ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิงโตอินเดีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 29:
'''สิงโตอินเดีย''' หรือ '''สิงโตเอเชีย''' หรือ '''สิงโตเปอร์เซีย''' ({{lang-ar|أسد آسيوي}}; {{lang-en|Indian lion, Asiatic lion, Persian lion}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Panthera leo persica}}) เป็น[[ชนิดย่อย]]ของ[[สิงโต]]ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน
 
มีรูปร่างทั่วไปคล้ายสิงโตที่พบใน[[ทวีปแอฟริกา]] แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยตัวผู้เมื่อโตเต็มมี[[น้ำหนัก]]ประมาณ 160–190 [[กิโลกรัม]] ตัวเมียหนักประมาณ 110–120 กิโลกรัม ความยาวหัวถึงหางของตัวผู้ 2.92 [[เมตร]] ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของสิงโตอินเดีย คือ มีแผงคอทั้งตัวผู้และตัวเมีย และแผงคอของตัวผู้ไม่หนาและใหญ่เหมือนสิงโตในทวีปแอฟริกา มองเห็นใบหูเห็นชัดเจน ดังนั้นตัวผู้และตัวเมียจึงมีรูปลักษณ์ที่คล้ายกันมาก นอกจากนี้แล้วยังมีหนังทอดยาวตลอดใต้ลำตัวซึ่งไม่พบในสิงโตในทวีปแอฟริกา ทั้งนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ต่างกันเนื่องจากสิงโตอินเดียอาศัยอยู่ในป่าทึบไม่เหมือนกับสิงโตในแอฟริกาที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าโล่งกว้าง และทำให้สิงโตอินเดียเป็นสัตว์ที่แฝงตัวได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติรอบตัวใน[[ประเทศศรีลังกา|ศรีลังกา]]มีสิงโตอีกสายพันธ์คือ [[สิงโตศรีลังกา]] แต่สูญพันธ์เมื่อ32,000ปีก่อนไปพร้อมกับ [[เสือศรีลังกา]] มีซาก[[ซากดึกดำบรรพ์|ฟอสซิล]]บางส่วนในพิพิธภัณฑ์ในศรีลังกา<ref name="ป่า"/>
 
ในอดีต มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาค[[ตะวันออกกลาง]], [[เปอร์เซีย]], [[อิรัก]], [[ซีเรีย]], [[อัฟกานิสถาน]], [[ปากีสถาน]]ไปจนถึง[[ภูมิภาคมาซิโดเนีย|มาซิโดเนีย]]ใน[[กรีซ]]ด้วย และ [[ประเทศศรีลังกา|ศรีลังกา]] ด้วยแต่ปัจจุบันพบเหลือเพียงแห่งเดียวในธรรมชาติ คือ [[อุทยานแห่งชาติป่ากีร์]] ใน[[รัฐคุชราต]]ทางตอนเหนือของอินเดียเท่านั้น และอยู่ในสถานะวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ แต่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นจากเมื่อประมาณ 30 ปี ก่อนที่เหลือเพียงไม่กี่สิบตัวเท่านั้น เป็น 530 ตัวในปัจจุบัน และอยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น<ref name="ป่า">{{cite web|title=สิงโตเอเซีย Asiatic Lion (10-6-59)|url=http://www.now26.tv/view/79939|publisher=ช่องนาว|date=10 June 2016|accessdate=19 June 2016}}</ref>
 
พฤติกรรมการรวมฝูงของสิงโตอินเดีย แตกต่างไปจากสิงโตในทวีปแอฟริกา กล่าวคือ มีขนาดฝูงที่เล็กกว่า โดยมีจำนวนอย่างมากที่สุดเพียง 5 ตัวเท่านั้น และอาจมีตัวเมียเพียง 2 ตัว และอาจมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง 2 ตัวก็เป็นได้ โดยเป็นลักษณะร่วมปกครอง ขณะที่ตัวผู้จะเข้าร่วมฝูงก็ต่อเนื่องจะล่าเหยื่อหรือในการ[[สืบพันธุ์|ผสมพันธุ์]]เท่านั้น