยายน พ.ศ. 2531 บทที่ 11 หน้า 6] จาก[[เว็บไซต์]][[สำนักราชเลขาธิการ]]</ref> จากนั้นเป็นต้นมา สทท.จึงกำหนดให้วันดังกล่าว เป็นวันคล้ายวันสถาปนาสถานีฯ ต่อมาจึงเริ่มกลับมาออกอากาศ ข่าวภาคเช้า ข่าวภาคค่ำ รายการเพื่อการศึกษา และรายการประเภทอื่น ไปยังสถานีเครือข่ายส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ [[1 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบัน อนึ่งก่อนหน้านั้น เมื่อ[[วันอาทิตย์]]ที่ [[28 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2524]] เวลา 09:25 นาฬิกา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการ [[อ.ส.ม.ท.]] บนเนื้อที่ 14 ไร่ เลขที่ 63/1 [[ถนนพระรามที่ 9]] แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง ซึ่งมีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด ในประเทศไทยขณะนั้น<ref>[http://www.ohmpps.go.th/documents/BR2524013/pdf/T0010_0010.pdf ข่าวพระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523-กันยายน พ.ศ. 2524 บทที่ 10 หน้า 10] จาก[[เว็บไซต์]][[สำนักราชเลขาธิการ]]</ref>
 
=== กำเนิดโทรทัศน์เสรี ข่าวทีวีบูม (2535-2540) ===
บรรทัด 57:
สืบเนื่องจากเหตุการณ์[[พฤษภาทมิฬ]] ซึ่งเกิดขึ้นในเดือน[[พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2535]] ประชาชนทั่วไปเชื่อกันว่า มีการใช้อำนาจรัฐในขณะนั้น เพื่อบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมขับไล่[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 48|รัฐบาล]] [[สุจินดา คราประยูร|พลเอก สุจินดา คราประยูร]] จึงทำให้ผู้ชมโทรทัศน์ของภาครัฐ ไม่สามารถรับรู้ความเป็นจริง เกี่ยวกับ[[การก่อการกำเริบโดยประชาชน|วิกฤตการณ์ทางการเมือง]]ขณะนั้นได้ตามปกติ [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 49|รัฐบาลหลังจากนั้น]]จึงมีดำริในการจัดตั้ง สถานีโทรทัศน์เสรี เพื่อนำเสนอข่าวสารและสาระความรู้ ไปสู่ประชาชนทั่วประเทศ ด้วยการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเช่าสัมปทาน เพื่อให้มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง
 
โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดสรรช่องสัญญาณที่ 26 ในย่านความถี่สูงยิ่ง เพื่อเปิดการประมูลสัมปทาน ให้เข้าดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์เสรี เมื่อปี [[พ.ศ. 2538]] ซึ่งผู้ชนะได้แก่ กลุ่ม[[บริษัท สยามทีวี แอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด]] ที่มี[[ธนาคารไทยพาณิชย์|ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)]] เป็นองค์กรนำ จึงเข้าเป็นผู้ดำเนินโครงการสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าว ซึ่งมีการก่อตั้ง[[บริษัท สยาม อินโฟเทนเมนต์ จำกัด]]ขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นนิติบุคคลผู้ดำเนินกิจการนี้ และร่วมลงนามในสัญญาสัมปทาน กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ [[3 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน โดยตั้งชื่อสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ว่า ''[[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]]'' และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ [[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2539]] โดยวางนโยบายให้ความสำคัญ กับรายการข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ กลุ่มสยามอินโฟเทนเมนต์ มอบหมายให้เครือเนชั่น ซึ่งเข้าร่วมถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 เช่นเดียวกับนิติบุคคลผู้ถือหุ้นรายอื่น เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดรายการข่าว พร้อมทั้งส่งเทพชัย หย่อง มาดำรงตำแหน่ง บรรณาธิการข่าวไอทีวีคนแรก เพื่อฝึกอบรมผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าว ส่งผลให้ข่าวไอทีวีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รวมถึงได้รับรางวัลมากมาย ตลอดระยะเวลา 11 ปีเศษของสถานีฯ
 
เป็นที่น่าสังเกตว่า นับแต่ช่วงเวลาก่อนหน้านี้ ผู้ชมให้ความสนใจรายการประเภทสนทนาเชิงข่าว (news talk) กระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในยุคดังกล่าว อาทิ ''[[สนทนาปัญหาบ้านเมือง]]'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี [[พ.ศ. 2524]] โดยกรมการทหารสื่อสารเป็นเจ้าของรายการ ออกอากาศทาง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]] และ[[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]], ''มองต่างมุม'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี [[พ.ศ. 2532]] โดยมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์เป็นเจ้าของรายการ [[เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง|ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง]] เป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทาง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11]], ''เนชั่นนิวส์ทอล์ก'' (เดิมจะให้ชื่อว่า "เฟซเดอะเนชั่น; Face the Nation" แต่เมื่อเริ่มออกอากาศจริง ก็เปลี่ยนเป็นชื่อดังกล่าว) ซึ่งเริ่มจัดขึ้นเมื่อวันที่ [[4 มกราคม]] [[พ.ศ. 2536]] โดย[[บริษัท แน็ทค่อน มีเดีย จำกัด]] ในเครือ[[หนังสือพิมพ์]][[เดอะ เนชั่น (ประเทศไทย)|เดอะเนชั่น]] ([[บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)]] ในปัจจุบัน) เป็นเจ้าของรายการ [[สุทธิชัย หยุ่น]] เป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทาง[[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.]], ''ตรงประเด็น'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2536 โดย[[สำนักข่าวไทย]]ของ อ.ส.ม.ท. เป็นเจ้าของรายการ ถวัลย์ศักดิ์ สุขะวรรณ ผู้อำนวยการสำนักข่าวไทยขณะนั้น เป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., ''กรองสถานการณ์'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2536 โดย[[สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์]]เป็นเจ้าของรายการ สมฤทธิ์ ลือชัย กับอดิศักดิ์ ศรีสม เป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทาง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11|สทท. 11]] (แทนที่รายการมองต่างมุม) เป็นต้น
 
=== ยุคปรับตัวเพื่ออยู่รอด (2540-2550) ===
{{โครง-ส่วน}}
[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]] จัดตั้ง[[ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก|สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม [[ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก]] ออกอากาศ 177 ประเทศทั่วโลก ต่อมาวันที่ [[29 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2546]] ครม.สมัย[[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร]] มีมติให้ยุบเลิก[[องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]] และให้เปลี่ยนเป็น [[อสมท|บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)]] ซึ่งต่อมามีผลเมื่อวันที่ [[17 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2547]]
 
=== ล้มโทรทัศน์เสรี-ตั้งโทรทัศน์สาธารณะ (2550-2556) ===