ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพนัสนิคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 201:
นิทานเรื่องพระรถ-เมรี แพร่หลายในหมู่ชาวสองฝั่งโขง ยังบอกเล่าเรื่องพระรถ-มรี กับสถานที่ต่างๆที่นั่นด้วยจนทุกวันนี้
เรื่องพระรถ-เมรีนี้จัดเป็นชาดกนอกนิบาต ซึ่งหมายถึง[[ชาดก]]ที่แต่งขึ้นโดยอาศัยเค้าโครงจากนิทานพื้นบ้าน และไม่พบต้นฉบับในพระไตรปิฎก เรื่องพระรถกับนางเมรีนี้คงเป็นของผู้คนแถบสองฝั่งโขงมาแต่ดึกดำบรรพ์ จึงได้ถูกบันทึกไว้ในรูปของชาดกเรื่องหนึ่ง โดยพระสงฆ์ชาวเชียงใหม่ ราว พ.ศ. 2000 ถึง 2200 และจดไว้ในใบลานจำนวน 50 ผูก รู้จักกันในชื่อว่า “ปัญญาสชาดก”
ในคำอธิบายต้นเล่ม [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ได้ทรงบันทึกไว้ว่าคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรืื่องรถเสนฃาดกเรื่องรถเสนฃาดก “เดี๋ยวนี้เห็นจะมีอยู่แต่ในประเทศสยาม กับที่เมืองหลวงพระบางแลที่กรุงกัมพูชา” ซึ่งก็หมายความว่านิทานเหล่านี้น่าจะจัดเป็นเรื่องเล่าเก่าแก่ของดินแดน[[สุวรรณภูมิ]]นั่นเองในปัญญาสชาดก เรื่องรถเสนชาดก เรียกนางเมรีว่า นางกังรี แล้วยังมีฉบับอื่นๆ อีกมากมายที่เรียกชื่อตัวละครเพี้ยนกันไปต่างๆ เช่นในพงศาวดารล้านช้างเรียกนางเมรีว่า นางกางรี
 
ตำนานเมืองพระรถของชาวพนัสนิคม เชื่อกันว่าเมืองพนัสนิคมคือเมืองของพระรถเสนตามรถเสนชาดก ความว่า กาลครั้งหนึ่งในพระศาสนาของ[[พระกัสสปพุทธเจ้า]] มีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อว่า นันทะ อยู่ในบ้านสมิทธคาม เป็นคนมีทรัพย์สมบัติมาก แต่ไม่มีบุตรและธิดาเลย ด้วยเหตุนี้เขาจึงถือกล้วยสิบสองผลทูนศีรษะของตนไปยังพระอาราม ประสงค์จะถวายพระพุทธเจ้า จึงรำพึงในใจว่าเราทำการบูชาพระกัสสปสัมพุทธเจ้า เราจะปรารถนาให้ได้บุตรในอนาคตกาล เราจักได้บุตรและธิดาเป็นอันมาก ต่อมาภรรยาของเศรษฐีก็ตั้งครรภ์ ในไม่ช้าก็คลอดธิดาถึงสิบสองคน