ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กุหลาบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 6:
 
== ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ==
ไม่มีเลย กุหลาบแสนแย่
[[ไฟล์:Rosa centifolia - Köhler–s Medizinal-Pflanzen-122.jpg|thumb|right|200px|กายวิภาคของกุหลาบ]]
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งใน[[ตลาดประมูลอัลสเมีย]] ประเทศ[[เนเธอร์แลนด์]] ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ [[อิตาลี]] [[เนเธอร์แลนด์]] [[สเปน]] [[สหรัฐอเมริกา]] [[โคลัมเบีย]] [[เอกวาดอร์]] [[อิสราเอล]] [[เยอรมนี]] [[เคนยา]] [[ซิมบับเว]] [[เบลเยียม]] [[ฝรั่งเศส]] [[เม็กซิโก]] [[แทนซาเนีย]] และ[[มาลาวี]] เป็นต้น
* ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ [[เชียงใหม่]] [[เชียงราย]] [[ตาก]] [[นครปฐม]] [[สมุทรสาคร]] [[ราชบุรี]] และ[[กาญจนบุรี]] มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน [[อำเภอพบพระ]] จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ) การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบใน[[เชิงปริมาณ]] และการผลิตกุหลาบ[[เชิงคุณภาพ]] การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและ[[แมลง]] หรือ[[การขนส่ง]] อายุการปัก[[แจกัน]]สั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขต[[ภาคเหนือ]] และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้[[โรงเรือน]]พลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้[[แรงงาน]]ที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และ[[มาเลเซีย]] เป็นต้น
 
ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือ[[ระดับน้ำทะเล]] หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วง[[ฤดูหนาว]]เท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น
 
== ประเภท ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กุหลาบ"