ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าปเสนทิโกศล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
PanyaPangya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
== พระสหาย ==
เจ้าชายมีพระสหายอีก 2 พระองค์ ที่เป็นศิษย์ร่วมรุ่นกัน คือ [[เจ้าชายมหาลิ]]จากกรุง[[เวสาลี]] [[แคว้นวัชชี]] และ[[เจ้าชายพันธุละ]]จากกรุง[[กุสินารา]] หนึ่งในเมืองหลวงของ[[แคว้นมัลละ]]
 
== แสดงศิลปวิทยา ==
บรรทัด 27:
พระนางมัลลิกา เป็นสาวิกาผู้บรรลุ[[อริยบุคคล#โสดาบัน|โสดาบัน]]ตั้งแต่อายุยังน้อย มีศรัทธามั่นคงในพระ[[รัตนตรัย]] เมื่อมาเป็นมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ย่อมมีอิทธิพลต่อความเชื่อของพระราชสวามีและแนะนำให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด กอปรกับสุทัตตคหบดี เพราะฉะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงถวายความอุปถัมภ์ดูแลพระพุทธองค์และพระ[[ภิกษุ]]สงฆ์อย่างดี พระองค์เองเสด็จเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลถามปัญหาธรรมและฟังพระพุทธโอวาทอยู่เสมอ เพราะต้องการเป็นญาติทางสายโลหิตกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามล้าง[[โคตร]]ในหมู่ศากยะในเวลาต่อมา ศากยวงศ์ต้องถูกทำลายล้างจนสูญหายไปจาก[[ประวัติศาสตร์]]
 
ด้วยพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศลนี่เองคือเหตุผลที่เมืองสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศานาศาสนาที่สำคัญอันดับที่ 2 รองจากเมือง[[ราชคฤห์]]
 
== พบพระพุทธเจ้าครั้งสุดท้าย ==
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ [[เมทฬุปนิคม]] ใน[[แคว้นสักกะ]]ของพวกศากยะ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จประพาสหัวเมืองผ่านมาทางนั้น โปรดให้พักกองทัพไว้ไม่ไกลวัดนัก ตั้งพระราชหฤทัยจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ให้อำมาตย์ผู้หนึ่งชื่อว่า ทีการายนะซึ่งเป็นหลานชายของพันธุละเสนาบดีที่ถูกฆ่าโดยไร้ความผิดให้รักษาไว้ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าใน[[พระคันธกุฎี]]กราบทูลถึงความที่พระองค์มีความเคารพนับถือพระพุทธเจ้าด้วยเหตุต่างๆ เป็นอันมาก ในตอนสุดท้ายกราบทูลว่า {{คำพูด|ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น[[กษัตริย์]] หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นชาวโกศล หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ 80 ปี หม่อมฉันก็มีอายุ 80 ปีเหมือนกัน|พระเจ้าปเสนทิโกศล}}
 
ในระหว่างที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด้จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีแต่เฉพาะพระองค์ ทีฆการายนะฆการายน[[อำมาตย์]]เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงนำ[[เครื่องราชกกุธภัณฑ์]]กลับไป[[กรุงสาวัตถี]] สถาปนาวิฑูฑภะซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี (แม่ทัพ) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน เหลือไว้แต่[[ม้า]]ตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง
 
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลลาเสด็จกลับออกมาจากพระคันธกุฎี ไม่พบทีฆการายนะฆการายนอำมาตย์ ซึ่งพระองค์มอบให้รักษาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไว้ จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล พบเพียงม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง สอบถามได้ความว่าทีฆการายนะอำมาตย์กับวิฑูฑภะฆการายนอำมาตย์กับวิฑูฑภเสนาบดียกกองทัพกลับกรุงสาวัตถีแล้วพร้อมทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ก็ทรงแน่พระทัยว่าเจ้าชายวิฑูฑภะเป็นขบถกบฏแน่ จึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อขอกำลังทหารจาก[[พระเจ้าอชาตศัตรู]] พระราชาแห่ง[[แคว้นมคธ]]ผู้เป็นพระราชนัดดาไปกู้ราชบัลลังก์คืน <ref>[http://clubchay.tripod.com/buddha/buddha11.html พระเจ้าปเสนทิโกศล] จาก [http://clubchay.tripod.com]</ref> แต่เนื่องด้วยทรงพระ[[ชรา]]และทรงเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง จึงสิ้นพระชนม์อยู่นอก[[ประตูเมือง]]ราชคฤห์ในราตรีที่เสด็จไปถึงนั่นเอง [[เหล่านางสนม]]ที่โดยเสด็จก็ร้องไห้คร่ำครวญ ความทราบถึง[[พระเจ้าอชาตศัตรู]] จึงโปรดให้จัดการพระบรม[[ศพ]]ให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าวิฑูฑภะได้ถูกน้ำหลากพัดหายไปพร้อมกับกองทัพ หลังบุกโจมตีกรุงกบิลพัสดุ์และทำการกวาดล้างศากยะศากยวงศ์จนหมดสิ้น เนื่องจากแค้นที่ถูกดูหมิ่น แคว้นโกศลก็ไร้ซึ่งรัชทายาทหรือผู้ที่จะมาเป็นพระราชาปกครอง แต่ว่าเนื่องจากพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงพระประสูติมาจากพระนางเวเทหิ ผู้เป็นพระพี่นางของพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งมีเชื้อสายแห่งราชวงศ์โกศล ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูผู้มีเชื้อสายราชวงศ์โกศล มีสิทธิ์ที่จะปกครองแคว้น หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้ผนวกแคว้นโกศลและ[[แคว้นสักกะ]]เข้ากับแคว้นมคธมาด้วยกันทำให้แคว้นมคธกว้างใหญ่ไพศาลตลอดมาจนถึงสมัย[[พระเจ้าอโศกมหาราช]]
 
== อ้างอิง ==