ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อะเลคซันดร์ รุตสคอย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่ "อะเล็กซันดร์" → "อะเลคซันดร์" ด้วยสจห.
คละรัฐ
บรรทัด 73:
รุตสคอยทำงานโดยให้ความร่วมมือกับเยลต์ซินเป็นอย่างดี จนกระทั่งหลังจากสิ้นปีพ.ศ. 2535 รุตสคอยเริ่มประกาศความขัดแย้งกับประธานาธิบดีอย่างเปิดเผย ในแง่ของเศรษฐกิจและนโยบายต่างประเทศและกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลรัสเซียมีการทุจริต ขัดแย้งกับเยลต์ซินอย่างชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตมีนาคม พ.ศ. 2536 เมื่อ[[สภาประชาชนแห่งรัสเซีย]]พยายามการขับเยลต์ซินจากตำแหน่งประธานาธิบดีแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในช่วงหลายเดือนต่อมา รุตสคอยเองก็ถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลของเยลต์ซิน วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2536 ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินปลดรุตสคอยออกจากตำแหน่งรองประธานาธิบดีเนื่องจากการถูกกล่าวหาว่าทุจริต ต่อมา[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]รัสเซีย ได้ประกาศว่ากฤษฎีกาของเยลต์ซินจะมีผลเป็นรัฐธรรมนูญ
 
วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2536 ประธานาธิบดีเยลต์ซินมุ่งยุบสภาโซเวียตสูงสุด ซึ่งขัดแย้งโดยตรงตามมาตราของรัฐธรรมนูญของสหภาพ[[สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย]] พ.ศ. 2521 เช่น:
<blockquote>'''มาตรา 121-6.''' ''อำนาจของประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ไม่สามารถใช้ในการเปลี่ยนองค์กรระดับชาติและสถานะของสหภาพโวเวียต เพื่อยุบหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการทำงานขององค์กรที่ได้รับการเลือกตั้งใด ๆ ของอำนาจรัฐ ในกรณีนี้อำนาจของเขาหมดลงทันที''</blockquote>