ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตักบาตรเทโว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PanyaPangya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PanyaPangya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
[[ไฟล์:Buddhist child 06.jpg|100px|thumb|right|ตักบาตรเทโว]]
'''ตักบาตรเทโว''' หมายถึงการ[[ทำบุญ]][[ตักบาตร]] ปรารภเหตุที่[[พระพุทธเจ้า]]เสด็จลงจาก[[เทวโลก]] ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11)<ref name=":0" />
 
คำว่า '''เทโว''' เรียกกร่อนมาจากคำว่า [[เทโวโรหณะ]] (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า ''การเสด็จลงจากเทวโลก''
บรรทัด 7:
ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต โดยลงมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ จนบรรลุโสดาปัตติผล (สาเหตุที่พระศาสดาไม่เสด็จไปแสดงธรรมในชั้นดุสิต  เพราะเทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์  จะไม่สามารถขึ้นไปในชั้นดุสิตได้ ด้วยศักดานุภาพที่น้อยกว่า) 
 
ครั้นถึงวัน[[มหาปวารณา]] (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมือง[[สังกัสสนคร]]<ref name=":0">อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ 14 เรื่องยมกปาฏิหาริย์ http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=2</ref> ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
 
รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง 3 เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า '''ตักบาตรเทโวโรหณะ''' ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง '''ตักบาตรเทโว''' เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น จึงนิยม '''ตักบาตรเทโว''' กันจนเป็นประเพณีสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้