ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สติปัฏฐาน 4"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการแก้ไขของ 223.24.158.40 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย พุทธามาตย์
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
'''มหาสติปัฏฐาน 4''' เป็นหลักธรรมที่อยู่ในหลักการ[[ภาวนา]]ตาม[[มหาสติปัฏฐานสูตร]]<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 7-7-52</ref> เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ มหาสติปัฏฐานมี 4 ระดับอย่าง คือ[[ กาย]] [[เวทนา]] [[จิต]] และ [[ธรรม]]
 
คำว่าสติปัฏฐานนั้นแปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า '''สติ''' หมายถึงความระลึกรู้ เป็น[[เจตสิก]]ประ​เภทหนึ่ง​ ส่วน'''ปัฏฐาน''' ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​ ​[[มหาสติปัฏฐานสูตร]]​ ​สูตร​และ​ ​[[สติปัฏฐานสูตร]]​ ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
 
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
 
# '''กายานุปัสสนานุปัสสนา สติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น [[รูปธรรม]]หนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
# '''เวทนานุปัสสนานุปัสสนา สติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็น[[นามธรรม]]อย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
# '''จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้[[เจตสิก]]หรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็น[[นามธรรม]]อย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
# '''ธัมมานุปัสสนาธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้ง[[รูปธรรม]]และ[[นามธรรม]]ล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
 
== อ้างอิง ==
==มติอาจารย์บางพวก ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ธรรมหมวด 4]]
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณารูปขันธ์ อานิสงส์ คือ ทำลายสุภ[[วิปลาส]] (สำคัญความไม่งามว่างาม) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหา[[จริต]]ทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นสมถยานิก
 
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาเวทนาขันธ์ อานิสงส์ คือ ทำลายสุขวิปลาส (สำคัญความทุกข์ว่าสุข) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริตทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นสมถยานิก
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงส์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
 
ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ อานิสงส์ คือ ทำลายอนัตตวิปลาส (ความไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
 
'''คำว่า สมถะยานิก ไม่ได้หมายถึง ความมีสมาธิมากหรือน้อย แต่กล่าวถึง ผู้ที่ใช้สมถะนำเพราะเหมาะแก่ตน ซึ่งบุคคลคนๆนั้น อาจมีสมาธิมาก หรือน้อยก็ได้ มีมากก็เช่นในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีน้อยก็ตามเนตติปกรณ์และสติปัฏฐานสูตร. จริงอย่างนั้น ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส ท่านกล่าวสมถะยานิกไว้ในฐานะที่มีสมาธิมาก, ส่วนในเนตติปกรณ์และสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในฐานะที่เหมาะกับตัณหาจริต เพราะเป็นสภาพที่เป็นปฏิปักษ์กัน จึงเหมาะแก่การกำจัดจริตฝ่ายชั่วนั้นๆ. แต่ท่านไม่ได้หมายถึง การที่พระสมถะยานิก มีโพชฌงค์ฝ่ายสมาธิมากในที่นั้นเลย มีแต่ในวิสุทธิมรรค ซึ่งคนละนัยยะกับสติปัฏฐานสูตร '''
 
 
'''นอกจากนี้ อาจารย์เหล่านั้นยังกล่าวว่า .-'''
 
''"โดยที่[[อานาปานสติ]]เหมาะสมกับทุกจริตทั้งตัณหาจริต และทิฏฐิจริต ทั้งสมถะยานิก และวิปัสสนายานิก"'' ดังนี้
 
'''ข้อนั้นไม่สมกับพระไตรปิฎก เพราะท่านกล่าวไว้ว่า อานาปานสติเป็นกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ในอรรถกถากล่าวว่า กายานุปัสนาสติปัฏฐาน เหมาะกับ ตัณหาจริต สมถยานิก, และในวิสุทธิมรรค ท่านก็กล่าวความที่อานาปานสติเหมาะแก่โมหจริตไว้ในสมาธินิทเทส ซึ่งหนังสือพุทธธรรมก็ได้อ้างถึงไว้ด้วย'''
 
อนึ่ง ความหมายนี้ใน[[พระไตรปิฎก]]ใช้เพียงคำว่า '''สติปัฏฐาน''' เท่านั้น ส่วนคำว่า '''มหาสติปัฏฐาน''' นั้นมีใช้เป็นชื่อ'''[[พระสูตร]]'''เท่านั้น ไม่มีใช้ในความหมายนี้โดยตรง