ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธาราบริวัตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
Xiengyod ย้ายหน้า ธาราบริวัตร ไปยัง อำเภอธาราบริวัตร: ขยายความ
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 89:
เอกสารเรื่องพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ของ[[หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร)]] ได้บันทึกถึงความเป็นมาของเมืองธาราบริวัตรไว้ว่า ในปี [[พ.ศ. 2352]] พระยาเดโช เจ้าเมืองกำปงสวาย กับนักปรัง ผู้น้องชาย อพยพครัวเรือนและไพร่พลเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแถบเมืองโขง เนื่องจากพระยาเดโชและนักปรังเกิดความขัดแย้งกับ[[สมเด็จพระอุทัยราชา]] (นักองจัน) พระเจ้าแผ่นดินกัมพูชา [[พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช]] เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ได้มีใบบอกแจ้งเรื่องมายังกรุงเทพมหานคร [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยากลาโหมราชเสนา คุมกำลังมาคุมครัวเขมรของพระยาเดโชมาตั้งอยู่ที่บ้านลงปลา ส่วนครัวของนักปรังให้แยกมาตั้งอยู่ที่เวินฆ้อง ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2388]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] นักเมืองบุตรนักปรังได้เกลี้ยกล่อมชาวเขมรป่าดงเข้ามาอยู่ในด้วยจำนวนมาก [[เจ้านาก]] เจ้านครจำปาศักดิ์ จึงพานักเมืองลงไปพบกับ[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] ซึ่งขณะนั้นได้ออกมาจัดการราชการหัวเมืองเขมรอยู่ที่เมือง[[อุดงมีชัย]] เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห สิงหเสนี) จึงได้มีท้องตราอนุญาตตั้งให้นักเมืองเป็นพระณรงค์ภักดีเจ้าเมือง ให้ท้าวอินทรบุตรท้าวบุญสารเป็นหลวงอภัยภูธรปลัด นักเต๊กเป็นหลวงแก้วมนตรียกกระบัตร ยกบ้านท่ากะสังปากน้ำเซลำเภาขึ้นเป็นเมืองขนานนามว่า เมืองเซลำเภา กำหนดเขตแขวงฝั่งน้ำโขงตะวันตก แต่ปากห้วยละออกลงไปถึงห้วยชะหลีกใต้เสียมโบกเป็นแขวงเมืองเซลำเภา ขึ้นเมืองนครจำปาศักดิ์
 
ถึงปี [[พ.ศ. 2428]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์)]] เจ้านครจำปาศักดิ์ ได้มีใบบอกมายังกรุงเทพมหานคร ขอแต่งตั้งหลวงนรา (คำผุย) ผู้ช่วยเมืองเซลำเภา บุตรพระณรงค์ภักดี (อิน) เจ้าเมืองเซลำเภา เป็นพระยาภักดีศรีสิทธิสงคราม เจ้าเมืองเซลำเภาลำดับที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามที่เจ้านครจำปาศักดิ์มีใบบอกมา และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองเซลำเภาเป็นเมืองธาราบริวัตร ขึ้นเมืองนครจำปาศักดิ์ แต่พระยาภักดีศรีสิทธิสงคราม (คำผุย) ได้ยกครัวเรือนไปตั้งอยู่ที่บ้านเดิมตำบลเวินฆ้อง ฝั่งตรงข้ามเมืองเชียงแตง (ปัจจุบันคือ[[อำเภอสตึงแตรง]] [[จังหวัดสตึงแตรง]]) แล้วตั้งตำแหน่งกรมการเป็นชุดเมืองธาราบริวัตรขึ้นใหม่อิกต่างหาก ส่วนเมืองเซลำเภาก็คงมีตำแหน่งผู้รักษาเมืองกรมการอยู่ตามเดิม [[พระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ)]] ข้าหลวงเมืองนครจำปาศักดิ์ ณ เวลานั้น จึงมีตราจุลราชสีห์ ตั้งหลวงภักดี (บุญจัน) บุตรพระณรงค์ภักดี (เต๊ก) เจ้าเมืองเซลำเภา เป็นพระภักดีภุมเรศ กองนอกส่วยผึ้ง มีตำแหน่งปลัด ยกกระบัตร มหาดไทย เมือง วัง คลัง นา เป็นชุดเมืองเซลำเภาอยู่ตามเดิม บังคับบัญชาปกครองเขตแขวง แยกจากเมืองธาราบริวัตรฝ่ายละฟากห้วยตลาด ระยะทางเมืองธาราบริวัตรกับเมืองเซลำเภาไกลกันทางเดินเท้า 3 วัน อาณาเขตเมืองเซลำเภา ธาราบริวัตรในเวลานั้น ฝ่ายเหนือตั้งแต่ห้วยละอ๊อกต่อแขวงเมืองสะพังภูผาลงไปถึงคลองเสียมโบก ต่อชายแดนกัมพูชาซึ่งอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส ฝ่ายใต้ทิศตะวันตกถึงตำบลหนองปรัง สวาย ต่อแขวงเมืองมโนไพร
 
ในปี [[พ.ศ. 2447]] หลังเกิดเหตุ[[วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112]] ได้ 11 ปี เมืองธาราบริวัตรได้ตกเป็นของ[[อินโดจีนฝรั่งเศส]] พร้อมกับดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้าม[[เมืองหลวงพระบาง]]และพื้นที่ทางตะวันตกของ[[แขวงจำปาศักดิ์]]ในปัจจุบัน ในเวลานั้นเมืองธาราบริวัตรยังคงอยู่ในความปกครองของนครจำปาศักดิ์ แต่ต่อมาฝรั่งเศสได้จัดการปกครองใหม่ให้เมืองธาราบริวัตรมาอยู่ในอาณาเขตของกัมพูชาแทน นับตั้งแต่นั้นมา เมืองธาราบริวัตรจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชา
 
ในปี พ.ศ. 2484 หลังสิ้นสุด[[กรณีพิพาทอินโดจีน]] ประเทศฝรั่งเศสได้คืนดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสบางส่วนให้แก่ไทย (โดยการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น) ตามอนุสัญญาโตเกียว ค.ศ. 1941 เมืองธาราบริวัตรจึงได้กลับมาอยู่ในความปกครองของไทยอีก โดยจัดให้อยู่ในความปกครองของจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ตามแนวเขตการปกครองเดิมเมื่อ พ.ศ. 2447 มีฐานะเป็นหน่วยการปกครองระดับอำเภอ ดินแดนดังกล่าวนี้อยู๋ในความปกครองของไทยจนถึง พ.ศ. 2488 ประเทศไทยได้ยกดินแดนที่ได้มาจากกรณีพิพาทอินโดจีนทั้งหมดคืนฝรั่งเศสอีกครั้ง เพื่อแลกกับการที่ฝรั่งเศสจะไม่ใช้สิทธิยับยั้งในการพิจารณาให้ไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ อำเภอธาราบริวัตรจึงถูกโอนคืนให้แก่ฝรั่งเศส ขึ้นกับจังหวัดสตึงแตรงของกัมพูชาอีกครั้ง ภายหลังเมื่อประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2494 อำเภอนี้จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชามาจนถึงปัจจุบัน
 
== อ้างอิง ==