ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอบราแฮม ลิงคอล์น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 131:
กลางเดือนพฤษภาคม นักการเมืองพรรครีพับลิกันมารวมตัวกันที่ชิคาโก ในตึกการประชุม "The Wigwam" ที่เพิ่งสร้างใหม่ ในขณะนั้นพรรรีพับลิกันมั่นใจแล้วว่าการเลือกตั้งคราวนี้ฝ่ายตนน่าจะชนะ<ref>{{cite web|last= Burlingame |first= Michael |title=ABRAHAM LINCOLN: CAMPAIGNS AND ELECTIONS|url=https://millercenter.org/president/lincoln/campaigns-and-elections|website=Miller Center (UVA) |date=Sep 21, 2017}}</ref> ทางพรรคประชุมและมีมติร่วมกันว่าจะไม่คุกคามสถาบันทาสในภาคใต้ แต่ก็ไม่อยากให้สถาบันทาสขยายตัวต่อไปในดินแดนที่กำลังได้รับการบุกเบิกทางทิศตะวันตก ผู้เสนอชื่อเข้าแข่งขันต่างสนับสนุนนโยบายการขยายตัวของประเทศ โดยสัญญาว่าจะผ่าน Holmstead Act เพื่อสร้างกระท่อมที่อยู่อาศัยให้ฟรี สำหรับผู้ที่จะบุกเบิกไปตั้งถิ่นฐานในทิศตะวันตก และจะให้มีการระดมทุนเพื่อสร้างทางรถไฟข้ามทวีปอเมริกาเหนือด้วย{{sfn|Dunn & Regan|2015|page=36}}
 
พรรครีพับลิกันตกลงเลือกลินคอล์นเป็นตัวแทนผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค เพราะเห็นว่าท่านเป็นนักการเมืองสายกลางที่ไม่แข็งกร้าวไปทางใดทางหนึ่ง{{sfn|Catton|1960|p=18}} และน่าจะได้เปรียบในพื้นที่เพนซิลเวเนีย กับรัฐทางมิดเวสต์ ตัวลินคอล์นเองก็ไม่ใช่นักเลิกทาส (abolitionist) แต่เขาสามารถสะท้อนความรู้สึกที่กำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ชาวรัฐตอนเหนือว่า สถาบันทาสเป็นภัยคุกคามต่อสหภาพและอนาคตของประเทศ<ref>''ibid.''</ref>{{sfn|Dunn & Regan|2015|page=36}}
[[ไฟล์: ElectoralCollege1860.svg|thumb|right|250px|<center>ผลการเลือกตั้ง ปี 1860<br />ตามการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง]]
 
ในส่วนพรรครัฐธรรมนูญสหภาพ (Constitutional Union Party) นั้นประกอบไปด้วย นักการเมืองสายอนุรักษ์นิยมจากพรรควิกส์ (whigs) เดิม และพวกที่มาจากรัฐ"ชายแดน" (คือ รัฐที่ประกอบเป็นรัฐกันชนตามแนวชายแดนระหว่างฝ่ายหนือและฝ่ายใต้) ที่ต่อต้านการสลายตัวของสหภาพแต่ก็เห็นอกเห็นใจรัฐทาสทางใต้ และเนื่องจากพวกนี้ไม่นิยมพูดถึงประเด็นเรื่องทาส จึงได้รับความนิยมจากผู้อาศัยในรัฐทางใต้บางรัฐ ได้แก่เทนเนสซี, เวอร์จิเนีย, และเคนทักกี นายจอห์น เบลล์ ตัวแทนลงสมัครฯของพรรคจากรัฐเทนเนสซี สัญญาที่จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิของทุกฝ่ายตามรัฐธรรมนูญ (รวมถึงสิทธิของรัฐที่จะปกครองตนเอง และสิทธิในการถือครองทาสเป็นทรัพย์สิน) และความคงอยู่ของสหภาพ แต่ประชาชนทางเหนือส่วนใหญ่ มองพรรคนี้ว่าเป็นพวก "คนแก่" ที่ไม่ทันกับการเมืองของยุคสมัย<ref>''ibid.''</ref>{{sfn|Dunn & Regan|2015|page=36}}
 
พรรคเดโมแครตมี สว.[[สตีเฟน เอ. ดักลัส]] (ผู้ร่างกฎหมาย แคนซัส-เนบรากา) เป็นตัวแทนผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามเดโมแครตฝ่ายเหนือ ดักลัสสนับสนุนแนวคิดว่าด้วยการกำหนดความชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาสโดยทางอธิปไตยปวงชน{{sfn|Catton|1960|pp=13, 16}} (กล่าวคือประสงค์จะให้สภาคองเกรสทำตัวเป็นกลาง ไม่เข้าแทรกแทรงไม่ว่าจะเพื่อจำกัด หรือสนับสนุนการขยายตัวของสถาบันทาสไปในพื้นที่ใหม่ๆของสหรัฐ) ดักลาสเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อเตือนถึงภัยของการสูญเสียสหภาพ แต่ก็ได้รับความนิยมทางตอนเหนือสู้ลินคอล์นไม่ได้ ส่วน เบรกคิริดจ์ ตัวแทนผู้ลงสมัครของเดโมแครตฝ่ายใต้ก็ถูกกล่าวหาว่าเป็น "คนทรยศ" และ เป็นพวก "บ่อนทำลายสหภาพ"<ref>''ibid.''</ref>{{sfn|Dunn & Regan|2015|page=36}} จึงมีคะแนนนิยมจำกัดอยู่แต่ในภาคใต้
 
โดยภาพรวมการเลือกตั้งปี 1860 เป็นการแข่งขันที่แยกเป็นสองภาคส่วน ฝ่ายลินคอล์นนั้น แทบไม่ได้รับความนิยมในทางใต้เลย โดยไม่ชนะในรัฐทางใต้แม้แต่รัฐเดียว นอกจากนี้รัฐจำนวน 10 จาก 15 รัฐทางใต้ไม่ยอมใส่ชื่อลินคอล์นลงไปในบัตรเลือกตั้งด้วยซ้ำ<ref>{{cite news|last= SCHULTEN |first=Susan |title=How (and Where) Lincoln Won|newspaper=The New York TImes |date=Nov. 10, 2010 }}</ref> การหาเสียงของลินคอล์นจึงเป็นการแสวงหาชัยชนะเด็ดขาดทางเหนือ ซึ่งมีดักลาสเป็นคู่แข่ง ในขณะที่ เบรกคินริดจ์ กับ เบลล์ ก็ไปแบ่งคะแนนเสียงกันทางใต้ ลินคอล์นจึงกวาดคะแนนของ[[คณะผู้เลือกตั้ง]] (electoral vote) ไปแบบท่วมท้น และเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ปี 1860 แม้ว่าจะได้รับคะแนนนิยมทั่วประเทศเพียงแค่ 40%<ref> ''ibid.''</ref> กลายเป็นผู้สมัครพรรคริพับลิกันคนแรกที่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี