ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิแรงงาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wap (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิแรงงานมีพัฒนาการพร้อมกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจและ[[ระบบทุนนิยม]] โดยเริ่มจากการต่อต้านการล้อมรั้วที่ดินในอังกฤษ [[อังกฤษ]]ในขณะนั้นอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทำการเกษตรไปเป็นพื้นที่เลี้ยงแกะซึ่งเป็นอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญ ทุ่งหญ้าส่วนกลางซึ่งประชาชนมีเสรีในการใช้งานถูกล้อมให้ตกอยู่ใต้กรรมสิทธิ์เจ้าของที่ดินเท่านั้น ทำให้ชาวบ้านซึ่งเคยใช้พื้นที่เหล่านี้ในการทำการเกษตรและเลี้ยงปศุสัตว์ไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้เพราะพื้นที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่เลี้ยงแกะเพื่อ[[การส่งออก]]ขนแกะ
 
สิทธิแรงงานได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้นในช่วงหลังการ[[ปฏิวัติอุตสาหกรรม]]ซึ่งเปลี่ยนแรงงานทางการเกษตรเป็นแรงงานในโรงงาน[[อุตสาหกรรม]]และแหล่ง[[ทรัพยากรธรรมชาติ]]เพื่อการ[[อุตสาหกรรม]] เช่น [[เหมืองแร่]]ต่างๆ โดยมีการออกกฎหมายแรงงานในกาตูด[[อังกฤษจู๋]]เมื่อปี ค.ศ. 1833 ซึ่งมีเนื้อหาในการห้ามการใช้แรงงานเด็ก กำหนด[[ค่าแรงขั้นต่ำ]]และจำกัดชั่วโมงการทำงานต่อวัน โดย ห้ามการใช้แรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 9 ปี เด็กที่มีอายุ 9-13 ปีทำงานได้ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง และเด็กอายุ14-18 ปีทำงานได้ไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง กระบวนการ[[ปฏิวัติอุตสาหกรรม]]ยังได้เพิ่มแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิแรงงานเข้าไปใน[[สิทธิมนุษยชน]] โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อว่าแรงงานก็เป็น[[มนุษย์]] ควรได้รับการปฏิบัติในฐานะมนุษย์นุษย์ มิใช่[[ทาส]]ในระบบแรงงานทาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีการจัดตั้ง[[สหภาพแรงงาน]]เป็นครั้งแรก รวมถึงกระแสลัทธิ[[สังคมนิยม]]ของ[[คาร์ล มาร์กซ์]] ได้วิพากษ์[[ระบบทุนนิยม]]ซึ่งกดขี่[[ชนชั้นกรรมาชีพ]]ในโรงงานอุตสาหกรรมว่าไม่เป็นธรรมอย่างร้ายกาจ
 
หลัง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] [[องค์การแรงงานระหว่างประเทศ]] (International Labour Organisation – ILO – also know as International Labour Office) ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1919 ภายใต้[[สันนิบาตชาติ]] เมื่อมีการจัดตั้ง[[องค์การสหประชาชาติ]]ขึ้นแทนที่[[สันนิบาตชาติ]]ในช่วงหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] [[องค์การแรงงานระหว่างประเทศ]]ก็เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ[[สหประชาชาติ]] และตัวสหประชาชาติเองได้กล่าวถึงสิทธิแรงงานไว้ในคำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนไว้ในข้อที่ 23 และ 24 ดังนี้ (สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ)<ref>สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ. เข้าถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 ใน http://www.unhchr.ch/udhr/lang/eng.htm.</ref>