ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7071521 สร้างโดย 161.200.121.156 (พูดคุย)
บรรทัด 113:
สงครามนี้เป็นสงครามแรกระหว่างพม่ากับไทยซึ่งยืดเยื้อมาจนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่กรุงศรีอยุธยาถูกข้าศึกต่างด้าวโจมตี<ref name="Damrong 21"/>
 
ตามหลักฐานของไทย ฝ่ายอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยที่สวนหลวง แล้วสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลพระราชทาน คือ [[วัดสบสวรรค์]] สถูปขนาดใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเก็บพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย ถูกเรียกว่า เจดีย์พระศรีสุริโยทัย<ref name="Damrong 19">Damrong Rajanubhab p. 19</ref> แต่ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระองค์ขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย แต่ตัวตนและความเสียสละของพระองค์ยังเป็นหัวข้อที่ยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เนื่องจากความจริงที่ว่าพระนามของพระองค์มิได้ถูกกล่าวถึงหรือบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พม่าเลย<ref>[http://www.rebound88.net/sp/ngb/sthai5.html A Historical Divide] Subhatra Bhumiprabhas. Retrieved 2010-03-04</ref> และข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ถูกคัดมาจากบางตอนของจดหมายเหตุกรุงศรีอยุธยาและการบรรยายของนักสำรวจชาวโปรตุเกส โดมิงโก ซีซีสซัส<ref>[http://www.asiaticafilmmediale.it/2001/uk2001/database/surijotai.html Suriyothai: The Sun and The Moon.] Retrieved 2010-03-04 {{Wayback|url=http://www.asiaticafilmmediale.it/2001/uk2001/database/surijotai.html|date =20060514084200|bot=DASHBot}}</ref>
 
ผลของสงครามทำให้มีการเสริมการป้องกันของอยุธยาให้เข้มแข็งขึ้น เช่น กำแพงและป้อมแข็งแกร่งขึ้น และปรับปรุงกิจการทหารและทำนุบำรุงสภาพบ้านเมืองให้แข็งแกร่ง โดยมีการก่อกำแพงอิฐรอบตัวพระนครกรุงศรีอยุธยาแทนเชิงเทินดินปักไม้แบบเดิม กำหนดหัวเมืองขึ้นใหม่ 3 หัวเมือง โดยยกบ้านตลาดขวัญเป็นเมืองนนทบุรี ยกบ้านท่าจีนเป็นเมืองสาครบุรี และรวมดินแดนบางส่วนของราชบุรีกับเมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองนครชัยศรี ทรงเตรียมเรือเพิ่ม และจัดการคล้องช้างป่าเพื่อใช้ในการสงครามเพิ่มเติม<ref>ดนัย ไชยโยธา. (2543). '''พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑'''. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 216-217.</ref> โดยในเวลา 3 ปี สามารถจับช้างเผือกได้ถึง 6 ช้าง ทำให้อยุธยามีช้างเผือกรวม 7 ช้าง<ref>ดนัย ไชยโยธา. (2543). '''พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑'''. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 217.</ref> รวมทั้งการทำบัญชีบันทึกทหารทั้งปวง และขนาดของกองทัพเรือยังได้เพิ่มมากขึ้นด้วย<ref name="Damrong 22-24">Damrong Rajanubhab p. 22-24</ref><ref name="Wood 114">Wood p. 114</ref>