ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาปุริสลักขณะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
คำผิด ไดละ เป็น ได้ข้างละ, ณ เป็น เว้นวรรค ณ,อุณาโลมา เป็น อุณาโลม
เพิ่มคำว่า "พระ" หลังคำว่า "พระโพธิสัตว์ทุก" และเว้นวรรคให้สวยงามอ่านง่าย
บรรทัด 3:
'''มหาปุริสลักขณะ''' ([[ภาษาบาลี|บาลี:]] mahapurisalakkhana) หรือ'''มหาปุริสลักษณะ''' ([[ภาษาสันสกฤต|สันสกฤต:]] mahapurisalaksana) เป็นลักษณะที่บ่งบอกให้รู้ว่าผู้ที่เกิดมาแล้วมีลักษณะพิเศษสามสิบสองอย่างนี้จะได้เป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งหรือที่เรียกว่า "พระโพธิสัตว์" คือสัตว์ที่อาจตรัสรู้ ลักษณะดังกล่าวได้แก่<ref>พระไตรปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิวรรค ฉบับภาษาไทย เล่ม 11 หน้า 158-159.</ref>
 
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระบาทเรียบเสมอกัน (สุปติฏฐิตปาโท) กล่าวคือ ฝ่าพระบาทเสมอดังพื้นฉลองพระบาททองแห่งพระราชามหากษัตริย์ ไม่แหว่งเว้าสูงปลายเท้าหนักส้นกระโย่งกลางเท้าดังสามัญมนุษย์
# พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ มีพื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้งสองข้างของพระโพธิสัตว์ทุกองค์มีลายรูปจักรเกิดขึ้น มีซี่กำได้ข้างละพัน มีกงมีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง(เหฏฺฐา โข ปนสฺสปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ สหสฺสารานิ สเนมิกานิสนาภิกานิ สพฺพาการปริปูรานิ)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีส้นพระบาทยาว (อายตปณฺหิ)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระองคุลียาว (ทีฆงฺคุลิ) กล่าวคือ มีพระองคุลีนิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาวงาม นิ้วพระหัตถ์ ทั้ง 4 และนิ้วพระบาททั้ง 5 มีประมาณเสมอกัน ไม่เหลื่อมยาว ไม่เหลื่อมสั้นดังสามัญมนุษย์
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม (มุทุตลุนหตฺถปาโท) กล่าวคือ ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนเสมออยู่เป็นนิตย์
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอันมีลายดุจตาข่าย (ชาลหตฺถปาโท) กล่าวคือ พระหัตถ์และพระบาทมีลายประหนึ่งร่างข่าย
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระบาทรูปเหมือนสังข์คว่ำ (อุสฺสงฺขปาโท) กล่าวคือ พระบาทมีสังขะ คือข้อพระบาทลอยอยู่ ณ เบื้องบนข้อพระบาทไม่เนื่องพัวพันกับหลังพระบาทดังของสามัญชน
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย (เอณิชงฺโฆ)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์มีพระองค์ เมื่อประทับยืนอยู่ แม้มิได้ก้มลง ก็สามารถเอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึงพระชานุทั้งสอง (ฐิตโก ว อโนนมนฺโต)
# พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (โกโสหิตวตฺถคุยฺโห) กล่าวคือ มีอังคาพยพซึ่งจะพึงซ่อนให้ลับด้วยผ้าตั้งลงแล้วในฝัก
# พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ มีพระฉวีวรรณดุจวรรณะแห่งทองคำ คือ มีพระตจะประดุจหุ้มด้วยทองคำ (สุวณฺณวณฺโณ)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระฉวีละเอียด และเพราะเหตุที่พระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงไม่ติดอยู่ในพระกายได้ (สุขุมจฺฉวิ)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระโลมชาติ อันมีปลายงอนขึ้นข้างบน มีสีเขียวเหมือนดอกอัญชัน และขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ (อุทฺธคฺคโลโม)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งในขุมหนึ่งขุม (เอเกกโลโม)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระกายตรงเหมือนพรหม (พฺรหฺมุชุคตฺโต)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระมังสะเต็มในที่เจ็ดแห่ง (สตฺตุสฺสโท) กล่าวคือ พระมังสะในที่ 7 สถาน คือหลังพระหัตถ์ทั้ง 2 หลังพระบาททั้ง 2 จะงอยพระอังสาทั้ง 2 และพระศอฟูบริบูรณ์เต็มด้วยดี
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนข้างหน้าของราชสีห์ (สีหปุพฺพฑฺฒกาโย)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีระหว่างพระอังสะเต็ม (ปีตนฺตรํโส) กล่าวคือ ระหว่างแห่งพระปฤษฎางค์ (แผ่นหลัง) อันเต็มไม่ ไม่เป็นร่องดังทางไถดังมีในกายแห่งสามัญชน
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกายของพระองค์ก็เท่ากับวาของพระองค์ (นิโครธปริมณฑโล)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีลำพระศอกลม (สมวฏฺฎกฺขนฺโธ)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีเส้นปลายประสาทนำรสอาหารดี (รสคฺคสคฺคี) กล่าวคือ เอ็น 700 ที่สำหรับนำไปซึ่งรสอาหารมาสวมรวมประชุม ณ พระศอ
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระหนุดุจคางราชสีห์ (สีหหนุ) กล่าวคือ พระหนุ (คาง) ดั่งคางราชสีห์บริบูรณ์ดีประหนึ่งวงพระจันทร์ในวัน 12 ค่ำ
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระทนต์สี่สิบองค์ (จตฺตาฬีสทนฺโต)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระทนต์เรียบเสมอกัน (สมทนฺโต) กล่าวคือ พระทนต์เสมอ ไม่ลักลั่น ยาวสั้นดังสามัญมนุษย์
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่างกันเลย (อวิรฬทนฺโต)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระทาฐะขาวงาม (สุสุกฺกทาโฐ) กล่าวคือ พระทาฐะ คือพระเขี้ยวอันขาวงาม
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระชิวหาใหญ่ (ปหุตชิวฺโห) กล่าวคือ พระชิวหา (ลิ้น) อันพอ คือ อ่อนและกว้างใหญ่ อาจแผ่ปกพระนลาฏมิดและจะห่อให้เล็กสอดในช่องพระนาสิกและช่องพระโสตได้
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจ[[นกการเวก]] (พฺรหฺมสฺสโร กรวิกภาณี)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระเนตรดำสนิท (อภินีลเนตฺโต) บ้างว่า พระเนตรเขียวสนิทในที่ควรจะเขียว
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีดวงพระเนตรดุจตาโค (โคปมุโข)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระอุณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระขนง โดยมีสีขาวอ่อนเปรียบด้วยนุ่น (อุณฺณา ภมุกนฺตเร ชาตา)
# พระโพธิสัตว์ทุกองค์พระองค์ มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (อุณหิสสีโส) กล่าวคือ พระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์เจ้ามีพระเศียรได้มีรูปทรง งดงามดุจประดับด้วยอุณหิสกรอบ พระพักตร์ <ref>(ปฐมสมโพธิ (2508). หน้า 18 – 21</ref>
 
มหาปุริสลักษณะทั้งสามสิบสองอย่างนี้มีอยู่ในพระโพธิสัตว์ทุกองค์ในชาติสุดท้ายคือชาติที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่บ่งบอกให้รู้ถึงความยิ่งใหญ่ ซึ่ง[[พระโคตมพุทธเจ้า|พระพุทธเจ้า]]ตรัส รับรองไว้ว่า<ref>พระไตรปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิวรรค ฉบับภาษาไทย เล่ม 11 หน้า 157.</ref>
 
{{คำพูด|ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ 32 ประการนี้ เมื่อมหาบุรุษมีพร้อมแล้วย่อมเป็นเหตุให้มีคติเป็น 2 เท่านั้นไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์...อนึ่ง ถ้ามหาบุรุษนั้นออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิต จะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเครื่องมุงบังเกิดคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก}}